สรุปบทเรียนการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดของภาคประชาชน ภาคใต้ตอนล่าง: บ้านต้นธง


“ ตอนเราเกิดเราร้องให้ ในขณะที่คนรอบๆ ข้างเรากลับยิ้ม หัวเราะกันอย่างมีความสุข แล้วทำอย่างไรตอนเราตาย คนรอบๆ ถึงจะร้องให้ด้วยความเสียดาย ในความดีที่เราได้ทำเอาไว้ ”

สรุปบทเรียนการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดของภาคประชาชน ภาคใต้ตอนล่าง:

บ้านต้นธง

 

          จากคำพูดของนักศึกษาที่มาฝึกงานในพื้นที่ ตอนเราเกิดเราร้องให้ ในขณะที่คนรอบๆ ข้างเรากลับยิ้ม หัวเราะกันอย่างมีความสุข แล้วทำอย่างไรตอนเราตาย คนรอบๆ ถึงจะร้องให้ด้วยความเสียดาย ในความดีที่เราได้ทำเอาไว้ ทำให้น้าช่วง(นายช่วง เรืองแก้ว) อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง คิดว่าเอ แล้วเราอายุเท่านี้มีความดีเพียงพอแล้วหรือยัง จึงมุ่งมั่นในการทำความดี ที่ทำอยู่แล้ว อย่างต่อเนื่อง

 

          น้าช่วงมองว่า ยาเสพติด เหมือนโรคโรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปกติที่เกิดขึ้นได้ (โรคบางโรค เราก็ป้องกันได้ เมื่อได้รับเชื้อเรารีบรักษา ก็รักษาให้หายได้ เมื่อเป็นมากขึ้นรักษาไม่ทันก็ถึงตายได้เช่นกัน)  ยาเสพติดมันไม่หมดไปหรอก แต่เราจะทำอย่างไร ที่จะป้องกันไม่ให้เข้ามาในชุมชนเราได้ โดยเริ่มทำกันอย่างจริงจัง เมื่อปี 2549 แต่หากจะนับให้จริง ชุมชนทำกันก่อนหน้านี้แต่เราไม่ประกาศ  โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ส่งเสริมการออมทรัพย์ และจัดสวัสดิการ ให้กับชุมชน ขณะนี้การจัดสวัสดิการชุมชนครอบคลุมตลอดชีวิต เพราะเชื่อว่าชีวิตทีมีความสุข เกิดจากครอบครัวที่มีความสุข ครอบครัวจะสุขได้ปากท้องต้องอิ่ม

 

          หลังจากนั้น ก็จัดกิจกรรมเพิ่มเติม เช่นการเฝ้าระวัง (ซึ่งเครือข่ายมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็ต้องทำ ) มีการลาดตระเวนพื้นที่ชุมชน อย่างเข้มแข็ง จัดอบรมเยาวชน แยกเยาวชนออกมาจากกลุ่มเสี่ยง และเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ ทุกผ่าย ทั้งนายก อบต กำนัน นายอำเภอ ทำงานร่วมกัน และ เหตุที่เราได้รับความเชื่อถือ จากหน่วยงานต่างๆ เพราะเราอุทิศ อย่างจริงใจ ไม่ได้ทำ เพื่อให้เค้ายกย่อง แต่ทำเพื่อให้ชุมชนได้สิ่งที่ดีที่สุด และทำด้วยความเข้าใจคน คนก็เหมือนดอกบัว ที่มี 4 ชั้น คนที่เปรียบเหมือนดอกบัวพ้นน้ำเค้าก็ดีได้ โดยที่เราไม่ต้องออกแรง ส่วน คนที่อยู่ปริ่มน้ำเมื่อเค้าได้รับคำแนะนำจากเรา เค้าก็จะดีขึ้นได้ ส่วนคนที่เปรียบเหมือนดอกบัวใต้น้ำ มันก็ต้องออกแรงกันหน่อย ต้องใช้กฎระเบียบกันหน่อย เราจะทำอะไรเค้าไม่ได้ เร้าต้องได้รับความช่วยเหลือร่วมมือกับหน่วยงานอื่นด้วย เช่นกฏหมาย ต่างๆ

      

         การที่น้าช่วงได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆเป็นอย่างดี น้าช่วงมองว่าเป็นเพราะน้าช่วงทำงานอย่างอุทิศ และ ทำด้วยความจริงใจ ไม่ได้หวังให้เค้ายกย่อง จนทำให้ผผู้ปกครอง คนในชุมชนหันมาสนใจ และให้ความสำคัญเรื่องยาเสพติดมากขึ้น ซึ่ง เป็นเรื่องที่น้าช่วงมีความภาคภูมิใจมาก ที่จบการศึกษาเพียง ประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นชาวบ้านธรรมดา ๆ แต่สามารถทำประโยชน์ให้กับหมู่บ้านได้ขนาดนี้

 

          น้าช่วงบอกว่าการที่งานนี้จะดีกว่านี้ได้นั้น เราต้องไม่เป็นโรคฮือ โรคทำตามคำสั่ง อย่าทำแบบต้องการผลงานอย่างเดียว เราต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างจริงจังและ จริงใจในการทำ ต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินการ เนื่องจากชาวบ้านอย่างไรเค้าก็ยังคงต้องอยู่ในพื้นที่ ส่วนเจ้าหน้าที่ไม่กี่วันก็ย้ายออกไป ขอให้เราชาวบ้านได้มีส่วนร่วม และไว้วางใจเรา ว่าเราต้องการพัฒนาพื้นที่ของเราจริงๆ เพราะ ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากรากหญ้า

       

หมายเลขบันทึก: 268675เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จะเอาชนะปัญหายาเสพติดได้ ต้องเอาชนะใจ และช่วยกันเติมกำลังใจอย่างสม่ำเสมอใช่มั๊ยครับ

ปูครับ กลับมาถึงต้องรีบส่งงานอาจารย์ ครับพื้นที่แหลมขามติดต่อไม่ได้ ปูลองหาเบอร์ไหม่ด้วยครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีคะ เหลา ลำลูกกา

ใช่แล้วคะ โบราณจึงพูดว่า ใจเป็นนายกายเป็นบ่าวใช่ไหมคะ

ขอบคุณแทนภาคประชาชนค่ะที่ลงให้เขาได้อ่านกันและเป็นกำลังใจให้ค่ะพี่ปู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท