ยกร่าง "การจัดเวทีสรุป KM ครึ่งปีแรก'49" ของ กสก.


นี่เป็นเพียงยกร่างการทำงานที่คิดและออกแบบไว้ ส่วนท่านใดมีความคิดเห็นเช่นใด? สามารถตกแต่งงานชิ้นนี้ได้เพื่อพวกเราทุกคน.....

   ในการประชุมทีมงานย่อย เพื่อยกร่างกระบวนการจัดเวทีเพื่อสรุปงานการจัดการความรู้ (KM) ครึ่งปีแรก (ปีงบประมาณ 2549) ของกรมส่งเสริมการเกษตร กับ 18 จังหวัดนำร่อง เมื่อวันที 3 พฤษภาคม 2549 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมกองวิจัยฯ

   ที่ประชุมย่อย ประมาณ 6 คน ได้ปรึกษาหารือกันว่า "เราจะตั้งโจทย์ว่าอะไรกันดี" 

   ดังนั้น  จึงเริ่มต้นที่การแบ่งกลุ่มทำงานทั้ง 18 จังหวัดนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการอะไร?     คำตอบ คือ 1) เพื่อติดตามสถานการณ์และประเมินงาน KM ที่ปฏิบัติในปัจจุบัน  2) เพื่อสรุปปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น  และ 3) เพื่อวางทิศทางงาน KM ที่ควรดำเนินการและสนับสนุนต่อไป

   ส่วนประเด็นเนื้อหาสาระที่เป็นกรอบของการรวบรวมและประมาลข้อมูล ได้แก่ 1) บริบทของสิ่งที่ทำสำเร็จ  2)  กระบวนการปฏิบัติงาน  3) ผลสรุปที่เกิดขึ้น  4)  อุปสรรคที่พบ  และ 5) ข้อมูลที่เสนอแนะเพื่อการแก้ไขและพัฒนา 

   นอกจากนี้ ได้มีการยกร่างเป็นโจทย์ในการแล่งกลุ่มระดมสมองโดยเริ่มจาก

     โจทย์ที่ 1 ให้แต่ละกลุ่มเล่าประสบการณ์ในการทำ KM ตามองค์ประกอบ ได้แก่

                  1) ท่านมีวิธีการสร้าง KV ขึ้นมาได้อย่างไร? ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย

                  2) เมื่อท่านจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KS) นั้นท่านทำอย่างไร?

                  3) หลังจากนั้น เวลาท่านเก็บความรู้ต่าง ๆ เข้าสู่คลังข้อมูล (KA) ท่านทำอย่างไร?

          *โดยให้ยกกรณีตัวอย่างที่เป็นประสบการณ์และทำจริงที่บรรลุผลมาถอดบทเรียนและนำมาแลกเปลี่ยนระหว่างคน กลุ่ม และองค์กร

     โจทย์ที่ 2  ให้แต่ละกลุ่มช่วยถอดบทเรียนเกี่ยวกับการนำ KM ไปใช้ในการทำงาน Food Safety นั้นท่านทำอย่างไร? ตามการออกแบบกระบวนการทำงานของแต่ละพื้นที่ 

          ตัวอย่างเช่น 1) เรื่องที่ 1 การจำแนกพื้นที่ ที่ท่านทำสำเร็จหรือบรรลุผลนั้นท่านทำอย่างไร?  และ 2) เรื่องที่ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่ท่านทำสำเร็จหรือบรรลุผลนั้นท่านทำอย่างไร? เป็นต้น

           * ทั้งนี้ ให้แต่ละจังหวัดเทียบและประเมินงานที่ทำหรือปรากฎในปัจจุบันกับกรอบงานหรือแผนการปฏิบัติงานที่ตนเองวางไว้ แล้วสรุปว่า "เราทำงานถึงขั้นไหนแล้ว..."

           * การถอดบทเรียนขึ้นกับชนิดพืชที่แต่ละพื้นที่เลือกทำงาน KM ใน Food Safety

           * การเก็บรวบรวมข้อมูลจะแบ่งเป็น 2 กล่อง คือ กล่องที่ 1 เจ้าหน้าที่  และ กล่องที่ 2 เกษตรกร

   คำตอบที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับ 1) วิธีการ เทคนิค เครื่องมือ และกระบวนการในการทำงานที่สำเร็จ  2) รูปแบบการพัฒนาคนสู่งานส่งเสริมการเกษตรที่บรรลุผลภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ตาม Case Study ที่เกิดขึ้น  และ 3) ตกลงแล้ว "องค์ความรู้" ที่จะนำเข้าสู่ KA มีจำนวนเท่าไหร่? มีเรื่องอะไรบ้าง? และอยู่ที่ไหน? ภายในองค์กรของเรา

  สิ่งเหล่านี้ จะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า

     "เวลาเราจะสร้าง KV นั้น เรามีต้นทุนหรือองค์ความรู้อะไรบ้าง?" ที่อยู่ใน KA แล้วนำสู่การประเมินว่า "สิ่งที่เราตั้งเป็น KV นั้นน่าจะสำเร็จหรือเป็นไปได้มั้ย?"

     "เวลาเราจะจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเสริมจุดแข็งและแก้จุดอ่อนนั้น เรามีต้นทุนความรู้ที่บรรจุอยู่ในคลังข้อมูล (KA) อะไรบ้าง? ที่จะส่งผลให้งานชิ้นที่เราทำปรากฎผลเป็นอย่างไรและเป็นแบบไหน  สำเร็จหรือไม่สำเร็จ" ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการประเมินเพื่อวางทิศทางงานและการพัฒนาเจ้าบุคลากรให้กับองค์กรได้

   นี่เป็นเพียงยกร่างการทำงานที่จะใช้ในการแบ่งกลุ่มเพื่อสรุปงาน KM ใน Food Safety ครึ่งปีแรก 2549 ที่คิดและออกแบบไว้เท่านั้นเอง  ส่วนท่านใดมีความคิดเห็นเช่นใด (กรุณา) ช่วยตกแต่งงานชิ้นนี้ได้เพื่อพวกเราทุกคน.

                                              ศิริวรรณ  หวังดี

                                            4 พฤษภาคม 2549

 

                  

หมายเลขบันทึก: 26834เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2006 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท