ครูตี๋
นาย สมรรถ ครูตี๋ เอี่ยมพานิชกุล

การศึกษาของเราสอนให้ก้าวร้าวเห็นแก่ตัว (จริงหรือไม่)


การศึกษาสอนให้ก้าวร้าวเห็นแก่ตัว

อ่านบทความนี้แล้วได้อะไรบ้าง ลองช่วยคิดดู

คอลัมน์ จิตวิวัฒน์

โดย ประสาน ต่างใจ www.thaissf.org,http://twitter.com/jitwiwatแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ถ้า หากเราถามครู นักเรียน หรือนักการศึกษาที่เป็นนักจิตวิทยาและนักศาสนปรัชญาว่า เราทั้งโลกต้องการให้ระบบการศึกษาของลูกหลานเรามีเป้าหมายอย่างไร? ระหว่างสติปัญญาความฉลาดที่เราใช้การสอบแข่งขันเช่นในปัจจุบัน? หรือว่าจะเอาทักษะพรสวรรค์ที่เด็กทุกคนย่อมจะมีศักยภาพแตกต่างกันไป? หรือว่าเราต้องการให้สังคมได้คนดีมีคุณธรรมในวันหน้า?

ผู้เขียนคิดว่าถึงเถียงกันให้ตายไปข้างหนึ่งก็ยังสรุปไม่ได้ เพราะถูกทั้งหมด ระบบการศึกษาของเราในปัจจุบันถึงวนเวียนอยู่กับการปฏิรูปและปฏิรูปแล้วแต่ ว่าพรรคใดเป็นรัฐบาลหรือว่าครูคนไหนเป็นใหญ่ในระบบการเรียนรู้ของเรา จริงๆ แล้วน่าจะเอาทั้งสามมาเป็นหลักเท่าๆ กัน การเรียนรู้จากภายนอก (สองอย่างแรก) กับภายใน (อย่างหลัง) ย่อมจะดีที่สุด

ประเด็นคือ เราจะหามาตรฐานระดับชาติหรือระดับโลกอย่างไร?
หรือพูดง่ายๆ เราจะชี้วัดทั้งสามหลักว่าเท่าๆ กันด้วยวิธีไหน?
บทความนี้เป็นการสะท้อนความคิดของผู้เขียนต่อรูปแบบสังคมที่เอาธรรมชาติ (ทั้งกายและจิต) กับความไม่เที่ยงหรืออนิจตาของมนุษย์และสังคมมนุษย์เป็นฐาน
ได้พูด ได้เขียนมาหลายหนแล้วว่า ระบบการศึกษาของบ้าน-ที่ลอกเลียนมาจากประเทศตะวันตกทั้งแผง ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นของรัฐหรือเป็นอิสระแต่ในนาม รวมโรงเรียนและวิทยาลัยเอกชนแทบจะทั้งหมด-ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ กาย-วัตถุนิยมและแยกส่วน หรือกระบวนทัศน์เก่าที่ล้าสมัยของโลกตะวันตก ซึ่งอาจเหมาะสมกับช่วงเวลาเมื่อ 150-200 ปีก่อน ที่มองเห็นว่า "คุณค่า (หรือราคา) และความหมายของทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ที่ว่า "มนุษย์" สามารถเอามาใช้ได้หรือเป็นประโยชน์หรือไม่เท่านั้น"
กระบวนทัศน์ เก่าจึงหมดสมัยอีกทั้งผิดธรรมชาติมาแต่แรก จึงไม่สามารถจะแก้ไขหรือปฏิรูปอย่างหนึ่งอย่างใดได้ นอกจากการปฏิวัติถอนทิ้งทั้งรากทั้งโคน แล้วเปลี่ยนทั้งหมดสู่กระบวนทัศน์ใหม่ สู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตสำหรับปัจเจกชนและสังคมโดย รวมใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ไม่ใช่การสมยอมประนีประนอมกันดังกล่าว (transformation not accommodation) ไม่มีผู้ใดในวงการศึกษาบ้านเรา จะฟังแล้วเอาไปคิด
ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนหรือใครครองเมือง-ซึ่งบ้านเราเปลี่ยนกันบ่อยเหลือเกิน -จึงได้มีแต่การปฏิรูปซ้ำแล้วซ้ำอีกจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะทั้งหมดนั้น มีครูอาจารย์ นักการศึกษาที่ไปเรียนมาจากเมืองนอก หรือประเทศตะวันตกมากมาย บางคนได้ถูกนักการเมืองเรียกมาปรึกษาในช่วงที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล หากแต่ละคนจะรู้จักอยู่แค่กับการปฏิรูปการศึกษา เพราะคิดว่ารูปแบบและเนื้อหาของการศึกษาที่เป็นอยู่-เช่นเดียวกับระบบ เศรษฐกิจทุนนิยม-เป็นระบบที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ที่ต้องเห็นแก่ตัว "กูก่อน" จึงเปลี่ยนไม่ได้ เพราะว่าประเทศตะวันตกที่เป็นเจ้าตำรับเอง ล้วนรู้จักแค่นั้น
ฉะนั้น แม้จะรู้ว่าระบบการศึกษาของตนมีปัญหาที่ต้องแก้ แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เพราะพื้นฐานที่ระบบการศึกษาของตนและโลกตั้งอยู่ ล้วนแล้วแต่ตั้งบนหลักการกาย-วัตถุนิยมและแยกส่วน ซึ่งผิดธรรมชาติแห่งองค์รวม ซ้อนองค์รวม ซ้อนๆ องค์รวม ที่มีใยเยื่อประสานกันให้เป็นหนึ่งเดียว
ในรายละเอียด เราต้องไปพ้นหลักการกาย-วัตถุนิยมและแยกส่วน ถึงจะเห็นว่า ระบบการศึกษาของโลก รวมทั้งที่บ้านเรา ในปัจจุบัน ผิดธรรมชาติอย่างแรงถึง 4 ประการ คือ
หนึ่ง มีศูนย์กลางที่มนุษย์ (anthropocentric)
สอง ขาดความพอเพียง พอดี และยั่งยืน (unsustainable)
สาม วัตถุประสงค์อยู่ที่เงิน ไม่ใช่เพื่อความรู้แท้จริง (money-based education) ซึ่งเงินหรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมมุ่งสร้างแต่ความเห็นแก่ตัว และผิดธรรมชาติยิ่งกว่าระบบการศึกษาเสียอีก
สี่ ส่งเสริมอุ้มชูความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ผิดทาง-โดยครูหรือโรงเรียนจะเน้นแต่วิวัฒนาการทางชีววิทยาหรือทางกายภาพ เพียงอย่างเดียว เด็กจึงยังคงความเป็นสัตว์ แยกพรรคแยกพวกและก้าวร้าว
จึงคิดว่าเป้าหมายของการศึกษา ส่วนหนึ่งคือสนับสนุนความรุนแรง และเห็นแก่ตัวหรือการเอาตัวรอดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมีพื้นฐานตั้งอยู่บนวิวัฒนาการทางชีววิทยาหรือทางกายภาพกับจิตรู้เท่า นั้น
ความคิดของมนุษย์ที่เห็นว่ามนุษย์ "ใหญ่" เหนือสรรพสิ่งใดๆ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตหลากหลายนับล้านๆ สปีชีส์ ได้รับการตอกย้ำให้ก้าวร้าว ชอบความรุนแรง และแยกพวกแยกกลุ่มแยกส่วน ด้วยการสาธิตยุทโธปกรณ์ทางทหารมาตั้งแต่เยาว์วัย
เราอาจจะคิดว่าโลกเป็นเสมือนยานอวกาศ โดยมีมนุษย์เพียงเผ่าพันธุ์เดียวท่ามกลางเทคโนโลยีท่อไอและหลอดยางต่างๆ
ดัง ที่ เอ็ดวาร์ด โอ วิลสัน เขียนกระแนะกระแหนคนที่ไม่เห็นความหมาย ไม่เข้าใจความสำคัญของระบบนิเวศน์และชีวิตอื่นๆ เผ่าพันธุ์อื่นๆ จึงสำคัญตนว่ายิ่งใหญ่กว่าฟ้าหรือหัวเราะเยาะเย้ยเหวยๆ ฟ้าเสียอีก นั่นคือ เทพ-กษัตริย์ (god-king) นั่นคือจักรพรรดิ นั่นคือซีซาร์ คือ ปโตเลมี คอนซีต (Ptolemaic conceit and anthropocentric) หรือความยิ่งใหญ่ของเด็กวัยรุ่นในระยะต้นๆ (idea of Grandeur) ซึ่งตรงกันกับวิวัฒนาการของมนุษย์ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ของปัจจุบัน ที่แทบจะยืนอยู่กับที่ ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง ตามที่นักจิตวิทยาแทบทุกคนเชื่อเช่นนั้น
ในความเห็นของผู้เขียนคิด ว่า วิวัฒนาการของจิตไม่ได้มีมูลเหตุจากกามารมณ์ในเด็กทั้งหมดและก่อเป็นปมด้อย ปมเด่นในวันหลัง ดังที่ ซิกมัน ฟรอยด์ เชื่อ แม้แต่ปมอีดีปัส (Oedipus complex) ที่ฆ่าพ่อแล้วเอาแม่มาทำเมียเพราะไม่รู้ ก็ไม่ใช่ปมด้อยปมเด่นใดดังที่ฟรอยด์คิด แต่เป็นวิวัฒนการทางจิตจากระดับมีธิค (mythic) ไปสู่ระดับตัวตนกับเหตุผล (self-rational)-อ่านได้จากหนังสือของ เคน วิลเบอร์ เล่มแรกๆ
ในทางระบบนิเวศ การศึกษาทั่วทั้งโลกในปัจจุบันนั้น มีแต่การปฏิรูปและปฏิรูป ปะโน่นปะนี่โดยฐานรากของระบบยังเป็นเช่นเดิม
การเอาเด็กที่อยู่กับป่าฝนและภูเขามาให้เห็นป่าโกงกางและทะเลหรือในทางกลับกัน ไม่ได้ช่วยให้เด็กเข้าใจระบบนิเวศหรือธรรมชาติมากนัก หากเราไม่ได้คิดถึงความสัมพันธ์และพึ่งพากันของทุกสิ่งทุกอย่าง
นั่นคือ การศึกษาในปัจจุบันที่ไม่ได้คิดถึงความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม "อย่างเป็นระบบ" ทั้งๆ ที่เป็นระบบที่ทุกๆ สรรพสิ่ง "ทั้งหมด" เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างที่แยกจากกันไม่ได้เสียด้วย
ผู้เขียน เชื่อว่า ธรรมะในศาสนาที่อุบัติขึ้นจากอินเดีย รวมทั้งพุทธศาสนานั้นมีความหมายส่วนหนึ่งอยู่ที่ธรรมชาติที่เราสัมผัสและรับ รู้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยมีเรื่องของระบบนิเวศเป็นหัวใจ (ecology) ซึ่งรวมมนุษย์และสังคมของมนุษย์เป็นส่วนเสี้ยวของข่ายใยแห่งชีวิต เป็นองค์รวมที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกัน กระบวนการเรียนรู้ที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐานและมีระบบนิเวศของโลกเป็นหัวใจ นี้ ย่อมจะชักนำให้การศึกษาของเด็กไทยและทั่วทั้งโลกเปลี่ยนแปลง ทั้งมนุษย์โดยปัจเจกชนกับสังคมโดยรวมไปสู่สิ่งใหม่ วิถีใหม่ ที่ลึกล้ำ พอเพียง พอดี และยั่งยืน
ระบบการศึกษาของเรา มีเป้าหมายที่เงินหรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะเหมาะสมกับสมัยที่ ธอมัส ฮอบส์ ไอแซค นิวตัน จอห์น ล็อค จอห์น สจ๊วต มิลล์ ฯลฯ ซึ่งมีทรัพย์สินส่วนตัวเป็นใหญ่ ทรัพย์สินที่เป็น "ของโลก" กลับกายเป็น "ของกู" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ระบบการศึกษาของโลกจึงกลายเป็นระบบที่รับใช้ทุนนิยมหรือทรัพย์สินความ มั่งคั่ง เป็นไปเพื่อหางานทำหรือเงิน
ส่วนความรู้เป็นแต่ผลพลอยได้เพื่อหลอกให้เด็กแข่งขันกัน เพื่อสอบผ่านให้ได้หรือเป็นผู้ชนะ
การ แข่งขันกันดังกล่าวจะเป็นประหนึ่ง "สุกเอาเผากิน" ที่ทำให้เด็กรู้เฉพะเวลาใกล้สอบ โดยความรู้ที่เรียนมาตั้งหลายปี ส่วนใหญ่มากๆ ไม่ได้เป็นความรู้ที่เด็กต้องรู้เพื่อมีวิถีชีวิตอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมไป ชั่วชีวิต
เรื่องของอารมณ์ด้านลบ เช่น ความก้าวร้าว อิจฉาริษยา ความขัดแย้งแตกแยกจนเป็นความรุนแรง หรือสงครามที่ไม่ได้แตกต่างกันโดยหลักการ ล้วนเป็นเรื่องที่เราทุกๆ คนได้ยินได้ฟัง หรือได้เห็นกันทุกวัน อย่างน้อยจากโทรทัศน์ซึ่งมีส่วนที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในวัยเจริญเติบโต มากกว่าส่วนที่เหมาะสมยิ่งนัก
แม้แต่กับผู้ใหญ่เองในระดับจิตที่ มนุษย์ส่วนใหญ่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยโดยเฉพาะกับเด็กๆ ในวัยต่ำกว่า 11 ขวบ
ทุก วันนี้มีการวิจัยมากมาย โดยเฉพาะการปฏิบัติสมาธิในเด็กกับความฉลาดทางอารมณ์ (EI or emotional intelligence) หลังจาก แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยาจากฮาร์วาร์ด ได้เขียนหนังสือเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ขึ้นมาในปี 1995 ที่ขายดีมากๆ ถึง 3 ล้านกว่าเล่มในช่วงสั้นๆ แดเนียล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า
"ครูและ โรงเรียนสามารถสอนให้เด็ก-หากว่าเป็นหลักสูตรสำคัญในทุกวิชาการศึกษาของประเทศ-มีความฉลาดทางอารมณ์ได้และได้ดีเสียด้วย ซึ่งเมื่อเด็กได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถเผชิญหน้ากับภยันตรายต่างๆ เช่น ความรุนแรง กระทั่งวิกฤตต่างๆ ได้ คือสามารถมีสติได้ในทุกเวลา สามารถจะควบคุมตัวเองได้ตลอดเวลา มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น และมีมนุษย์สัมพันธ์กับใครต่อใครในสังคมได้ดี"
พูดง่ายๆ โกลด์แมนบอกว่า การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์มีแต่จะผลิตสร้างคนดีที่มีคุณธรรม รวมทั้งยังรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งระบบในปัจจุบันไม่ได้ เน้น ฉะนั้น มนุษย์จึงแสวงหาแต่เงินและอำนาจตามสันดานของ "ตัวกูของกู"หน้าที่นั้นมีสองอย่าง คือหน้าที่ต่อส่วนรวมที่ตนได้รับการมอบหมายมา ซึ่งมักมีเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น (legal duty) กับหน้าที่ทางคุณธรรมหรือจิตใจที่ไม่มีอะไรตอบแทน แต่มักเต็มใจทำยิ่งกว่า เช่น หน้าที่ต่อพ่อแม่ (moral duty) ซึ่งตามด้วยความรับผิดชอบเสมอ
ทุกวันนี้อย่างแรกยังพอหาได้ แต่อย่างหลังหาผู้รู้หน้าที่พร้อมกับความรับผิดชอบจริงๆ ได้ยากมาก
พุทธ ศาสนาบอกให้เรารู้ว่า คนเราที่เกิดมาในโลกด้วยหน้าที่ หมายถึงจิตใจ และคุณธรรม จริยธรรมที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบเป็นสร้อยห้อยท้ายเอาไว้เสมอ
หน้าที่ทาง จิตใจนั้น จะเป็นเรื่องของการกระทำหรือกรรมที่ทำในอดีต ซึ่งเราจะต้องรับผิดหรือรับชอบอย่างไม่มีทางหลบหรือหลีกหนีได้พ้น เพียงแต่ที่ภพภูมิไหนและเมื่อไหร่เท่านั้น เพราะว่าจิตนั้นไม่ได้ตาย หรือหายสาบสูญไปพร้อมๆ กับรูปกายที่เราเพียงยืมมาจากโลก ซึ่งต้องคืนกลับไปเมื่อไม่ใช้ทำอะไรอีก
ตราบใดที่เรายังไม่ได้หลุดพ้นและยังคงอยู่ในวัฏสงสาร หรือโลกที่มีสามมิติ (บวกหนึ่ง) แห่งนี้



ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 9 - วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11424
อ้างอิงจาก : http://www.kruthai.info/board02_/show.php?Category=vipak&No=143

หมายเลขบันทึก: 272633เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท