การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน


การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน

การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน

                                                                                                เรียบเรียง โดย ผศ.พิศิษฐ์  โจทย์กิ่ง

(จากหนังสือ การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืนของพระธรรมปิฎก พ..2540)

1.      การศึกษาคืออะไร

การศึกษา ตามคำบาลี ว่า สิกขาแต่เราถือตามภาษาสันสกฤตว่า ศึกษาทั้ง สิกขา  ศิกษา และศึกษา เป็นคำเดียวกัน

การศึกษา คือ การเรียนรู้ ฝึกหัดพัฒนาตนเอง

2.      มนุษย์จะศึกษาหรือฝึกหัดพัฒนาตนเองไปเพื่ออะไร

1.      สุขภาพดี, มีความรู้เชี่ยวชาญในวิชาการหรือวิชาชีพ, รู้จักรับผิดชอบ, ขยันหมั่นเพียร, อดทน

2.      เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ ดีงาม, มีอิสระภาพ, มีความสุขในตัวเอง, มีความประพฤติดี

3. บทบาทของการศึกษาโดยสรุปคืออะไร อะไรคือภารกิจหลัก คือ

1.      ทำหน้าที่ดำรงรักษาและถ่ายทอดศิลปวิทยาการ หรือวิชาการ ตลอดจนวัฒนธรรมให้แก่สังคม

2.      ทำหน้าที่สร้างคนให้เป็นบัณฑิต โดยมีชีวิตที่ดีงาม, และช่วยสร้างสรรค์สังคม, เกื้อกูลสังคม

กล่าวโดยสรุป ความมุ่งหมายของการศึกษา สามารถแยกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 คือ การศึกษาสร้างคนให้เป็น บัณฑิตผู้มีชีวิตที่ดีงาม, ดำเนินชีวิตถูกต้องและเกื้อกูลต่อสังคม

ส่วนที่ 2 คือ การศึกษาให้ เครื่องมือแก่บัณฑิต เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตและบำเพ็ญกิจแก่สังคม

ส่วนที่หนึ่ง คือ การสร้างคนให้เป็น บัณฑิตเป็นภารกิจหลักของการศึกษา ถ้าลำพังจะให้แต่เครื่องมืออย่างเดียว ยังไว้ใจไม่ได้ เพราะถ้าให้เครื่องมือแก่คนที่ไม่เป็นบัณฑิต บุคคลนั้นอาจจะเป็นโจร เป็นคนร้าย และอาจจะนำเครื่องมือไปใช้ในทางที่เกิดโทษ ก่อความเสียหายก็ได้ ซึ่งจะเกิดผลร้ายต่อชีวิตและสังคม  การศึกษาประเภทที่ถ่ายทอดศิลปวิทยา  ความรู้ความชำนาญ วิชาชีพต่าง ๆ เป็นเพียงการให้เครื่องมือเท่านั้น เราจะไม่รู้สึกมั่นคงปลอดภัยได้เลย ถ้ายังไม่สามารถทำให้บุคคลผู้นั้นเป็นบัณฑิต

เพราะฉะนั้น จะมองข้ามบทบาทของการศึกษาในการสร้างคนให้เป็นบัณฑิตไปไม่ได้ ถ้าคนเป็นบัณฑิตแล้ว เขาก็พร้อมที่จะนำเครื่องมือไปใช้ทางสร้างสรรค์ โดยนัยนี้  เราจึงต้องถือว่า หน้าที่พื้นฐานของการศึกษา คือการสร้างคนให้เป็น บัณฑิต กล่าวคือ การช่วยให้บุคคลพัฒนาชีวิตที่ดีงาม เป็นสมาชิกที่สร้างสรรค์สังคม

ในส่วนที่สอง เมื่อเราให้เครื่องมือแก่บัณฑิตโดยการถ่ายทอดศิลปวิทยาเป็นอย่างดีแล้ว บัณฑิตนั้นก็จะดำเนินชีวิตที่ดีงามอย่างได้ผลดี และสร้างสรรค์พัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

4. “บัณฑิตตามความหมายของพุทธศาสนา เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างไร

            บัณฑิต คือ ผู้มีศีล สมาธิ และปัญญา สมบูรณ์

            4.1 ด้านพฤติกรรม (ศีล) คือ

ก.      พฤติกรรมในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือโลกแห่งวัตถุ (กายภาวนา)

-          การใช้อินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ในการรับรู้โดยไม่เกิดโทษก่อผลเสียหาย แต่ได้ผล  ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการฝึกอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน ให้ดูเป็น ฟังเป็น (หลักอินทรีย์สังวร)

-          การเสพ  บริโภคปัจจัย 4 และใช้ประโยชน์จากวัตถุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเทคโนโลยีด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจมุ่งคุณค่าที่แท้จริง ให้ได้คุณภาพชีวิตและส่งเสริมการพัฒนาชีวิตไม่หลง ถูกหลอกไปด้วยคุณค่าเทียมตามค่านิยม ฟุ้งเฟ้อ โก้เก๋ ที่ทำให้บริโภคมาก แต่เสียคุณภาพชีวิต เรียกง่าย ๆว่า กินเป็น บริโภคเป็น ใช้เป็น เริ่มด้วยการกินพอดี

ข.      พฤติกรรมในการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและโลกแห่งชีวิต (ศีลภาวนา)

-          การอยู่ร่วมสังคม โดยไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อน หรือเวรภัย แต่รู้จักมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อย่างน้อยดำรงตนอยู่ในขอบเขตของศีล 5

-          รักษากติกาสังคม กฎเกณฑ์ หรือกฎหมาย ระเบียบแบบแผน คือ วินัยแม่บทแห่งชุมชนหรือสังคมของตนและวัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่าจรรยาบรรณต่าง ๆ

-          ทาน คือ การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือปลดเปลื้องความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ ให้ความสุข และส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งดีงาม

-          การประพฤติเกื้อกูลแก่ชีวิตอื่น ๆ ทั้งสัตว์ มนุษย์ และพืชพรรณ เช่น การร่วมสร้างรักษา เขตอภัยทาน การปลูกสวน ปลูกป่า และสร้างแหล่งน้ำ เป็นต้น

ค.      พฤติกรรมในด้านอาชีวะ คือ การทำมาหากินเลี้ยงชีพ โดยมีศิลปวิทยา วิชาชีพที่ฝึกไว้อย่างดี มีความชำนิชำนาญที่จะปฏิบัติให้ได้ผลเป็นสัมมาชีพ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ

-          ไม่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียน ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นหรือก่อผลเสียหายต่อสังคม

-          เป็นเครื่องแก้ปัญหาชีวิตหรือสังคม เป็นไปเพื่อสร้างสรรค์ทำให้เกิดประโยชน์เกื้อกูล

-          เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนไม่ทำชีวิตให้ตกต่ำ หรือทำลายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ หรือทำให้เสื่อมจากคุณความดี

4.2 ด้านจิตใจ (สมาธิ) ซึ่งแยกออกได้ ดังนี้

ก.      คุณภาพจิต ได้แก่ คุณธรรมความดีงามต่าง ๆ เช่น เมตตา, กรุณา, กตัญญูกตเวทิตา, คารวะ หิริโอตตัปปะ ฯลฯ. ซึ่งหล่อเลี้ยงจิตใจให้งอกงามและเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมที่ดีงาม

ข.      สมรรถภาพจิต ได้แก่ ความสามารถเข้มแข็ง มั่นคง มีประสิทธิภาพของจิต เช่น ฉันทะ (ความใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำ) ความเพียร (วิริยะ), ความขยัน (อุตสาหะ) ความอดทน (ขันติ) ความระลึก นึกทัน ตื่นตัว ควบคุมตนได้ (สติ) ความตั้งมั่น แน่วแน่ ใส สงบ อยู่ตัวของจิต (สมาธิ) รวมทั้งความไม่ประมาท เป็นต้น ที่ทำให้ก้าวหน้ามั่นคงในพฤติกรรมที่ดีงาม และพร้อมที่จะใช้ปัญญา

ค.      สุขภาพจิต ได้แก่ สภาพจิตที่ปราศจากความขุ่นมัว เศร้าหมอง เร่าร้อน   สดชื่น เอิบอิ่ม ร่าเริง เบิกบาน ผ่อนคลาย ผ่องใส เป็นสุข ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกาย และทำให้มีพฤติกรรมที่ดีงาม มีความมั่นคง สอดคล้องกลมกลืน

4.3 ด้านปัญญา ซึ่งมีการพัฒนาหลายด้านหลายระดับ เช่น

-          ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่สดับตรับฟัง หรือเล่าเรียน และรับถ่ายทอดศิลปวิทยาการ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

-          การรับรู้ประสบการณ์ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่บิดเบือน หรือเอนเอียง ด้วยความชอบชังหรืออคติทั้งหลาย

-          การคิดพิจารณาวินิจฉัยอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการใช้ปัญญาบริสุทธิ์ ไม่ถูกกิเลส เช่น ความอยากได้ผลประโยชน์ และความเกลียดชัง เป็นต้น ครอบงำ บัญชา

-          การรู้จักคิดจัดการ ดำเนินการ ทำกิจให้สำเร็จ ฉลาดในวิธีการที่จะไปสู่จุดหมาย

-          ความสามารถแสวงหา เลือกคัดจัดประมวลความรู้ คิดได้ชัดเจนและสามารถนำความรู้ที่มีอยู่มาเชื่อมโยงสร้างเป็นความรู้ความคิดใหม่ ๆ เพื่อใช้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์

-          ความรู้แจ้งความจริงของโลกและชีวิต หรือรู้เท่าทันธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ที่ทำให้วางใจถูกต้องต่อทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง สามารถแก้ปัญหาชีวิต ขจัดความทุกข์ในจิตใจของตนได้ หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย จิตไม่ถูกบีบคั้นครอบงำกระทบกระทั่งด้วยความผันผวนปรวนแปรของสิ่งต่าง ๆ หลุดพ้นเป็นอิสระอยู่เหนือกระแสโลก สว่างโล่งโปร่งผ่องใส ไร้พรมแดน ซึ่งทำให้ปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆ และดำเนินชีวิตด้วยปัญญาอย่างแท้จริง

โดยสรุป ปัญญา 2 ด้านที่สำคัญยิ่ง คือ ปัญญาที่เข้าถึงความจริงแห่งธรรมดาของธรรมชาติ และปัญญาที่สามารถใช้ความรู้นั้น จัดตั้งวางระบบแบบแผนจัดดำเนินการให้ชีวิตและสังคมมนุษย์ได้ประโยชน์สูงสุดจากความจริงนั้น

การศึกษาในความหมายอย่างนี้ จะทำให้มนุษย์มีอิสรภาพทั้ง 4 ด้าน กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ขาดแคลนปัจจัย 4 เราก็สามารถแก้ปัญหาทำให้มนุษย์มีปัจจัย 4 โดยการจัดสรรสร้างขึ้นมา ทำให้มีอิสรภาพพื้นฐานของชีวิต คือ       อิสรภาพทางกาย และเมื่อมนุษย์รู้จักประมาณในการเสพบริโภค พร้อมทั้งมีการเผื่อแผ่แบ่งปันกันในสังคมมีความสัมพันธ์กันด้วยไมตรี มนุษย์ก็จะมีอิสรภาพในทางสังคม เพราะไม่ต้องเบียดเบียน ไม่ต้องข่มเหงเอารัดเอาเปรียบกัน

พร้อมกันนั้น ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อโอกาสเขาก็สามารถพัฒนาจิตใจ ทำให้มีอิสรภาพในทางจิตใจ โดยพ้นจากอำนาจบีบคั้นของกิเลส มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีสมรรถภาพ มีคุณธรรม และมีความร่าเริง     เบิกบาน มีความสุขแล้วก็พัฒนาปัญญาให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ทำให้ชีวิตเป็นอิสระจากปัญหา จนกระทั่งแม้แต่ความเป็นไปผันผวนปรวนแปรในโลกและความทุกข์ในธรรมชาติ ก็ไม่สามารถครอบงำจิตใจของเขาได้ จัดเป็นอิสรภาพทางปัญญาอันสูงสุด ถึงจุดที่มนุษย์มีความสมบูรณ์ของชีวิตส่วนบุคคล

5. การศึกษาจะสร้างคนให้เป็น บัณฑิตได้อย่างไร ได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้

            5.1 นำศาสนามาเป็นหลักในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยตั้งจุดหมายสูงสุดว่า เราจะต้องพัฒนามนุษย์ให้มี ชีวิตที่ดีงามในตัวของเขาเอง เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ มีอิสรภาพ มีความสุขในตัวเอง

            5.2 ต้องถือว่า บทบาทของการศึกษาที่สมบูรณ์ก็คือ บทบาทในการ พัฒนาความเป็นคนและ นำสังคมการศึกษาจะต้องเป็นตัวแก้ปัญหาของสังคม ถ้าหากว่าสังคมกำลังเดินทางผิด การศึกษาจะต้องเตือนให้ทราบ และชี้แนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่  การศึกษาต้องสร้างคนให

หมายเลขบันทึก: 269203เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท