ขยายผลพัฒนาภาวะผู้นำ


"ทฤษฎีมังคุด"

  นึกไม่ถึงว่าผลไม้ไทยไอย่าง"มังคุด"จะถูกนำมาใช้เป็นแนวทางการเรียนการสอนภาวะผู้นำ จากศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์(Coach  ของเรารุ่น 3  7Hb มข.)  ในการLunch Talk  เมื่อวันที่3พ.ค. ที่ผ่านมา ในการติดตามและขยายผลของรุ่น  ที่ร้านวิเศษไก่ย่าง ขอนแก่นโดยท่านอ้างถึงทฤษฎี 2R’s
      ที่มองความจริง  1. Realityความจริง  (มองตรงประเด็น)                        

 2. Relevance   ตรงประเด็น (เข้ากับสถานการณ์)  หากผู้นำไม่ตรงประเด็นกับความจริงและเข้าสถานการณ์ ก็ไม่อาจสามารถมองเห็นเนื้อแท้สีขาวของราชินีผลไม้ไทยที่มีเปลือกผิวคล้ำห่อหุ้มไว้ได้      จากนั้นท่านได้ชี้แนวทางว่า นักศึกษาควรได้นำทฤษฎีมาใช้ในการเรียนรู้ของนักศึกษา คือ
ทฤษฎี 4 L’s
L ที่ 1คือ Learning Methodology  วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia   
L ที่ 2 คือ Learning  Environment       การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก  สนใจ  และมีส่วนร่วม    บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด  มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ – ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)
L ที่ 3 คือ Learning  Opportunity  การสร้างโอกาสในการเรียนรู้  เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน     
L ที่ 4 คือ Learning  Communities      การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง    ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community  เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน  วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment)  และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง

         พร้อมทั้งกำชับความต่อเนื่องในการเรียนรู้  การทำงานเป็นทีม  และทำงานอย่างมีความสุข  และจากนั้นในภาคบ่าย ท่านได้ไปขยายผลการพัฒนาภาวะผู้นำให้แก่หัวหน้าหน่วยงานต่างๆประมาณ 120 ชีวิตได้ฟังอย่างชัดเจนแบบโป๊ะเช๊ะ

  เป็นการบรรยบายจากประสบการณ์ตรไม่อิงวิชาการ  โดยพยายามเน้นการพัฒนาเพราะปัจจุบันนี้ผู้นำมีทุกระดับ ทำอย่างไรจึงจะวางตัวเองให้เป็นผู้นำมีคนอยากทำงานด้วยหรือยากใกล้ชิด  ผู้นำต้องมองตนเองให้เป็น  ค้นหาตนเองให้เจอก่อน  และที่สำคัญต้องมีพลังในการทะเยอทะยาน  คิดให้ไกล  คิดให้ลืก  อย่าเป็นเพีงแค่มนุษย์เงินเดือน

       ESAN THAT LEARN เป็นสิ่งหนึ่งที่ท่านอยากจะเห็น  คนอีสาน ต้องคิดเป็น  วิเคราะห์เป็นและจะทำให้อีสานรุงเรื่อง  ทุกคนต้องช่วยกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

    คนที่เป็นผู้นำ  ต้องเป็นผู้นำที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม  โดยกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทุ่มเทให้กับองค์กร  โดยเน้นอิทธิพล(Influence)  มีการกระตุ้น ทุ่มเท  และต้องพยายมลากไปในจุดที่เขาอยากไป

    นอกจากนั้นทุกคนต้องรู้จักตนเอง อะไรบ้างที่ฉันอยากทำ ไม่ต้องรอนาย  ไม่ต้องรอคำสั่ง

    ผู้นำต้องมีความศรัทธาหรือเชื่อใจ   มีเสน่ห์  มีคนอยากอยู่ใกล้   และต้องให้เกียรติคน  ท่านได้ยกตัวอย่างว่า "ผู้จัดการ" กับ  "ผู้นำ"  แตกต่างกันและเป็นคนละคนกัน  ต้องแยกให้ออก

  พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เช่น รัชกาลที่ 5  พระองค์ท่านได้ส่งพระโอรสไปศึกษษยังประเทศอังกฤษ  หรือ รัชกาลที่ 9 การพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบเศณษฐกิจพอเพียง  หรือ พระนเรศวรมหาราช ผู้นำแห่งความกล้าหาญ ฯลฯ

      พร้อมนี้ท่านยังย้ำเน้นว่า ผู้นำต้องเป็นCoach คอยแนะนำ มากว่า เป็นผู้สั่งการ  ต้องถ่ยทอดเป็น  อธบายเป็น  สื่อสารเป็นการสร้างจุดแข็ง การทำงานเป็นทีม  และได้ฝากรุ่น 3 จัดSectionปรับปรุงการพูด  การฟัง การเข้าสังคมให้กับหัวหน้างานอีกด้วย

      ทั้งหมดคือสิ่งที่พวกเรทุกคนรุ่น 3 ช่วยกันอย่างต่อเนื่องและพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการเติมเต็มในเรื่องความรู้ตลอดเวลาและให้โอกาสกับเพื่อนๆร่วมงานทุกคน  ที่ไม่มีโอกาสได้รับโอกาสเพื่อพัฒนนาตนเอง  แจะจบการบรรยายแต่การพัฒนาของพวกเราทุกคนยังไม่จบทุกคนต้องพัฒนาตนเองต่อไป

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26837เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2006 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท