บทเรียนจากตลาดพระเครื่อง: เศรษฐกิจตกสะเก็ด พระเครื่องแท้ๆแตกรัง


ในระบบของตลาดใหญ่ก็ "อั้น" เหมือนกัน ด้วยผู้ซื้อต่อในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้มีน้อยลง ของก็ยังมีมาก ที่ผมได้ยินมาว่า ในรอบปีที่ผ่านมา พระราคาหลักล้านเปลี่ยนมือเพียงองค์เดียว หลักแสน หลักหมื่นนิ่งสนิท ถ้าจะปล่อยต้องลดลงมาหลักพัน

ในระยะสามสี่เดือนที่ผ่านมา ผมเริ่มสังเกตว่าพระเครื่องแท้ๆ เข้ามาในตลาดค่อนข้างมาก

ในระยะแรกๆ ผมยังคิดว่าเป็นแค่เหตุการณ์เฉพาะบางวัน ที่มีนักแลกพระ "โชคดี" ไปแลกมาได้ ซึ่งก็มีส่วนถูก แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว

ส่วนที่ถูกก็คือ การแลกพระทำได้ง่ายขึ้น เพราะ ในสภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง คนพยายามหาทางออกให้กับตัวเอง และพระเครื่องก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้มีเงินเข้ามาในระบบ โดยการตั้งเงื่อนไขในการแลกว่า ต้องนำพระเครื่องอีกจำนวนหนึ่งมาแลก พร้อมแถมเงิน แล้วแต่จะต่อรองกันได้

ลักษณะการแลกพระนี้เป็นวิธีการปกติ และทำเป็นปกติ แต่กิจกรรมดังกล่าวจะเกิดได้ง่ายขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ดนี้

ดังที่ผมได้สรุปบทเรียนไว้ในเรื่อง "พระเครื่องแท้ๆมาจากไหน"

จากการสอบถามแผงพระ ผมยังพบว่า ในระยะนี้ ยังมีนักสะสมพระจำนวนหนึ่ง ได้ใช้พระเครื่องเป็นทางบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจของตนเอง

โดยการติดต่อหรือไหว้วานคนที่รู้จักเป็นตัวกลางรับพระเครื่องไปปล่อยแบบ "วันต่อวัน" แล้วแต่ความจำเป็นในการใช้เงิน

เมื่อสถานการณ์เริ่มมีปัญหามากขึ้น จำนวนคนที่ทำเช่นนี้ ก็มีมากขึ้น จนเกิดการแข่งขันกันในที และอำนาจต่อรองไปตกอยู่กับคนกลาง และผู้รับซื้อต่อ

ในช่วงแรกๆ หรือในสภาวะปกตินั้น การปล่อยพระเครื่องแบบนี้ จะมีน้อย จึงทำให้ราคาสูง และเจ้าของพระจะกำหนดราคาได้ง่าย ที่อาจถือว่าพอเล่นตัวได้ ทำให้ราคาอยู่ที่หลักพันปลายๆ หรือหลักหมื่นต้นๆ

แต่ตอนนี้ส่วนใหญ่อยู่ที่หลักพันต้นๆเท่านั้น เพราะยังต้องไปแข่งกับพระแลกมาในราคาหลักร้อยต้นๆ

ผมเคยคิดว่านักสะสมพระเหล่านั้น จะมีโอกาสไปขายกับตลาดใหญ่ ที่ให้ราคาดีกว่า ที่เรียกว่า "ราคาปลาย"

แต่เมื่อสืบไป ก็พบว่า "ราคาปลาย" นั้น มักเป็นราคา "จำหน่ายออกจากร้าน" ไม่ใช่ "ราคาซื้อเข้าร้าน" จึงเป็นเรื่องของนักธุรกิจพระเครื่องเขาคุยกัน มากกว่าที่คนจำหน่ายพระธรรมดาทั่วไป จะเอื้อมถึง

และในระบบของตลาดใหญ่ก็ "อั้น" เหมือนกัน ด้วยผู้ซื้อต่อในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้มีน้อยลง ของก็ยังมีมาก ที่ผมได้ยินมาว่า ในรอบปีที่ผ่านมา พระราคาหลักล้านเปลี่ยนมือเพียงองค์เดียว หลักแสน หลักหมื่นนิ่งสนิท ถ้าจะปล่อยต้องลดลงมาหลักพัน

ดังนั้นร้านค้าพระเครื่องจึงต้องเน้นบีบต้นทุนให้ต่ำ ทำให้การขายของนักสะสมดังกล่าวทำได้ยาก นอกจากจะต้องไป "ลุ้น" ให้โดนร้านต่างๆ รวมหัวกัน "ตีเก๊" ให้เสียความรู้สึก ตามสไตล์ของนักซื้อพระเข้าร้าน (เพื่อให้ราคาถูกแบบพระปลอม) แล้ว ยังอาจไม่มีเวลาที่จะทำกิจกรรมดังกล่าว เพราะต้องทำมาหากินอยู่ จึงทำให้นักสะสมเหล่านั้นต้องหันมาพึ่งคนกลางในท้องถิ่น

คนกลางในท้องถิ่นก็จำเป็นต้องประเมินกำลังของผู้ซื้อ เพื่อให้จำหน่ายได้จริง ตัวเองจะไม่เสียเวลาเปล่า จึงทำให้ราคาพระแท้ๆ ลดลงมาระดับพันต้นๆ ดังกล่าวแล้ว

ดังนั้น ในช่วงนี้ ใครที่สนใจสะสมพระเครื่องแท้ๆ ไม่ต้องลุ้นมาก ราคาถูก มีอยู่ทั่วไป แต่ต้องดูเป็นนะครับ ไม่งั้นอาจเจอ พระคัดทิ้ง แทนพระแท้ได้ครับ

เพราะ ธรรมชาติของการปล่อยของนักสะสม เขาก็จะเลือกองค์ที่ชอบน้อยที่สุดออกมาก่อน

ดังนั้น จึงต้องดูเป็น และรอจังหวะดีๆ ครับ

แต่พระแท้กำลังออกมาในตลาดค่อนข้างมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาวะเศรษฐกิจครับ

ผู้ซื้อเลือกหาได้ กำหนดประเภทที่ต้องการได้ และต่อรองราคาได้ครับ

จึงขอให้สนุกกับการสะสมพระแท้ครับ

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 268674เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • กำลังเข้าสู่วงการพระเครื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ อ่านบันทึกของท่านอาจารย์แล้วได้ความรู้มากครับ
  • ที่ขอนแก่นมีสถานที่ให้เช่าพระเครื่อง (แผงพระ) ที่ไหนบ้างครับท่านอาจารย์ จะได้ไปเดินเที่ยวชมเปิดหูเปิดตาบ้างครับ
  • ขอบพระคุณครับ

ตลาดสำหรับลูกค้าขาจรจะมีบ้าง ทั้งที่ บขส กับตลาดพระเครื่องจตุจักร ที่ผมไม่แนะนำเท่าไหร่

เพราะส่วนใหญ่เป็นของ "ประดับร้าน" มากกว่าที่จะเป็น "ของจริง"

ผมมักใช้ระบบ "สั่งล่วงหน้า" ที่จะได้พระตรงกับที่เราชอบ ไม่งั้นก็ต้องไปลุ้นเอาเองครับ ว่าจะบังเอิญมีที่เรากำลังหาอยู่หรือเปล่า

แต่เมื่อไปแล้วต้องถามหาครับ

ของดี ของแท้ มักจะไม่วางบนแผงครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

แวะมาอ่านบทความของอาจารย์ค่ะ ได้ความรู้และความรู้สึกดีๆ เหมือนเคย พักนี้ฝนตกตอนเย็น (ช่วงเลิกงาน)แทบทุกวัน ที่ขอนแก่นฝนตกเหมือนกันไหมค๊ะ รักษาสุขภาพด้วยนะค๊ะอาจารย์

มีเรื่องมาเล่าให้อาจารย์ฟังค่ะ ทิดท่านหนึ่ง ท่านบอกหนูว่าหิ้งพระที่บ้านของหนู พระพุทธชินราชท่านเป็นใหญ่ ให้ดูแลให้ดี หนูก็กลับมาดูเลยค่ะ เพราะจำไม่ได้ว่ามีหรือเปล่า แต่รู้สึกคลับคล้ายคลับคลาเหมือนเคยเห็น แล้วก็มีจริงๆค่ะ มีองค์เดียวด้วย เป็นพระกริ่งองค์เล็กๆ รูปพระพุทธชินราชค่ะ หนูเห็นพระกริ่งองค์นี้วางรวมอยู่กับพระเครื่องอื่นๆที่โต๊ะหมู่ แล้วเกิดถูกใจขึ้นมา เลยอาราธนาย้ายมาวางที่หิ้งพระเองแท้ๆ หนูดันลืมซะได้ พอพบทิดท่านอีกครั้งเลยถามท่านว่า ท่านทราบได้อย่างไร ท่านบอกว่า ตอนนั่งสมาธิ หลวงพ่อท่านบอก หนูทึ่งเลยค่ะ เพราะหิ้งพระอยู่บนชั้น2 สมาชิกในบ้านไม่มีใครทราบเลยว่า นอกจากพระบูชาที่วางอยู่แล้ว มีพระเครื่องอะไรวางอยู่บ้าง อำนาจพระพุทธคุณ ช่างยิ่งใหญ่เหลือเกินค่ะ

ชีวิตเรายังมีอีกหลายด้านที่เรามักไม่ได้เรียน เพราะ ไม่มีใครสอน และ ต้องเรียนด้วยตนเอง

ด้านฌานสมาธิ จิตวิญญาณ และดวงวิญญาณ เป็นสิ่งที่เรามักไม่เข้าใจและมองข้าม ว่าไม่มี เพราะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่มีใครบอก ถึงบอกก็ไม่เชื่อ ต้องประสพด้วยตัวเองจึงนำมาคิด และอาจนำไปสู่ความเชื่อในที่สุด

นี่คือสิ่งที่ผมก็กำลังเรียนเหมือนกันครับ

อ.แสวงอย่าลืมนะครับว่า ราคาต้นกับราคาปลาย นั้นต้องขึ้นอยู่กับหน้าพระด้วยว่าเป็นพระหลักหรือไม่..

เพราะถ้าเขาเอาลูกย่อยไปล่อก่อนก็เจอ พวกที่เรียกว่าเซียนกดจมกระเป๋าเลยละครับ

ครับ

เรื่องนี้ผมยังเรียนอยู่เลยครับ

ขอบคุณมากครับ

อยากจะขอให้ท่านอาจารย์จัดตั้งชมรมพระเครื่อง พระบูชาขึ้นมา เอาไว้ให้สมาชิกพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกัน

จะดีไหมครับ ขอปรึกษา

ดีครับ

ผมตอบไปแล้วในอีกบันทึกหนึ่ง ว่า

ผมกำลังคิดอยู่สามมุมด้วยกันคือ

  1. ชมรมสุปบทเรียนใน G2K
  2. ชมรมเรียนรู้เรื่องพระกรุ ที่ผมเช่าพื้นที่ไว้ โดยใช้เวบ sawaengkku.com
  3. เปิดเวบแลกเปลี่ยนพระ ใน taradpra.com สำหรับผู้สนใจที่นำพระมาแลกให้ได้ตรงกับโฉลก และตรงใจมากกว่าเดิม

๒ เรื่องแรกทำแล้ว แต่เรื่องที่ ๓ กำลังทำครับ น่าจะเปิดได้ก่อนสงกรานต์นี้ครับ

โทรมาให้ข้อเสนอแนะ ได้ที่ 0897119684 ครับ

อาจารย์ครับ

ทุกวันนี้ยังมีพระแท้ ๆ ที่เล็ดลอดออกมาสู่ตลาดหรือเปล่าครับ

และคาดว่ายังมีพระแท้หลงเหลืออยู่ตามบ้านเรือนที่รอถูกส่งต่อเป็นมรดกกับผู้ที่ไม่รู้หรือชื่นชอบอีกสักเท่าไรครับ

อ่านไปอ่านมาชักเริ่มสนใจมากขึ้นทุกทีครับ

สงสัยต้องหาโอกาสเอาพานดอกไม้ธูปเทียนไปขอขึ้นครูที่ขอนแก่เสียแล้วละครับ

หลักสัจธรรม

สมบัติผลัดกันชม

ชีวิตเราสั้น แต่พระพุทธรูปจะอยู่นาน

(เลียนคำกล่าวท่าน ศิลป์ พีรศรี)

ของแท้ จะค่อยๆหมุนออกมา ตามจังหวะเวลา

แต่จะมีการแตกหักเสียหาย กร่อน ไปเรื่อยๆ

นับว่ามีน้อย และหายากขึ้นเรื่อยๆ ครับ

ยินดีต้อนรับผู้เข้ามาเรียน

ความรู้มีไว้แจก เก็บไว้ไม่ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท