ประเมินผลงานอย่างไรให้ลูกน้องยอมรับ


ความดีความชอบ

ภาระหน้าที่ที่น่าหนักใจอย่างหนึ่งในแต่ละปีของคนที่เป็นหัวหน้าคือการประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกน้อง งานนี้มักจะสร้างความหนักใจให้กับผู้ประเมินมาโดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประเมินผลงานทีไรมีคนไม่สบายใจทุกที มีคนที่ไม่ยอมรับผลการประเมินอยู่เสมอ ทั้งๆที่หัวหน้าบางคนพยายามให้เกิดความแตกต่างน้อยที่สุดแล้วก็ตาม(เกรงใจลูกน้อง)

มีหลายสาเหตุที่ทำให้การประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ได้ผลที่แท้จริง ยกตัวอย่าง

  • ไม่มีการกำหนดเป้าหมายการวัดผลงานที่ชัดเจนไว้ตั้งแต่ต้นปี ทำให้ผู้ประเมินต้องใช้ประสบการณ์และความรู้สึกของตัวเองเป็นเกณฑ์ในการ ตัดสิน หัวหน้าคนไหนมาทำงานเช้าก็มักจะให้คะแนนลูกน้องที่มาทำงานเช้าเหมือนตัวเอง สูงกว่าคนที่มาทำงานตามเวลาปกติ
  • ลูกน้องไม่ทราบว่าสิ่งที่ตัวเองถูกประเมินผลนั้นมีอะไรบ้าง ระดับไหน ต้องมานั่งเดาใจเจ้านายว่าทำอะไรจึงจะเข้าตากรรมการ
  • ทุกตำแหน่งงานถูกวัดด้วยหัวข้อการประเมินที่เหมือนๆกันทั้งๆที่งานที่ทำมีความแตกต่างกัน เช่น ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถ พนักงานบุคคล พนักงานบัญชี พนักงานฝ่ายผลิต ฯลฯ ก็มักจะถูกวัดด้วยหัวข้อ "ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์" "มนุษยสัมพันธ์" " ความละเอียด" ฯลฯ ซึ่งไม่เหมาะสม
  • ขาดการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆในระหว่างปี พอมารู้อีกทีก็สายไปเสียแล้ว แก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว
  • ส่วนมากมักจะวัดกันแต่พฤติกรรมไม่ค่อยได้วัดผลของงาน อาจจะมีกำหนดเพียงว่าปริมาณงาน คุณภาพงาน แต่ไม่รู้ว่าอะไรบ้าง คุณภาพหรือที่ปริมาณงานที่ต้องการเป็นเท่าไหร่ ระดับไหนจึงจะได้เกรด A หรือ B

ดังนั้นควรปรับแผนการประเมินให้ถูกจุด ดังนี้ 

o        ของฝ่ายบุคคลก็ได้ หรือเราอาจจะกำหนดเป้าหมายของงานในหน่วยงานของเราก็ได้

o        หาข้อมูลที่จะมาพูดคุยกับลูกน้องในแต่ละหัวข้อเพื่อสนับสนุนว่าทำไมในเรื่องนั้นๆเขาจึงได้ผลงานในระดับ A, B, C หรือ D ถ้าเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขได้ยิ่งดีจะทำให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น

o        ทดลองตั้งคำถามแทนลูกน้องแต่ละคนว่าถ้าเราประเมินเขาแบบนี้แล้ว ลูกน้องน่าจะมีคำถามอะไรกลับมาหาเราบ้าง เราจะได้มีเวลาไปหาข้อมูลมาเตรียมไว้ล่วงหน้า

o        ซัก ซ้อมการพูดคุย อาจจะพูดให้คนอื่นฟังหรือพูดคนเดียวก็ได้ ถ้ามีใครยอมมานั่งฟังให้เราพูดคุยก็จะเป็นการดี เพราะคนที่มานั่งฟังเราเขาไม่รู้อะไรเลย ดังนั้น เขาจะมีคำถามมากมายเกิดขึ้น เช่น ที่คุณบอกว่าลูกน้องคนนี้มนุษยสัมพันธ์ไม่ค่อยดีนั้น เขาไม่ดีอย่างไร หรือที่คุณบอกว่าลูกน้องคนนั้นทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายนั้น ลูกน้องเขารู้มาก่อนหรือไม่เปล่าว่าเป้าหมายงานของเขาคืออะไร ฯลฯ คำถามจากคนวงนอกในลักษณะนี้ เป็นคำถามที่ช่วยเปิดประเด็นให้เรามองเห็นได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราคิดอยู่คนเดียวเราอาจจะมองเพียงมุมใดมุมหนึ่งเท่านั้น

                             สรุป  การประเมินผลงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนหรือตำแหน่งต้องประเมิน  360 องศา แต่ก็นั่นแหละในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ไม่มีอะไรที่แน่นอน  การจะทำอะไรให้ถูกใจทุกคนย่อมเป็นไปได้ยาก  แต่หลักการก็คือหลักการ

ที่มาบทความ  ณรงค์วิทย์ แสนทอง

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความดีความชอบ
หมายเลขบันทึก: 272634เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เฮ้อ! คุณพี่ขาการประเมิน มันก็มีทั้ง ความดี และ ความชอบ ก็ขึ้น

อยู่กับผู้บริหารแต่ละคนว่าจะหยิบประเด็นไหนมาพิจารณา พูดยากคะ สังคมไทย อนิจจัง ปลงคะปลง....

ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน แต่ถ้าไม่เข้าตากรรมการก็เพราะงานยังไม่ work

อนากให้เทศบาลตำบลชุมแสงนำหลักการจากบทความนี้ไปใช้บ้างจัง ฝากพี่เหงี่ยมบอกปลัดเทศบาลหนูหน่อยซิจ๊ะ คิดถึงพี่จัง

เดี๋ยวนี้เขาใช้แฟ้มสะสมงานเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งแจ้งเกณฑ์การประเมินให้รู้ล่วงหน้า ก็รู้สึกว่าการประเมินน่าจะยุติธรรมและชัดเจนขึ้นนะ

หลักฐาน หลักการ สารพัดหลัก .....ขึ้นอยู่กับอันใดรึ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท