เด็กหญิงสู้สู้ เกิดที่โรงพยาบาลระนอง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2547 โดยในขณะนั้นแม่ของเธอได้แจ้งการเกิดในท.ร.1/1 ขณะนั้นว่า “เอ้” และได้แจ้งชื่อพ่อว่า “อ่าว”
แต่เมื่อแม่ของเธอได้มาขอความช่วยเหลือจากผมเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552 นางไม่ได้มีเอกสารประจำตัวที่ออกโดยประเทศไทยแต่อย่างใด นางมีแต่บัตรประชาชนพม่า ซึ่งใช้ชื่อว่า “เอ้เอ้ลวย” ซึ่งชื่อดังกล่าวไม่ตรงกับในท.ร.1/1
ส่วนชื่อพ่อนั้นไม่มีเอกสารใด ๆ จึงได้มาแต่สอบถามซึ่งก็ได้ชื่อว่า “อ่าวจอไน” และได้ช่วยกรอกเอกสารในใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร.100) ตามที่ผมได้ข้อเท็จจริงมา ทั้ง ๆ ที่ชื่อของพ่อแม่ที่กรอกลงในใบรับแจ้งการเกิด กับในท.ร.1/1 จะไม่ตรงกันก็ตาม
โดยแม่เด็กหญิงสู้สู้ ได้ใช้บัตรประชาชนพม่าในการแจ้งการเกิดว่าเป็นแม่ของเด็ก
ในที่สุดเด็กหญิงสู้สู้ก็ได้รับแจ้งการเกิดและได้สูติบัตรในวันที่มาขอความช่วยเหลือ โดยในสูติบัตรได้ใช้นามของแม่ที่แท้จริงตามบัตรประชาชน และได้ชื่อพ่อที่แท้จริง(หากไม่มีการหลอกลวง) โดยได้รับสูติบัตรประเภท ท.ร.031 โดยมีเลข 13 หลักคือ 0-8599-00000-XX-X อยู่บ้านกลาง
ข้อกังวลใจ
1.สูติบัตรเป็นภาษาไทย ไม่สามารถนำไปแจ้งการเกิดที่ประเทศพม่าได้ แม้ว่าชื่อพ่อแม่จะตรงกับความเป็นจริงก็ตาม
2.ไม่มีสถานที่ของรัฐในการแปลและรับรองเอกสาร ”สูติบัตร” จากภาษาไทย เป็นภาษาพม่า จึงไม่สามารถนำไปแจ้งการเกิดได้
3.พ่อแม่ ไม่สามารถที่จะเดินทางออกนอกเขตจังหวัดระนอง เพื่อแปลสูติบัตรไปใช้แจ้งการเกิดยังประเทศพม่าได้
ข้อเสนอแนะ
1.ทางผมยินดีที่จะช่วยแปลสูติบัตรจากภาษาไทย เป็นภาษาพม่าได้
2.ผมยินดีที่จะส่งเจ้าหน้าที่ของเราไปทดสอบความสามารถ สอบ หรืออย่างอื่น เพื่อให้ทางราชการไทยออกหนังสือรับรองว่าเจ้าหน้าที่นั้นสามารถที่จะแปลและรับรองการแปล เช่นหน่วยงานของรัฐ
3.ทางประเทศไทยควรจะมีความสัมพันธ์กับประเทศพม่า ไม่ว่าจะในระดับไหน เพื่อให้ยอมรับสูติบัตรที่ออกโดยประเทศไทย เป็นเอกสารที่ทางการพม่าสามารถรับเด็กเหล่านั้นเป็นพลเมืองของประเทศพม่าได้
หากประเทศไทยสามารถทำให้ทางการพม่ายอมรับสูติบัตรที่ได้แปลเอกสารเป็นภาษาพม่าเหล่านี้ และยอมรับเป็นพลเมืองได้ เมื่อถึงวันผลักดันเด็กชาวพม่าออกนอกประเทศไทย เด็กเหล่านี้จะได้มีที่อยู่ มีสถานะเป็นพลเมืองทั่วไปดุจเดียวกับเด็กพม่าที่เกิดในประเทศของเขา
หาไม่ หากผลักดันเด็กเหล่านี้ รัฐไทยต้องตอบคำถามกับประชาคมโลก และตอบคำถามถึงจริยธรรมในความเป็นมนุษย์ของเจ้าหน้าที่คนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ผลักดัน ถึงเรื่องการผลักดันเด็กที่เกิดในประเทศไทย ให้ออกนอกประเทศ โดยไม่สนใจชะตากรรม ไม่สนใจว่าเด็กจะตายหรือเป็น ขอเพียงผลักดันให้ออกนอกประเทศไทย ให้ได้สมกับได้เป็นสมาชิกในประชาคมโลก
ส่วนประชาชนชาวไทยยามถูกถามเรื่องนี้ คงต้องตอบคำถาม และร่วมกันรับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว (ถ้าหากมี) เพราะว่ารัฐไทยทำในนามประชาชนชาวไทยทั้งประเทศด้วย หรือไม่รัฐไทยก็ต้องโยนบาปไปที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ว่ามิได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล เป็นการกระทำโดยส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นโดยแท้
เรื่องที่มีเด็กเกิดต่างนั้น เท่าที่รู้มากฎระเบียบว่าด้วยการแจ้งเกิดแต่ละประเทศนั้นก็จะมีแนวทางใกล่เคียงกันนะครับ สมุดว่าถ้าคนไทยไปคลอดลูกที่ย่างกุ้ง คนที่เป็นบิดามารดาก็ต้องแจ้งเรื่องกับสถานทูตไทยในประเทศพม่าพอได้รับรองจากสถานทูตแล้วจึงจะดำเนินการแจ้งเกิดที่สถานทูตเล่ยหรึอไม่ก็กลับมาแจ้งเกิดมี่ประเทศไทย ตามขั้นต่อนของกระทรวงมหาดไทยต่อไป เช่นเดียวกันครับ หักคนต่างด้าวคลอดบุตที่ต่างประเทศ เช่นในประเทศไทย คุณก็ต้องแจ้งเรื่องดำเนินการผ่านสถานทูตของคุณ พอสถานทูตของคุณรับรองเอกสารการเกิดอยางถูกต้องแล้วคุณก็กลับไปแจ้งเกิดที่ประเทศพม่าต่อไป ถ้าคุณทำตานขั้นต่อนกฎระเบียบถูกต้องแล้ว ทางการพม่ามีหรึอจะกล้าปฏิเสธคำขอการแจ้งเกิดของคุณ ไม่ใช้ว่าอยู่ดีฯคุณก็เดินเข้าไปในที่ว่าการด้วยที่ไม่มีเอกสารอะไรสักอย่าง บอกได้แต่เพียงคำเดียวว่าเป็นบุตของตนที่เกิดจาก/ในประเทศไทย คุณลองคิดดูสิครับว่าถ้าคุณเป็นเจ้าน้าที่ปฎิบัตอยู่ ณ ที่ตรงนั้นคุณจะกล้าดำเดินการ หรึอ แจ้ง หรึอ ออก/ทำอะไรคนฯนั้นตามที่เค้าต้องการหรึอไม่