SWIT
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ .

ทีม Health 4 Stateless กับสปสช.


จุดเริ่มต้น งานสือสารสาธารณะภายใต้ความร่วมมือระหว่างทีม H4S กับ สปสช.

ทีมH4S-กับ-สปสช.

ทีม H4S หรือ Health for Stateless เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2550 และได้เดินหน้าในการสร้างองค์ความรู้ เพื่อผลักดันสิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุข  ภายใต้ชุด "โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทย" โดยมีภาพต่อทั้งหมดจาก จากงานวิจัยย่อย 5 ชุด ได้แก่

ชุดย่อยที่ 1 (A1)  http://gotoknow.org/blog/report-health4stateless-a1
ชุดย่อยที่ 2 (A2)  http://gotoknow.org/blog/health4stateless-a2/toc
ชุดย่อยที่ 3 (B)    http://gotoknow.org/blog/health4stateless-kitiwaraya/toc
ชุดย่อยที่ 4  (C1) http://gotoknow.org/blog/uk-health4stateless/toc
ชุดย่อยที่ 5 (D)    http://gotoknow.org/blog/bongkot-health4stateless/toc
ชุดหลัก (E)         

ที่ปรึกษา              http://gotoknow.org/blog/archanwell-notes-on-health4stateless

ระยะเวลาในการทำงานวิจัยได้เดินทางมากว่า 1 ปีแล้ว จากเดิมที่ได้กำหนดเงื่อนเวลาไว้ในช่วงต้นปี 2551 ซึ่งสำหรับเราก็ได้ข้อสรุปบางส่วนต่อประเด็นนี้จากงานวิจัยในระยะแรก และจากนี้เรากำลังร่วมกันขบคิดถึงการผลักดันและขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนด้าน สาธารณสุข ในระยะต่อไป รวมทั้งยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์ความรู้ต่อหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ /ไร้สัญชาติในประเทศไทย ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ช่วงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา แจง (ฐิตินบ โกมลนิมิ-โครงการก่อตั้งมูลนิธิสื่อสารสาธารณ หรือ PUDSA) ได้แนะนำให้พวเราได้รู้จักกับ  "หมอก้อง" -นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี ผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสปสช. ด้วยประเด็นที่ว่า

1. บอร์ด สปสช. จะผลักดัน เรื่องหลักประกันสุขภาพของคนไร้สัญชาติกลุ่มต่างๆ อย่างไรดี (ทราบว่ามีกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัย ได้สร้างความรู้เรื่องนี้แล้ว) เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องสถานการณ์การเงิน ระบบสุขภาพทั้งหมด ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ และหลักการสิทธิมนุษยชน สิ่งที่กังวลคือ ฝ่ายความมั่นคง และสื่อมวลชน จะเข้าใจเรื่องนี้ และยอมรับในหลักการหรือไม่ (เพื่อให้เข้าใจและยอมรับ ควรจะทำอย่างไรดี

2. ต่อเนื่องจากข้อ 1 นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองสปสช. อยากจะนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในบอร์ด สปสช. ต้นเดือนเมษายนนี้ และหลังจากนั้นเรื่องน่าจะเดินทางไปถึงครม.ได้ (ดังนั้นเราต้องเตรียมข้อมูลอย่างไร เพื่อให้บอร์ดพิจารณา)

3. เพื่อให้เกิดข้อ 1-2  "จากความรู้" จะนำไปสู่การผลักเป็นนโยบายอย่างไร และสื่อสารกับสังคมโดยไม่ถูกโต้แย้ง ขัดขวางจากคนที่มีทัศนคติรัฐนิยม / ชาตินิยมมากๆ โดยเฉพาะคอลัมนิสต์หัวเก่าๆ ที่มองคนกลุ่มนี้ว่าเป็นภาระของประเทศ ยิ่งไม่ควรไปโอบอุ้มในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ซึ่งโดยหลักการกลุ่มนี้จะต้องถูกโอบอุ้มก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเขาจะเข้าไม่ถึงกระบวนการช่วยเหลือ หรือการเยียวยาอะไรเลย) ดังนั้น จึงน่าจะมีจัดกระบวนการร่วมกันระหว่าง ทีมสร้างความรู้ และ "ฝ่ายปฏิบัติ" เพื่อผลักดันให้ออกมาเป็นนโยบาย เป็นมติครม. ให้ได้ นพ.พงศธรจึงอยากเจอ "ทีมสร้างความรู้" โดยเร็ว

จึงได้นำมาสู่การหารือระหว่างทีมH4S ส่วนหนึ่ง กับ หมอก้อง จากสปสช. ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 โดยสรุปใจความได้ดังนี้

1) คุณหมอก้อง ประเิิมินให้ฟังว่า การผลักดันครั้งนี้ (ปีนี้) เดดไลน์น่าจะอยู่ที่ภายในเดือนเมษายน เพราะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับงบประมาณ นั่นหมายความว่า ควรผลักให้ครม.ผ่านเป็นมติครม. ภายในเมษา ปีนี้ เท่านั ้นไม่อย่างนั้น ก็ต้องรอไปอีกเมษาปีหน้า (!!)

2) ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม และน่าจะหมายถึง work plan จากที่ประชุมเมื่อวานก็คือ ทีมทำงานวิชาการ จะต้องย่อยข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ออกมาเป็น fact sheet ชุดถามตอบ สัก 10 ข้อ เป็นคำถามหลักๆ ที่ต้องตอบกันบ่อยๆ (หมอก้องเสนอว่าควรเสร็จภายในสิ้นเดือนกพ.นี้)
คนรับผิดชอบ ทีมวิชาการ --สำหรับเนื้อหานั้น บางส่วนอาจเสร็จทันภายในส้นเดืิอนกพ.

3) ส่งต่อข้อมูลให้สื่อ (จัดวงคุย)  ผลักดันประเด็น/ข้อมูลจากให้สื่อ สื่อสารกับสาธารณะ
คนรับผิดชอบ แจง

มีนาคม-เมษายน
4) เดินสาย  press tour/ lobby (หรือ friendly visit ตามนิยามของอ.แหวว)  เพื่อทำความเข้าใจกับ สายการเมืองที่มีอำนาจตัดสินใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงๆ หลักๆ คือ
-รมต.สธ.
-คลัง/สำนักงบฯ หรือกรณ์ จากติกวาณิช และ
-นายกฯ อภิสิทธิ์
คนรับผิดชอบประสานงาน : หมอก้อง/แจง

5) อ.แหวว เสนอว่าควรมีวงทำความเข้าใจกับกลุ่มสายนักกม.ที่มีบทบาท เช่น
-นิติกรของสปสช.,
-นิติกรของสธ.
-กฤษฎีกา
คนรับผิดชอบประสานงาน : หมอก้อง/แจง

หมอก้องรับผิดชอบหางบประมาณสำหรับกิจกรรมทุกอย่างภายใน เวลา ร่วมสองเดือนนี้

ด้วยประการฉะนี้ งานสื่อสารสาธารณะภายใต้ความร่วมมือระหว่างทีม H4S-กับ-สปสช. จึงตั้งต้นขึ้น

หมายเลขบันทึก: 268668เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท