การอ่านเชิงวิเคราะห์


ชาวนา

ชื่อเรื่อง  วิญญาณใต้ร่มนนทรี

ผู้แต่ง  ระพี  ชาคริก

พิมพ์   เดือน  สิงหาคม 2545

สำนักพิมพ์  เนชั่นมัลติมีเดียกร๊ป  จำกัด

ประวัติข้อมูลของผู้เขียน 

 

เกิด  4  ธันวาคม 2465  กรุงเทพมหานคร

บุตร ขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง ชาคริก) กับคุณสนิท  ภมรสูต

สมรส กับนางสาวกัลยา  มนตริวัต (บุตรพลตำรวจตรี ขุนพิชัย มนตรี  อดีตหัวหน้าเสรีไทยค่ายกาญจนบุรี)

การศึกษา เริ่มต้นชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสามเสนวิทยาคาร

พ.ศ.2483 เข้าศึกาวิชาเกษตรกรรมที่โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้  เชียงใหม่  เริ่มสนใจกล้วยไม้

พ.ศ.2490 จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) และเริ่มงานวิจัยกล้วยไม้ไทย

พ.ศ.2496 เริ่มโครงการฝึกนิสิตให้ทดลองปลูกกล้วยไม้

พ.ศ.2500 เป็นอาจารย์สอนวิชากล้วยไม้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ.2506 ได้รับเชิญไปบรรยายทางวิชาการที่ประชุมกล้วยไม้โลก

พ.ศ.2513 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์  โดยไม่ผ่านตำแหน่งผู้ช่วย และรองศาสตราจารย์

พ.ศ.2530 ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พ.ศ.2521 เป็นประธานจัดการประชุมกล้วยไม้โลกครั้งที่ 9 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

พ.ศ.2522 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พ.ศ.2523 ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ

พ.ศ. 2545 เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในงานกิจกรรมสัมมนาการประชุมวิชาการและผู้บรรยายพิเศษ เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาที่เน้นชนบทและเยาวชน  ปลูกฝังเนื้อหาคุณธรรมและจริยธรรม  โดยยึดแนวทางพัฒนาที่พึ่งพาตนเอง

 

เรื่องย่อ

เนื้อหาในหนังสือเรื่อง  วิญญาณใต้ร่มนนทรี แบ่งเป็น 11 เรื่องย่อยในหนังสือ 1 เล่ม ซึ่งจะขอสรุปเนื้อเรื่องย่อ 1 เรื่อง คือเรื่อง ควายเพื่อนรักของฉันเธอหายหน้าไปไหนกันหมด

ชีวิตฉันมั่นคงอยู่กับความรักพื้นดินอย่างมีความสุขมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย   จนกระทั่งถึงขณะนี้   อายุตัวเองำด้ล่วงเข้า 80  ปีแล้ว  ถ้าเปรียบก็เหมือนกับเรือลำหนึ่งซึ่งกำลังแล่นใกล้ฝังเข้าไปทุกที  แต่แทนที่จะกลัวความตาย  กลับรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า  ชีวิตนี้ตนได้ผ่านการเรียนรู้ มาอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว

สิ่งหนึ่งซึ่งฉันเกิดความรู้สึกขึ้นในใจอย่างเป็นธรรมชาติ  เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสกับความหลากหลายของสัตว์และชีวิตต่าง ๆ  ก็คือ  ควาย  อันถือเป็นชีวิตหนึ่งซึ่งอยู่ในวิญญาณความรักของฉันมาตลอด  แต่หลังจากที่ช่วงผ่านพ้นมาได้ช่วงหนึ่งมันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นในใจว่าควายเพื่อนรักของฉันเธอหายหน้าไปไหนกันแทบจะหมด

ควานเคยชินซึ่งมีอยู่ในใจฉันมานานพอสมควร  จนกระทั่งทำให้เกิดความรู้สึกในใจตัวเองว่า  ควายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต  ที่ฉันควรให้ความเมตตาจากใจจริง  อันถือเป็นหน้าที่ของความเป็นคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควายคือชีวิตลักษณะหนึ่ง  ซึ่งอยู่ร่วมผืนแผ่นดินเดียวกัน  โดยที่เชื่อว่า แต่ละคนผู้รักศักดิ์ศรีความเป็นคน  ควรให้ความรักความเมตตาแก่ชีวิตทุกรูปแบบ

                สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันกับผืนแผ่นดินไทยอันยาวนาน ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาก็คือควาย  แต่ในปัจจุบันนี้ควายที่เป็นชีวิตหนึ่งเริ่มจะมีให้เห็นน้อยลงทุกวัน   ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าในยุคปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นชาวไร่ชาวนาหันมาใช้เครื่องจักรกลและสิ่งทุ่นแรงในการทำประโยชน์หรือแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองอันจะนำมาซึ่งความสะดวกสบายของตนเองและครอบครัว  จึงทำให้สังคมไทยในปัจจุบันนี้เกิดความห่างเหินไม่ยึดถือแนวประเพณีดั้งเดิม บรรยากาศดั้งเดิมตามท้องไร่ท้องนาเริ่มเลือนลางจางหายไปจากจิตรใจของคนไทย บรรยากาศชายทุ่งที่ทำให้มีโอกาสได้พบกับสัตว์ที่เรียกว่าควาย  ซึ่งผู้แต่งบรรยายถึงลักษณะของควายได้อย่างเห็นภาพที่ค่อนค่างชัดเจน  ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกถึงความรักและความเมตตาต่อสัตว์ชนิดนี้เป็นอย่างมาก  รวมทั้งอธิบายให้ทราบถึงลักษณะการทำงานของสัตว์ชนิดนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูทำนา  เริ่มต้นตั้งแต่การไถ่ดะ ไถ่แปร ลากคราดเก็บหญ้ามาปล่อยไว้ตามริมคันนาให้กลายสภาพเป็นปุ๋ยธรรมชาติ 

                มาถึงช่วงหลังๆ  คนต่างชาติซึ่งรากฐานจิตใจไม่ได้ผูกผันอยู่กับผืนแผ่นดินนี้  แม้มีความฉลาด  แต่ก็ขาดคุณธรรมและเมตตาธรรม  ได้นำเอาเครื่องจักรกล ซึ่งเกิดจากพื้นฐานวัฒนธรรมของพวกเขาเข้ามาเผยแพร่  ส่งผลมอมเมาทำให้เราซึ่งเป็นคนที่เคยมีจิตวิญญาณผูกพันอยู่กับท้องถิ่น  เริ่มต้นลืมตัว  ทำให้คนไทยขาดจิตสำนึก  แม้ชีวิตสัตว์ที่เรียกว่า ควายซึ่งทำหน้าที่รับใช้เพื่อสนองประโยชน์สุขอย่างถึงรากฐาน  ก็ยังถูกลืมไปจากหัวใจได้ลงคอ

                ยิ่งถูกคนต่างชาตินำเอากระแสความทันสมัยเข้ามาหลอกล่อ  ให้จำต้องสูญเสียเงินทองและความรักความผูกพันอยู่กับท้องถิ่นซึ่งเคยมีอย่างลึกซึ้ง  รวมทั้งความรักความเมตตา ซึ่งคนผู้เป็นเจ้าของเคยมอบให้กับควายมาก่อนจากช่วงเวลาอันยาวนาน

                ในที่สุดก็พบความจริงจากผลการเปลี่ยนแปลงของรากฐาน จิตใจคนท้องถิ่นว่า  เขาส่งควายเข้าโรงฆ่าสัตว์อย่างเลือดเย็นที่สุด  หรือไม่ก็ขายให้คนชาติอื่นนำไปฆ่าเป็นอาหาร

                หวนกลับมาดูพื้นดินของเราเอง  ก็ได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรกลแทนดังที่เห็นกันอยู่ในช่วง หลัง ๆ แทบทุกแห่งหน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลสนองประโยชน์ แก่คนต่างชาติทั้งด้านล่างและด้านบน

                ในจะต้องเสียเงินค่าน้ำมัน  ไหนจะค่าสึกหรอ  สารพัดอย่าง ซึ่งต้องจ่ายให้คนอื่น  แถมยังมีค่าปุ๋ยเคมี  ยาฆ่าแมลง  และยาฆ่าหญ้าแทรกมาด้วย  ทั้ง ๆ ที่ธรรมชาติในตัวเองก็คือ โรงงานผลิตปุ๋ยและรถตัดหญ้า  ชาวนาไทยจึงจำต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัวหนักมากยิ่งขึ้น  คนไทยทั้งชาติจึงจำต้องกลายเป็นลูกหนี้คนต่างชาติ  ชนิดที่ว่าดิ้นไม่หลุดมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

                ในช่วงอดีตผ่านมาคนไทยไม่ลืมตัว  ลืมคุณค่าของควายซึ่งให้มาในอดีต จนกระทั่งในปัจจุบันคนไทยนำควายไปฆ่าหรือไปขายเอาเงิน  จึงแสดงให้เห็นว่าการทำนาของไทยคงไม่สูญเสียเงินทองมากกว่านี้  ถ้าเครื่องจักรกลเหล่านั้นคือควาย  ซึ่งนอกจากจะไม่เสียค่าซ่อม  จนกระทั่งพังแล้วซื้อใหม่  แถมแรงงานที่มีชีวิตชีวา  ยังสามารถขยายพันธุ์ให้เพิ่มมากขึ้นได้  นอกจากนั้นแล้วพืชจำพวกหญ้าต่าง ๆ ภายในทุ่งนา  น่าจะได้ทำหน้าที่แทนน้ำมันเชื้อเพลิง  แถมยังเปลี่ยนสภาพมาเป้นปุ๋ยคืนลงสู่ผืนนาได้อีกด้วย

                คนไทยในช่วงก่อน ๆ เคยมีน้ำใจต่อกันรวมทั้งมีเหตุผลในการกระทำ  ไปถึงเรื่องของปัจจัยสี่ทำให้แต่ละคนใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย  ซึ่งช่วงนั้นคนท้องถิ่นยังไม่หลงอยู่กับความฟุ้งเฟ้อมากนัก  หากอยู่ในสภาพที่อาจกล่าวได้ว่า  พอมีพอใช้  ไม่ต้องไปวิ่งกู้หนี้ยืมสินใคร  จึงไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว  นอกจากนั้น  ยังมีพลังใจที่มุ่งมั่นทำงานอยู่กับผืนดินอย่างรู้คุณค่า   ความคิดเป็นสิ่งบ่งบอกถึงทิศทางที่นำไปสู่การสร้างสรรค์หรือทำลายรากฐานจิตใจตัวเอง

                หากสามารถคิดกลับทิศทางยิอมมองเห็นความจริงได้เองอย่างอิสระว่า  ยิ่งน้อมกายลงต่ำอย่างมีความสุข  ย่อมยิ่งรู้สึกได้เองถึงคุณค่าสูงขึ้น  เมื่อนั้นแหละ  สังคมไทยจึงจะกลับฟื้นคืนสภาพปกติเช่นแต่ก่อน  อีกทั้งยังช่วยให้มั่นคงอยู่ได้ตลอดไป 

 

วิเคราะห์เนื้อเรื่อง

                จากเนื้อเรื่องย่อข้างต้น  เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ควาย ซึ่งเป็นสัตว์ที่ถูกใช้แรงงานมาในสมัยอดีต  โดยเฉพาะได้สร้างคุณประโยชน์ต่อชาวนาไทยเป็นอย่างมาก  ซึ่งเนื้อเรื่องได้บอกถึงบรรยากาศในอดีตที่คนไทยมีความผูกพันกับควายในแง่ของการทำไร่ทำนา  ลักษณะคล้าย  ๆ เหมือนกับเป็นตัวช่วยของชาวนาให้ได้ผลิตผลที่เป็นข้าวออกมาให้ได้รับประทานหรือนำไปขาย  อีกทั้งยังไม่สร้างมลพิษให้กับสภาวะแวดล้อม  สร้างประโยชน์ให้กับสภาพดิน  ทำให้ระบบนิเวศไม่ถูกทำลาย  คงสภาวะที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของทั้งมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ  แสดงให้เห็นว่า ควายกับชาวนาไทยมีความผูกพันกันมาตั้งแต่อดีต  และเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สังคมการทำนาไทยแบบดั้งเดิม เกิดความเสื่อมสลายหายไป  เนื่อจากปัจจัยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่า ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นทำให้  คนไทยจำยอมต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม  เพราะมิฉะนั้นอาจจะทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ในระยะยาว  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า  จะรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมาทั้งหมด  จำเป็นที่จะต้องนำรูปแบบหรือวัฒนธรรมต่างชาติมาประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทยให้ได้มากที่สุด  โดยไม่ทำให้วัฒนธรรม  ความผูกพันธ์ระหว่างชาวนาไทยกับควายเกิดความห่างเหิน โดยไม่เอาใจใส่กับควายไทยเลย 

 

แนวคิดที่สำคัญเนื้อหาดังกล่าว

                -ด้านวัฒนธรรมไทย  โดยเนื้อหาทำให้ทราบถึงวัฒนธรรมไทยที่มีความผูกพันกับ  การทำนามาตั้งแต่อดีต  โดยมีชาวนาและควายเป็นตัวขับเคลื่อนให้คนไทยได้บริโภคข้าว  ที่เป็นสินค้าเกษตรกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก  และวัฒนธรรมของคนไทยตั้งแต่อดีตยึดอยู่กับความพอเพียง  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  โดยไม่ยึดติดกับเงินทอง  วัตถุ  ดังเช่นปัจจุบัน  จึงทำให้ทราบถึงมิติด้านเวลาของวัฒนธรรมไทยว่า  มิติในอดีตนั้นคนไทยมีความเป็นเอกภาพความเป็นหนึ่งเดียวมากกว่าในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด  กาลเวลาทำให้สังคมที่เป็นไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพอสมควร

                - ด้านการใช้แรงงานสัตว์ในอดีต  ซึ่งจากเนื้อหาทำให้ทราบถึงสัตว์ที่มีความสำคัญกับชาวนาไทยในอดีต  ก็คือควาย ที่คอยรับฟังคำสั่งจากชาวนาที่ควบคุมให้ควายไถนา  ไปตามวิถีทางที่กำหนด  ซึ่งก็ถือว่าเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของการทำนาของไทย  โดยไม่ถือว่าเป็นการใช้แรงงานสัตว์เพราะสัตว์ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวนา  แต่ถ้าพูดถึงในปัจจุบันนี้อาจจะเป็นการปฏิเสธได้ยากว่า ถ้าใช้ควายไถนาจะไม่ใช่เป็นการใช้แรงงานสัตว์เหมือนดังเช่นในอดีต  จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไม่เห็นควายเดินไถนาในทุก ๆ ที่ของการทำนาในประเทศไทย

                - ด้านชาวนาไทย  ในเนื้อหาทำให้ทราบถึงแนวคึดในความเป็นอาชีพชาวนาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงความคึดของตัวเอง  จากความคึดดั้งเดิม ไปเป็นความคึดในลักษณะใหม่  จากที่เคยมีความผูกผันกับท้องไร่ท้องนาจูงควายไปทุ่งนาทุกเช้า โดยสัมผัสกับธรรมชาติของท้องนาอย่างแท้จริง  กลับกลายความคึดเป็นการทำนาเพื่อหวังผลประโยชน์อันจะนำมาซึ่งหนี้สินล้นพ้น ทำเกิดเป็นปัญหาหนี้สินมากมายในปัจจุบัน รายได้ไม่พอกับรายจ่ายวิถีชีวิตความพอเพียงเลือนหายไปจากความคึดของชาวนาไทย  จากที่เคยทำนาปลูกข้าวไว้กินเฉพาะครัวเรือน  กลับกลายเป็นการทำนาเพื่อสร้างหนี้สินให้กับตัวเอง (ทำนาเพื่อใช้หนี้)  จิตวิญญาณของชาวนาไทยจึงเริ่มเลือนหายไปจากความคึดมากขึ้นทุกที

                -ด้านเทคโนโลยี   เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่ได้นำเอาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาใช้ ลักษณะที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีคือ  การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลกระทบในด้านบวกกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลกระทบในด้านลบ  ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในด้านบวกต่อวิถีชีวิตการทำนาของคนไทยคือ  การนำรถไถมาใช้ในการไถนาแทนควายซึ่งก็มีที้งรถไถขนาดใหญ่และรถไถเดินตามมีผลทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการไถนาไม่ว่าจะเป็นการไถดะ หรือไถแปร ทำให้ง่ายและรวดเร็วต่อการปลูกข้าวไม่ว่าจะเป็นนาดำหรือนาหว่าน  ส่วนผลกระทบที่เกิดในแง่ลบก็คือทำให้ชาวนาไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมารถไถเพื่อมาไถนาของตนเองและในส่วนของชาวนาที่มีรถไถเดินตามหรือรถไถขนาดใหญ่เป็นของตนเองก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นและค่าซ่อมบำรุงรักษาเป็นจำนวนมาก  อีกทั้งยังสร้างมลพิษให้กับอากาศทำให้อากาศในท้องไร่ท้องนาที่บริสุทธิ์เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านลบต่อสิ่งมีชีวิต

          -ด้านการอนุรักษ์บรรยากาศดั้งเดิมของการทำนาในประเทศไทย  จากเนื้อหาผู้แต่งต้องการสื่อให้เห็นว่า ณ ปัจจุบัน ความคิดจิตวิญญาณของชาวนาไทยเริ่มไม่มีความสนใจในคำว่า ความรักใคร่กลมเกลียวความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ภาพเก่าๆ บรรยากาศเก่าๆ ที่เห็นชาวนาเดินจูงควายไปทุ่งนาเห็นหญ้าและพืชต่างๆ ซึ่งมีสีเขียวชะอุ่ม ขึ้นอยู่ริมคันนา และเห็นชาวนากำลังบังคับควายให้ไถนาไปตามวิถีทางที่ชาวนากำหนด  ซึ่งเป็นภาพที่ค่อนข้างที่จะหาดูหาชมได้อยาก  ดังนั้นตามแนวความคึดของผู้แต่งที่น่าจะมีความเป็นไปได้มากที่สุดในปัจจุบันคงจะต้องเป็นการให้การสนับสนุนไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง  เพื่อให้เป็นที่เป็นการอนุรักษ์การทำนาของไทยโดยภาครัฐจะต้องเข้ามาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ปลูกฝังให้ชาวนาในสถานที่แห่งนั้นทำนาตามแบบฉบับดั้งเดิมให้เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เลือนหาย  เป็นตัวแทนของบรรยากาศเก่าๆดั้งเดิมให้คนไทยได้ชื่นชมตลอดไป

                -ด้านการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร  ในปัจจุบันนั้นคนไทยยังมีความต้องการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักในแต่ละวันจึงทำให้ข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญของคนไทย  จุดที่สำคัญคือปริมาณกรเพิ่มขึ้นของประชากรชาวไทยจึงทำให้ความต้องการในการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรเช่นกัน  ดั้งนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตข้าวออกมาเป็นจำนวนมากตามปริมาณการเพิ่มขึ้นของประชากรไทย  ไม่เพียงแต่บริโภคภายในประเทศเท่านั้นการผลิตข้าวยังต้องส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย  จึงเป็นผลทำให้ระบบการทำนาของไทยเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีมาช่วยมากขึ้นเพ่อให้ทันกับความต้องการบริโภคทั้งในและนอกประเทศ

                แนวคึดต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเป็นแนวคึดของผู้แต่งที่มีจุดเด่นในการนำเสนออยู่ตรงที่การใช้เทคนิคในการบรรยายให้เห็นถึงภาพของแนวคึดในเนื้อหา  ที่มีการทำนา ชาวนา บรรยากาศในการทำนาและสัตว์ที่ช่วยในการทำนาคือควาย  การนำเสนอแนวคึดของผู้แต่งมีการไล่เรียงแนวคึดได้อย่างมีความน่าสนใจโดยเริ่มจากการกล่าวถึงสิ่งที่มีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์  ที่เป็นความเชื่อมโยงก่อให้เกิดภาพที่แสดงให้เห็นถึงความผูกผันระหว่างชาวนากับควาย   ที่สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวนาไทยแบบดั้งเดิม และวัฒนธรรมไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์หวงแหน

                อย่างไรก็ตามผู้แต่งไม่ได้นำเสนอแนวคิดเฉพาะเพียงด้านของมุมมองในแง่บวกเท่านั้น  แต่ผู้แต่งได้นำเสนอแนวคิดในด้านที่แย้งกับแนวคึดด้านบวกหรือแนวคิดที่ผู้แต่งอยากให้เป็น ซึ่งผู้แต่งได้เสนอแนวคิดที่แย้งกัน  โดยกล่าวว่า คนไทยถูกคนต่างชาตินำเอากระแสความทันสมัยเข้ามาหลอกล่อให้จำต้องสูญเสียเงินทอง และความรักความผูกผันอยู่กับท้องถิ่นซึ่งเคยมีอยู่อย่างลึกซึ้งเป็นส่วนที่ทำให้มองเห็นภาพว่าการทำนาของไทยได้นำเอาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาสนับสนุน ในการทำนาให้มีความสะดวกรวดเร็วและได้ผลผลิตตรงตามความต้องการ

 

วิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอ 

กลวิธีในการนำเสนองานเขียนของผู้เขียนผู้เขียนได้ใช้มุมมอง โดยผ่านการเล่าเรื่องจากการใช้สรรพนามแทนตัวผู้เล่าที่ใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งแทนตนเอง  และแทนตัวสัตว์รวมทั้งมีการสอดแทรกบทร้อยกรองให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำเสนอความหมายทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  ตัวอย่างเช่น

  ฉันมีความรู้สึกอยู่ในใจว่า  มันน่าจะเป็นบทเรียนให้มนุษย์แต่ละคนทราบเรื่องนี้  มีโอกาสหวนมาทบทวนตนเอง  ซึ่งย่อมมีผลสอนใจให้รู้ว่า  อย่าว่าแต่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองเลย แม้แต่สัตว์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตและจิตใจ  จึงไม่ควรคึดข่มเหงรังแก  หากควรนึกถึง หัวอกเขา หัวอกเรา รวมทั้งบุญคุณ  ซึ่งตัวเองได้รับประโยชน์จากเขาเข้าไว้บ้างเพื่อให้อยู่เป็นที่พึ่งพาอาศัยกันต่อไปนานๆ    การนำเสนอด้วยบทร้อยกรอง

 

เพื่อนกินสิ้นทรัพย์แล้ว           แหนงหนี

หาง่ายหลายหมื่นมี                 มากได้

เพื่อนตายถ่ายแทนซี               วาอาตม์

หายากฝากฝีไข้                       ยากแท้  จักหา

หมายเลขบันทึก: 267950เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2009 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท