เทคนิคของผู้บริหารในการครองใจผู้ใต้บังคับบัญชา


การบริหารงานถ้าจะให้บรรลุผลสำเร็จ ผู้บริหารต้องครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้

เทคนิคของผู้บริหารในการครองใจผู้ใต้บังคับบัญชา

 

                การบริหารงานถ้าจะให้บรรลุผลสำเร็จ ผู้บริหารต้องครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้     

สิ่งที่สำคัญคือต้องปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ลูกน้อง    ให้เหมือนกับที่เราปฏิบัติต่อ  ลูก  และ น้อง  ของเรา ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน  เนื่องจากจะใช้วิธีการเดียวกัน มาปฏิบัติต่อทุกคน

ให้เหมือนกันหมดไม่ได้   เพราะแต่ละคนย่อมจะมีความต้องการ  อารมณ์  รัก  โลภ  โกรธ  หลง

ที่แตกต่างกันไป    จึงต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา    ผู้บริหารที่ดี จึงไม่ควรบริหารงานโดยยึดความ

พึงพอใจของตนเองแต่ฝ่ายเดียว   อย่าเป็นคนเจ้าอารมณ์   โมโห ฉุนเฉียวง่าย   ต้องทำงานอย่างมีสติสัมปชัญญะ   นั่นก็คือรู้ว่าตนเองกำลังทำอะไร  มีความสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น   มีคำกล่าวว่าถ้าเราอยากมี นาย ที่ดี  ลูกน้องของเราก็อยากมี  นาย ที่ดีเหมือนกัน

เราไม่ชอบ นายแบบไหนลูกน้องของเราก็ไม่ชอบเหมือนกัน การเป็นผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีการ

ยึดหลัก กรรมบถ 10  ประการ เป็นหลักในการปฏิบัติตนเพื่อสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา  ดังนี้
             กาย  3      ได้แก่   1.  การไม่ฆ่าสัตว์    

                            2. ไม่ลักทรัพย์  

                            3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
            
วาจา  4.   ได้แก่    1. ไม่พูดปด             

                            2. ไม่พูดหยาบ

                            3. ไม่พูดส่อเสียด

                            4. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
             ใจ  3.        ได้แก่   1.  อโลภะ     คือ  ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ผู้อื่น

                             2.  อโทสะ    คือ  ไม่ผูกอาฆาต

                             3.  อโมหะ    คือ   มีความเห็นถูกต้อง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จ  มักจะคำนึงถึงเป้าหมายความสำเร็จ   3  ส่วน  คือ เป้าหมายขององค์กร  ของส่วนงาน  และของส่วนตัวหรือส่วนบุคคล    จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารใจคนให้ได้   หากทำไม่ได้ใจแล้วโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือจึงเป็นไปได้ยาก   จึงขอแนะนำเทคนิคการครองใจเพื่อสร้างงานและสร้างความสำเร็จเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร ที่ต้องการความสำเร็จ  ดังนี้
             1.  ต้องมีภาวะผู้นำสูง    กล้าคิด  กล้าทำ  กล้าแสดงออก  กล้าให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าให้แก่ลูกน้อง  ให้ความเป็นธรรม  ไม่ลำเอียง   อย่าเป็นผู้แบ่งพรรคแบ่งพวกเสียเอง ควรสร้างวัฒนธรรม การประจบด้วยผลงาน  มากกว่าการประจบสอพลอ  เพื่อขอเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่ง
                2.  การสั่งการและมอบหมายงานควรใช้มธุรสวาจา    มีความสุภาพ   ให้เกียรติผู้อื่น          รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะอย่างตั้งใจ   มีความอ่อนหวาน   และให้กำลังใจ    อย่าติ หรือตำหนิลูกน้องต่อหน้าผู้คนจำนวนมากหรือในที่สาธารณชนโดยเด็ดขาด    และต้องกล่าวชมอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเขาทำงานได้ดี
                3.  รักษาน้ำใจของลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน     อย่าแก้ไขงานหนังสือบ่อยๆ   ควรดูให้เสร็จในคราวเดียว   แก้ซ้ำๆ ซากในหนังสือฉบับเดียวหากเกิดจากเราแก้ไขหรือเพิ่มเติมไม่ครบถ้วน          ก็จะต้องขอโทษเขา   เพราะความผิดพลาดเกิดจากเรา   ที่เป็นเหตุทำให้เขาต้องพิมพ์ใหม่  ทำใหม่
                4.  รู้จักใช้งานด้วยความเกรงใจ และเข้าใจถึงความจำเป็นส่วนตัว   เช่น ลูกน้องบ้านอยู่ไกล ก็ไม่ควรใช้งานในเวลาใกล้เลิกงานเพราะนอกจากคุณภาพของงานจะไม่ดีแล้ว   ยังสร้างความกดดันให้แก่ลูกน้องอีกด้วย
                5.  ใช้คนให้เหมาะกับงาน (put the right man on the right job)  ใครถนัดอะไร ชอบอะไรให้เขาทำ เขาจะทำอย่างเต็มที่เพราะมีความสุขในการทำงานและสิ่งที่ได้คือผลงานจะออกมาดี หากให้ทำงานที่เขาไม่ถนัด  ไม่มีประสบการณ์ในด้านนั้นๆ มาก่อน  นอกจากผลงานจะไม่เกิดแล้ว ยังต้องเสียทั้งเงินและเวลาอีกด้วย
                6.  อย่าทำลายบรรยากาศในการทำงานด้วยการระเบิดอารมณ์ใส่ลูกน้อง    ต้องพิจารณาความผิดนั้น โดยแก้ไขที่ตนเอง ต้องเลิกนิสัย วางท่า วางอำนาจ  จนใหญ่คับห้อง นอกจากไม่ได้ใจแล้วยังถูกนินทาลับหลังเสมอ จะขอความร่วมมือจากใครก็จะได้รับการปฏิเสธทันที
                7.  หากลูกน้องทำผิดในด้านใด ไม่ควรต่อว่าในทันที    ต้องมาตรวจสอบดูว่า เราสั่งผิดหรือไม่ หากไม่เป็นเพราะเราสั่งผิด แต่เป็นเพราะเขาทำไม่ถูกก็ต้องมาสอนงานและแนะนำให้ถูกต้องอย่าให้เขาทำเอง คิดเอง สุดท้ายงานก็จะไม่ประสบความสำเร็จสักที
                8.  หากเอกสารที่ผ่านเราไปเกิดผิดพลาด ไม่ควรโทษลูกน้อง   เพราะเราเองก็มีส่วนผิดเหมือนกัน ที่ปล่อยให้เอกสารนั้นผ่านเราไป โดยมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อย่าเซ็นผ่านไปโดยไม่มีการตรวจสอบ หากผิดพลาดขึ้นมาจำไว้เลยว่า คุณนั่นแหล่ะคือคนแรกที่จะถูกตำหนิก่อนใคร
                9.  ทำตัวเป็นครูที่ดี   แม่ที่ดี    ต้องกล้าพูด  กล้าสอน ในสิ่งที่ดี    และเป็นตัวอย่างที่ดี          หากผู้บริหารทำผิดระเบียบของหน่วยงานเสียเองแล้วคุณจะไปว่ากล่าวลูกน้องได้อย่างไร     ดังนั้น  จะสอนคนอื่นต้องสอนตัวเองให้ดีก่อน
                10.  ต้องปกป้อง สนับสนุน ลูกน้องที่ดี  เมื่อเขาทำงานให้เราอย่างเต็มที่การพิจารณาความดี ความชอบก็ต้องเต็มร้อย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน และเมื่อใดที่เขาทำผิดก็ต้องตักเตือนลงโทษลูกน้องที่ทำผิดอย่าปล่อยไว้ จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ดีไปเพราะทำผิด ก็ไม่ถูกลงโทษ จึงเป็นเยี่ยงอย่างแก่คนอื่นให้นำไปปฏิบัติบ้าง
                 11.  ไปร่วมงานส่วนตัวของลูกน้องตามโอกาสอันควร   เช่น   งานศพญาติ    งานบวช    งานแต่ง
                  12. มีอารมณ์ขันอยู่เสมอ แต่ไม่พร่ำเพรื่อ   วางตัวให้เหมาะสมกับการเป็นหัวหน้า  อย่าพูดส่อเสียด  สองแง่สองง่าม
                  13. เป็นผู้ประสานรอยร้าวและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน    หรือเรื่องส่วนตัว
                  14. หมั่นพัฒนาตนเอง และเรียนรู้งานอยู่เสมอ ให้สมกับเป็นหัวหน้า มีใช่ต้องถามลูกน้องอยู่เรื่อยๆ จะปฏิเสธว่าตนเองไม่รู้ไม่ถนัดไม่ได้   เพราะเราเป็นหัวหน้ามิใช่ลูกน้อง ลูกน้องไม่รู้เราต้องสอนงาน หากเราไม่รู้ซะเองจะสอนงานใครได้ล่ะ   จึงต้องรีบไขว่คว้าหาความรู้อยู่เสมอ   และต้องคิดเสมอว่า ไม่มีสิ่งใดจะยากเกินกว่าความสามารถของเรา

จากข้อเขียนดังกล่าวข้างต้นนี้ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นแนวปฏิบัติที่ครบถ้วนตามหลักการครองตน  ครองคน  และครองงาน  ถูกต้องเหมาะสมทั้งทางโลกและทางธรรม   มนุษย์เราเมื่อดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานใด  ก็ควรที่จะรับผิดชอบทำให้เต็มกำลังความสามารถ  ยิ่งอยู่ในตำแหน่งผู้นำยิ่งต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ  จะอ้างว่าไม่รู้  ไม่เป็นไม่ได้   ถ้าไม่รู้ไม่เป็นจริง ๆ ก็ต้องรีบศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเอง  เพราะทรัพยากรมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้   เชื่อเถอะถ้าทำได้  ท่านจะเป็นที่เคารพรักของผู้ใต้บังคับบัญชา  คำว่า นักบริหารมืออาชีพ  ก็อยู่แค่เอื้อมเท่านี้เอง

หมายเลขบันทึก: 277199เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 01:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ครองตน ครองคน ครองงาน จะครบถ้วน ต้องปฎิบัติให้ครบ 14ข้อ (เหมาะสมครับนาย...สบายครับท่าน)

นอกจากเทคนิคทั้ง 14 ข้อแล้วต้องไม่ลืมกรรมบถ 10 ประการด้วยค่ะ จึงจะเรียกว่าดีพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ ถ้าทำได้ครบเป็นผู้บริหารในดวงใจของผู้ใต้บังคับบัญชาแน่

ขอแสดงความยินดีล่วงหน้าค่ะ อนาคตผู้บริหารในดวงใจของลูกน้อง

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ การนำเสนอของอาจารย์ดีมากค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์พรรณี ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

น่าให้ผู้ใหญ่_กทม_จังโดยเฉพาะหัวหน้าที่นั่งนานๆ_และพวกแต๋วแตก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท