เพียงกระตุ้นเบาๆ..เรื่องเล่าที่เป็นองค์ความรู้นั้นมีมากมายจริงๆ


เหมือนการไปกระตุ้นที่ถูกจุด

          ในช่วงบ่ายของวันที่ 3 พ.ค 49 หลังจากช่วงเช้าไปร่วมทีมของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร  เพื่อทำการจัดเสวนากลุ่มเพื่อหาโจทย์วิจัย PAR อาหารปลอดภัย (ลิงค์อ่านบันทึกภาคเช้า)  ผมและคุณอำนวยที่ชื่อสายัณห์ ก็ต้องรีบเดินทางจากตำบลนาบ่อคำอำภอเมืองกำแพงเพชร  ไปยังตำบลมหาชัย อำเภอไทรวาม ระยะทางก็ห่างกันประมาณ 60 กว่ากิโลเมตร

          ประมาณบ่ายโมงเศษ  เราก็เดินทางมาถึงที่ทำการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลมหาชัย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหลังที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลมหาชัย  เป็นอาคารที่สร้างโดยงบประมาณเพื่อตุ้นเศรษฐกิจ   และเป็นจุดที่ 3 ของการศึกษาดูงานในการสัมมนาครึ่งปี การจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร  ในวันที่ 23 พฤษภาคม  2549 ที่จะถึงนี้   ส่วนหนึ่งผมได้นำรายละเอียดที่คุณสายัณห์ได้จัดทำไว้สำหรับแนะนำ บันทึกไว้บนบล็อกแล้ว (ลิงค์อ่านรายละเอียด)  

          บันทึกนี้เลยขอนำภาพสถานที่ของศูนย์ฯ มาเผยแพร่เพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูล เผื่อนักส่งเสริมที่จะร่วมสัมมนาจะได้ตัดสินใจเลือกที่จะไปเยียมชมเพื่อศึกษาดูงานที่ศูนย์ฯ แห่งนี้บ้าง

  • ที่ทำการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลมหาชัย

                                      

  • มุมหนึ่งภายในที่ทำการ

                                      

  • บริเวณข้างศูนย์ฯ ให้เกษตรกรเช่าปลูกมันสำปะหลัง และส่วนหนึ่งทำลานตากไว้บริการ

                                          

         

          ในการมาร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมในวันนี้   การประชุมมีรายละเอียดที่เยอะมาก ผมและคุณสายัณห์ เลยขอโอกาสแลกเปลี่ยนและหารือกับคณะกรรมการศูนย์ฯ ในการที่จะใช้กิจกรรมของศูนย์ฯ เป็นสถานที่ศึกาดูงานในงานสัมมนาฯ วันที่ 23 พ.ค.49 นี้ ก่อน

          วันนี้อาจเป็นครั้งแรกที่ทีมงาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ "การจัดการความรู้" กับคณะกรรมการศูนย์ฯ ที่เป็นผู้นำ และไม่ใช่นักส่งเสริมการเกษตร  เพราะคณะที่จะมาศึกษาดูงานเป็นคณะที่มาสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการความรู้   คณะกรรมการฯ เลยสนใจและอยากทราบว่ามันเป็นอย่างไรกันนะ...การจัดการความรู้   ก็ต้องแลกเปลี่ยนกันโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ผมและคุณสายัณห์    ได้เล่าและยกตัวอย่างที่มีอยู่ในชีวิตจริงของชาวบ้าน  หรือเกษตรกรที่เราเห็นและเป็นอยู่  ที่ได้ค้นหาความรู้  ใช้ความรู้  สร้างความรู้ใหม่ พัฒนาและยกระดับความรู้เดิม โดยเรายอมรับความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน  ยอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาที่มีอยู่ในตัวของชาวบ้าน   ฯลฯ   

           เท่านั้นแหละครับ พอคณะกรรมการฯ ของศูนย์ฯ ได้ทำความเข้าใจ  เหมือนการไปกระตุ้นที่ถูกจุด คณะกรรมการทุกคนต่างร่วมกันเล่าและยกตัวอย่างของความรู้ที่ได้เรียนรู้และสร้าง และใช้ในการดำเนินกิจกรรมของตนเอง กลุ่มของตนเอง ซึ่งมีมากมายและหลากหลายมาก ผมขอยกตัวอย่าง  เช่น กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาของกลุ่มโรงสีของชุมชน  การผลิตกล้วยไข่ให้มีผลผลิตตลอดปีของคุณพี่วิเชียร   และการใช้ความรู้ในการทำการเกษตรแบบผสมผสานของคุณสามาตร เป็นต้น

  • ภาพของคุณวิเชียร ที่เล่าถึงกระบวนการพัฒนาระบบการปลูกกล้วยไข่ให้มีผลผลิตตลอดปี

                                       

  • ประมาณ 14.00 น. เศษ การประชุมของคณะใหญ่ที่มีท่านนายอำเภอไทรงามเดินทางมาร่วมประชุมจึงจะเริ่มขึ้น 

                                      

           ผมและคุณสาบัณห์ จึงขอตัวเดินทางต่อไปที่ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย เพื่อพบปะและเยี่ยมเยียนคุณเสนาะ  ยิ้มสบาย ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของเราในวันนี้

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก    3/05/49                        

 

หมายเลขบันทึก: 26929เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 04:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  เรียนท่าน สิงห์ป่าสัก กระตุ้น เบาๆ แต่เร้าใจครับ
     รับทราบครับ  หากมีประสบการณ์ดีๆ จะนำมาเสนอเพิ่มเติมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท