จัดการผลการวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ


...พัฒนาองค์กรและเครือข่ายแบบพหุภาคีในอำเภอ คือ โรงพยาบาลอำเภอ+มหาวิทยาลัย+เครือข่ายคนทำงานแบบอาสาเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะ อสม.+ ปัจเจกและกลุ่มประชาคมสร้างความรู้เพื่อสุขภาวะของท้องถิ่น อาจจะเรียกว่าเป็นรูปแบบการทำงานเชิงพื้นที่แบบ District Hospital+Urban/Local Community+University Partnership ....

             โรงพยาบาลอำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  มีแนวคิดในการพัฒนาองค์กรและเครือข่ายบริการสุขภาพในพื้นที่ คือ สถานีอนามัยและเครือข่าย อสม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้และวางแผนปฏิบัติการ อย่างมีส่วนร่วม (Participatory Planning &Management for Quality Improvement Promotion)ทั้งเพื่อสร้างความสุขให้แก่เจ้าหน้าที่ พัฒนาคน พัฒนาเครือข่ายการจัดการสุขภาพเชิงพื้นที่ระดับอำเภอซึ่งบูรณาการทั้งการปรับปรุงคุณภาพในระบบบริการสุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพทั้งชุมชน  

             ทีมของโรงพยาบาลอำเภอ มาพัฒนาแนวคิดและวางแผนร่วมกันกับทีมนักวิจัยของสถาบันที่ผมทำงานอยู่ และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ทำงานวิจัยแนวขับเคลื่อนประชาคมในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องนับแต่บ้านเราเจอวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา  ได้แนวทางที่จะช่วยกันเรียนรู้จากการปฏิบัติและพัฒนาตนเอง น่าสนใจมากทีเดียว

  • โรงพยาบาลมีทุนทางสังคม และริเริ่มการสร้างการมีส่วนร่วมทางสุขภาพในอำเภอไว้มากมายหลายขอบเขต  ตัวผู้อำนวยการ ซึ่งคิดว่าควรจะกล่าวถึงอย่างเป็นเครดิต คือ นายแพทย์วัฒนา  เทียมปฐม เป็นทั้งลูกหลานในพื้นที่ซึ่งกลับมาอยู่บ้านเกิดของตนเอง  เป็นลูกหลานของตระกูลบัณฑิตเก่าแก่ที่ได้รับความเคารพนับถือจากชุมชนหลายด้าน เป็นคนที่จับเรื่องท้องถิ่น  การศึกษา  วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรียกว่าเป็นแพทย์แบบมีความเป็นบูรณาการอยู่ในตนเองอย่างยิ่ง ลงมาเป็นผู้จุดประกายด้วยตนเองเลย
  • รูปแบบที่จะพัฒนาให้เข้มแข็งและยั่งยืนในระดับอำเภอ คือ การพัฒนาองค์กรและเครือข่ายแบบพหุภาคีในอำเภอ คือ โรงพยาบาลอำเภอ+มหาวิทยาลัย+เครือข่ายคนทำงานแบบอาสาเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะ อสม.+ ปัจเจกและกลุ่มประชาคมสร้างความรู้เพื่อสุขภาวะของท้องถิ่น อาจจะเรียกว่าเป็นรูปแบบการทำงานเชิงพื้นที่แบบ District Hospital+Urban/Local Community+University Partnership  ประมาณนี้ ซึ่งถ้าหากถอดบทเรียนออกมาได้ในระยะต่อไป  น่าจะให้แนวทางการทำงานสุขภาพในเชิงพื้นที่ของชุมชนที่มีความเปลี่ยนแปลงสูงและถูกห้อมล้อมด้วยความทัยสมัยรอบด้าน ได้มากทีเดียว
  • มีกระบวนการวิเคราะห์และถอดบทเรียนขององค์กร ร่วมกับการใช้ผลการวิจัย ที่มีการดำเนินการในพื้นที่ ทั้งของชาวไทย กลุ่มคนท้องถิ่น และนักศึกษาต่างประเทศที่มาเรียนที่สถาบัน เป็นข้อมูลป้อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้และวางแผนด้วย ทำให้เป็นการริเริ่มที่ผสมผสานไปกับการจัดการผลการวิจัย มาสู่การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเชิงพื้นที่ชุมชนระดับอำเภอ
  • เน้นการปรับวิธีการและเครื่องมือในการขับเคลื่อน ที่ไม่น้อยและไม่มากจนเกินไปเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการคิดและทำงานด้วยกันของคนหลายระดับ ทั้งชาวบ้าน หมออนามัย เครือข่ายอาสาสมัคร และบุคลากรทางสุขภาพของอำเภอ  

        ที่อำเภอพุทธมณฑลนี้  มีการเคลื่อนไหวทีละเล็กละน้อยอย่างนี้มาอย่างต่อเนื่องนับแต่เริ่มก่อตั้งเป็นอำเภอเมื่อประมาณปี 2537-2539 มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้สนับสนุนการใช้กระบวนกวิจัย ขับเคลื่อนการลุกขึ้นมามีส่วนร่วม  ในการสร้างสุขภาวะของชุมชน และเป็นเครือข่ายสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่นในระดับอำเภอ ด้วยการมีส่วนร่วมของกลุ่มปัจเจก ที่หลากหลายและรอบด้านที่สุดของชุมชนระดับอำเภอของประเทศ  การบูรณาการเข้ากับทุนทางสังคมและการริเริ่มแบบก้าวเล็กๆครั้งนี้ น่าจะให้บทเรียนและรูปแบบการทำงานแบบใหม่ๆจากชุมชนเอง.      

หมายเลขบันทึก: 26647เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นกำลังใจให้ค่ะ สู้ สู้

รักและเคารพ

 

อยากได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมด้วย

ถ้าครั้งต่อไปมีการทำกระบวนการกลุ่มช่วยแจ้งให้ทราบด้วยจะได้หาวันลาพักผ่อนไปเข้าร่วมสังเกตุการณ์จะได้นำประสบการณ์มาใช้ในถิ่นที่ทำงาน

บ้านเกิดตนเอง

และขอเป็นกำลังใจให้การทำงานบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

รักและเคารพ

ผู้เข้ารับการอบรมเรื่องข้อมูลท้องถิ่นที่โรงแรมภูมิไทยการ์เด้น จ. แพร่  เมื่อ  28-28 มิ.ย 2549

ขอบคุณคุณอัมพรที่ทดลองแวะเข้ามาเยี่ยมในบล๊อกนี้  เครือข่าย  นสส  แพร่  ยังคงคึกคักอยู่นะครับ  กลับไปหาประสบการณ์และได้แรงบันดาลใจอะไรใหม่ๆกลับมา  ก็นำมาแบ่งปันกันบ้างนะครับ

ทางคณะทำงานของ รพ.พุทธมณฑล  ได้พยายามทำงานให้ต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนองค์กรและเครือข่ายระดับอำเภอ  ผมเองก็เอาใจช่วยและยินดีมากเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมมือ  ส่งเสริมให้ลองเรียนรู้จากการลองทำกันทั้งอำเภอ  ลองแก้ปัญหาระดับที่มันซับซ้อนกว่าสิ่งที่เคยประสบกันเพียงองค์กรเดี่ยวๆ ทางหนึ่งก็เรียนรู้ และอีกทางหนึ่ง  ก็จัดว่าเป็นคนในสังคมท้องถิ่นของอำเภอพุทธมณฑลกับเขาเหมือนกัน

ทางทีมพัฒนาองค์กรและเครือข่ายสุขภาพ รพ.-ชุมชน บอกว่า  ตอนนี้กำลังให้ทุกคน  พยายามเขียนถ่ายทอดประสบการณ์ออกมา  ซึ่งรวมถึงทีมพวกเรา-วิทยากรกระบวนการ  ที่พากันไปจัดกระบวนการให้ด้วย  จากนั้น ก็จะรวบรวมแล้วให้ผมช่วยสังเคราะห์และจัดกระบวนการพูดคุย  ถอดบทเรียนเพื่อยกระดับประสบการณ์หลังกลับมาทำงาน  ต่อไปอีก  ดูแล้วก็พอเห็นภาพว่า  ทำอย่างนี้สัก 2-3 คงได้เรื่องแน่ๆ เพราะกระบวนการอย่างนี้  มักสร้างคน ทำให้เกิดทีมใหม่ๆ และค้นพบปัจเจกที่มีความเก่ง  ซึ่งเห็นความเป็นตัวของตัวเองและเชื่อมโยงตนเองเข้ากับองค์กร คนใหม่ๆ ได้มากขึ้น  องค์กรจะเกิดภาวะผู้นำเป็นกลุ่มที่หลากหลายมากขึ้นโดยมีคนสามารถริเริ่มและเป็นเจ้าภาพกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองได้มากขึ้น   

ถ้ากลับบ้านก็หาโอกาสแวะไปแลกเปลี่ยนกับพวกเราบ้างนะครับ

และถึงแม้ไม่ค่อยได้กลับบ้าน  ก็เล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับชุมชน-บ้าน ของคุณอัมพร  ในด้านที่เป็นทุนทางสังคมของชุมชน  ที่พวกเราซึ่งอยู่ทางพุทธมณฑล  จะได้เรียนรู้แง่มุมใหม่ๆ  มาทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีพลังมากขึ้น  ก็ดีเหมือนกันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท