Workshop OM-KM เบาหวาน ความดันโลหิตสูง (๔)


ให้มีแรงบันดาลใจคิดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ไม่ให้ตกร่องเดิม

ตอนที่

วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๒

(วันนี้ต้องออกตัวก่อนว่าจดบันทึกได้ไม่ละเอียด เพราะสาระวนอยู่กับการเติมรายละเอียดของหัวข้อต่างๆ ในงานมหกรรม KM และติดต่อผู้ที่จะมาเป็นวิทยากร มีหมอฝน คุณเอนก และอาจารย์อารยาแวะเวียนมาช่วยคิดเป็นพักๆ)

ดิฉันมาถึงห้องประชุมเมื่อเวลา ๐๘ น.กว่าๆ พบว่าทีม node ภาคกลางและตะวันออกกำลังประชุมเตรียมการจัดตลาดนัดความรู้ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน นี้ ส่วนคุณอ้อและคุณหญิงก็กำลังพิมพ์วิสัยทัศน์และพันธกิจเตรียมเอาขึ้นจอ เรา ๓ คนช่วยกันดูและปรับอีกเล็กน้อย

เริ่มการประชุมด้วยการทบทวนวิสัยทัศน์ ผู้เข้าประชุมเห็นชอบให้ปรับประโยคสุดท้ายของวิสัยทัศน์จาก “......เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง” เป็น ".....และงานดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน” สำหรับพันธกิจ มีการพิจารณาปรับแก้ให้ไม่ยากและใหญ่ไป มีคนคอยเตือนว่า “๑ ปีนะ” อยู่บ่อยๆ สรุปมี ๕ พันธกิจ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ ๒๐ นาที

คุณหญิงให้ผู้เข้าประชุมช่วยกันคิดว่ามีใครบ้างที่มาเกี่ยวข้องกับพันธกิจของเรา ให้คิดครอบคลุมทั้งบุคคล กลุ่ม หน่วยงาน องค์กร ฯลฯ หลังจากนั้นระบุว่า partner ที่เลือกมา อันไหนเป็น DP, SP ใช้เวลากันพอสมควรกว่าจะเสร็จก็เกือบ ๑๐ น. ต่อจากนี้ไปก็แบ่งกลุ่มย่อยตามภาคฝึกวางแผนโครงการโดยใช้ OM ทีละขั้นตอน ทำเสร็จก็นำเสนอ ขณะทำงานก็ต้องหวนกลับมาดูพันธกิจ วิสัยทัศน์ และดึงสไลด์ของอาจารย์ประพนธ์มาดูเป็นระยะ ก่อนเที่ยงทำงานได้ ๒ ขั้นตอน

หลังรับประทานอาหารกลางวัน เป็นการทำงานในขั้นตอน Progress markers บางภาคต้องกลับไปเพิ่มพันธกิจ

มีการให้ผู้เข้าประชุมดูหนัง The Art of Possibility เมื่อดูจบ ให้คุยกันว่าเขาใช้ยุทธศาสตร์อะไรบ้าง เห็นกิจกรรมที่เขาทำไหม ยุทธศาสตร์ที่ใช้กับแต่ละกลุ่มคืออะไร ภายใต้ยุทธศาสตร์นั้นๆ มีกิจกรรมอะไร....เพื่อให้มีแรงบันดาลใจคิดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ไม่ให้ตกร่องเดิม คุณอ้อถามว่าจะเปลี่ยนกลุ่มคุยกันบ้างไหม ปรากฏว่าผู้เข้าประชุมขอเข้ากลุ่มเดิม ยังไม่เบื่อหน้ากัน

ให้ระบุยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล สิ่งแวดล้อม ยึด OC เป็นหลักแล้วให้คิด individual strategy และยุทธศาสตร์ที่ไม่ได้ยิงโดยตรง พวกสร้างสภาพแวดล้อม บรรยากาศ ช่องทาง ให้เอื้ออำนวย.....

ซ้าย - กลุ่มภาคเหนือ ขวา - กลุ่มภาคอีสาน <p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;"> </p><table border="1"><tbody><tr>

</tr></tbody></table> ซ้าย - กลุ่มภาคใต้ ขวา - กลุ่มภาคกลางและตะวันออก

โจทย์ต่อไป ถ้าจะให้การพัฒนานี้ยั่งยืนหรือสามารถดำเนินได้ตาม strategy ควรจะต้องมี practice แนวปฏิบัติ หรือวัฒนธรรมอะไรบ้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ ๗ ทุกคนยังตั้งใจทำงานกันอย่างแข็งขัน กลุ่มภาคใต้หัวเราะกันบ่อย ถามว่าหัวเราะเพราะอะไร ได้คำตอบว่า “คิดไม่ออก” แต่ละกลุ่มมีทั้งมือพิมพ์ มือเขียน มือตกแต่งประดิดประดอย กว่าจะเสร็จงานกันก็ค่ำแล้ว คุณอ้อชมผู้เข้าประชุมว่ายอดเยี่ยมที่ทำงานได้จนถึงขั้นที่ ๗ ที่เคยไปจัดการประชุมแบบนี้มา มักไม่ได้ถึงขั้นนี้

เสียดายพรุ่งนี้ดิฉันติดสอนหนังสือ ไม่สามารถอยู่ต่อได้ วันนี้ต้องขอตัวกลับเมื่อ ๒๐ น.กว่า เพราะยังเตรียม Handout สำหรับการสอนไม่เสร็จเลย ได้มอบหมายคุณเอนกว่าช่วยบันทึกกิจกรรมต่อไปให้ด้วย

ดิฉันรู้สึกชื่นชมผู้เข้าประชุมทุกคนที่มีความตั้งใจเรียนรู้ ร่วมมือทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ เอาจริงเอาจัง เป็นอย่างยิ่ง เสียดายแทนคนที่มาไม่ได้และไม่ได้มา นพ.มนู ชัยวงศ์โรจน์ ผอ.รพร.ธาตุพนม ทำงานกลุ่มอย่างจริงจังเหมือนคนอื่น เป็นโชคดีของทีมงาน รพร.ธาตุพนม ที่มีผู้บริหารติดดินและชื่นชอบการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เพื่อเอาไปใช้งานต่อ

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 267956เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2009 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

เสียดายจังค่ะ พอลล่าไม่ได้ไปเรียนรู้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท