beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

บทนำ ภาคต้น/ปีการศึกษา ๒๕๕๒


เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต เก่งพิชิตปัญหา ทำอย่างไร

   ปีการศึกษา 2552 นี้ ผมมารับผิดชอบสอนรายวิชา 258101 วิชาชีววิทยาเบื้องต้นหรือ Introductory BiologyPart Animal ติดต่อกันเป็นปีที่ ๒ (หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2546) ฉลองช่วงเวลาที่สอนมาได้ ๒๒ ปี

   บทนำ : (ชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน) วิชานี้มี ดร.สุนีย์ สีธรรมใจ เป็นผู้ประสานงานรายวิชาและ ผศ.สมจิตต์ ทินกระโทก (หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา) เป็นผู้บรรยายหลัก

   ปีนี้แปลกกว่าปีก่อนๆ คือ เราแบ่งกลุ่มนิสิต ออกเป็น ๒ section ใหญ่ ซึ่งจะต้องเพิ่มภาระงานสอนให้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบคือสอนเหมือนกันและออกข้อสอบเหมือนกัน แต่เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นกลุ่มเล็กลงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทางภาควิชาชีววิทยาจึงได้ตกลงจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้

    ส่วนภาคปฏิบัติการก็มีการแยกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก็จะมีอาจารย์ควบคุม ๑ ท่าน และพี่ TA (Teaching Assistant) อีก ๑ คน กลุ่มหนึ่งสอนประมาณ 30-50 คน มีประมาณ 16 กลุ่ม

   สำหรับอาจารย์ผู้สอน Lecture หลัก ได้แก่

  1. ผศ.สมจิตต์ ทินกระโทก (cell,genetics & Evolution)
  2. ดร. ปราณี (botany : diversity, Plant structure & function)
  3. อ. สมลักษณ์ (Zoology : Animal diversity, Animal structure & function)
  4. ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ (Ecology)

    ปัญหาที่พบ ในแต่ละปีที่ผ่านมาสำหรับวิชาพื้นฐาน ตามความเชื่อของผมคือ

  1. นิสิตส่วนมาก ถูกฝึกมา ให้เรียนแบบ teaching mode คือ มาเข้าห้อง Lecture แล้วก็จดเนื้อหาวิชาผ่าน Powerpoint เมื่อไม่ทัน ก็ขอ Powerpoint นั้นจากอาจารย์ หรือไม่อาจารย์ก็ต้องเตรียม sheet มาให้ วิธีการเรียนแบบนี้เปรียบเสมือน "สอนกินข้าว" แบบป้อนให้กิน (ตรงนี้นิสิตควรไปหาเอกสารที่เป็นหนังสือเรียน ที่ภาควิชาชีววิทยา ทำขึ้นมาเพื่อช่วยในการเรียนรู้)
  2. ผมมาคิดว่า วิธีสอนให้กินข้าวนี้ไม่ค่อยดี สู้สอนให้ "หาข้าวกินเอง" ไม่ได้ การสอนแบบหาข้าวกินเองนี้ ก็คือ สอนแบบ Learning Mode นั่นเอง คือสอนเมื่อคุณพร้อมที่จะเรียน

    • เนื่องจากความพร้อมและระยะเวลาการทำความเข้าใจของแต่ละคนไม่เท่ากัน การสอนโดย Powerpoint ในห้องนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไร
    • เราจึงมีทางเลือกอีกอย่างหนึ่งคือ ให้เรียนผ่านสื่อ ICT ที่ผมกำลังพยายามทำให้ โดยทุกคนเริ่มต้นที่เท่าๆ กัน หาเวลาไปใช้ห้องคอมพิวเตอร์ที่คณะฯ, สำนักหอสมุด, เครื่องส่วนตัวหรือเครื่องของเพื่อนฯ และสามารถ copy เนื้อหาไปไว้ ใน word เพื่ออ่านได้
    • นอกจากนั้นก็อ่านเสริมจากหนังสือเรียนวิชา Biology ทั่วไป
    • สำหรับในห้องเรียน เรามีไว้เพื่อทบทวนเนื้อหา และทำกิจกรรมกันบ้าง
    • นอกจากนั้นเราก็จะหาบทเรียนที่เรียกว่า "สอนแบบไม่สอน" มาเล่าสู่กันฟัง ในบรรยากาศสบายๆ ในห้องเรียน
  3. ปัญหาของห้อง Lecture เราพบว่าคนที่อยู่ด้านหลังๆ ของห้องจะมองไม่เห็นเนื้อหาใน powerpoint ซึ่งอาจทำให้จดไม่ทัน และพลอยทำให้ไม่อยากเรียนด้วย ต้องพึ่งเนื้อหาใน Sheet ซึ่งแต่ละคนก็จะต้องไปถ่ายเอกสาร ประมาณว่าคนละ ๕๐ หน้าหรือ ๒๕ แผ่นสำหรับผู้สอน ๑ คน มีผลทำลายสิ่งแวดล้อม เราพยายามลดการใช้กระดาษ หรือ paperless ลง โดยให้นิสิตไปศึกษาผ่านสื่อ ICT ของใครก็ได้ โดยดูจาก Outline ที่แจกให้เป็นหลัก (แจกในชั่วโมงปฏิบัติการเป็นชั่วโมงแรก) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อชินกับระบบเดิม เรามาพบกันครึ่งทาง โดยผู้สอนเตรียมเนื้อหาให้ จะได้ลดเวลาในการเรียนรู้ลงบ้าง
  4. ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ระบบการเรียนการสอนแบบปัจจุบัน นิสิต "เรียนเพื่อสอบ มิใช่เรียนเพื่อเอาความรู้" ซึ่งจะโทษนิสิตอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมหรือบริบท มันทำให้เป็นเช่นนี้นั่นเอง
  5. การกำหนดกรอบ ต่างๆ มากมาย ก็ทำให้อึดอัด บรรยากาศของการเรียนเคร่งเครียดเกินไป กระแส Teaching mode แรงกว่า Learning Mode
  6. ปัญหาผู้เรียนแบบเรื้อจ้างเรือโยง คือ เรียนกันครั้งหนึ่งตั้ง ๕๐๐ ถึง ๑๐๐๐ คน ก็มีปัญหาเหมือนกัน การ Lecture หรือ ปาฐกถา แบบมากๆ โดยใช้คนเพียงคนเดียวนี้ ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง  ในเทอมนี้เราได้แก้ปัญหาไปเปลาะหนึ่ง คือ ลดจำนวนคนเรียนเหลือ Class ละ ๓-๔๐๐ คน แบบที่ได้เกริ่นมาแล้วในตอนต้น        

       เขียนแบบบ่นๆ มามากพอแล้ว การบ่นอาจมีประโยชน์บ้าง แต่บ่นมากไม่ดี เพราะสมองจะคิด negative ไม่สร้างสรรค์อะไร ในเมื่อเป็นมนุษย์ อุปสรรคหรือปัญหาคือบททดสอบที่ดีที่สุด

       การคิด Positive จะดีกว่า ผมเลยออกแบบกระบวนการเรียนการสอน แบบที่นิสิตจะได้พบในห้องเรียนครับ (เฉพาะส่วนที่ อ. beeman สอน คือ Part Animal)

       นิสิตลองสังเกตวงจรนี้ (ที่มา ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด มูลนิธิสคส.)

วงจร Learning Mode 

          โดยปกติ ในกระบวนการเรียนการสอนแบบเดิม เรามุ่งไปที่ตัว "องค์ความรู้-Body of Knowledge" โดยไม่สนใจ "กระบวนการเรียนรู้-Process of Knowing" และมันก็จะไม่เกิด "การเรียนรู้-Learning" เลย เราจึงมีความรู้สึกว่า

          "สิกขา ปรมา ทุกขา" การศึกษาเป็นทุกข์อย่างยิ่ง.... เรียนแล้วเป็นโรคซึมกะทือกันหมด (ตามศัพท์ของท่านอาจารย์หมอประเวศ)....เมื่อไร การศึกษาจะเป็น "สิกขา ปรมา สุขา" กันบ้าง ทางมช. เขาก็มีการสอนแบบ "Edutainment" กันแล้ว แต่ของผมจะเรียกการสอนแบบ "เฮฮาศาสตร์" คือ เรียนแบบสนุกและมีความสุขแต่ให้ได้ศาสตร์ครับ....

          ความจริงการสอนแบบนี้ มันก็ใกล้เคียงกับ "จิตตปัญญาศึกษา (comtemplative Education)" แต่มันขาดบริบทของการเรียนแบบ "เรียนรู้จากข้างใน" เพราะกลุ่มใหญ่เกินไปตั้ง ๓-๔๐๐ คน ถ้าจะทำให้ได้ต้องใช้ผู้สอนเพิ่มขึ้นอีก ๑๕-๒๐ คน ซึ่งเป็นไปไม่ได้

        ยุคท่านอธิการบดี ศ.ดร.สุจินต์ จินายน (อธิการบดีรอบ ๒) ท่านอยากเห็นนิสิตใหม่จบไปเป็นบัณฑิตแบบ "เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต เก่งพิชิตปัญหา"  ซึ่งสามารถย่อออกมาเป็น ๓ เรื่องด้วยกันคือ "การครองตน การครองคน และการครองงาน"

        การครองตน (เก่งครองชีวิต) นั้นต้องยึดหลักธรรม "ฆราวาสธรรม ๔" ซึ่งหมายถึงธรรมะสำหรับการเป็นฆราวาสที่ดี เหมาะสำหรับการครองตนเป็นฆราวาส ประกอบด้วย

  1. สัจจะ หมายถึง ความซื่อสัตย์หรือความจริงใจต่อกัน เริ่มตั้งแต่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง นับถือตัวเอง (self respect) รวมทั้งซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น เช่น สามี ภรรยา หรือ เพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อร่วมหอพัก ตลอดจนเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง เป็นต้น
  2. ทมะ หมายถึง การฝึกตนเพื่อให้ข่มใจตนเองได้ เช่น บังคับตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัย ตื่นแต่เช้า ออกกำลังกาย ไม่มั่วสุมการพนัน ไม่หลงมัวเมาในอบายมุข ไม่ไปเที่ยวกลางคืน แต่ถ้าเราทำไปเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เพียงครั้งหนึ่ง ก็พออนุโลมสำหรับตัวเองได้
  3. ขันติ หมายถึง ความอดทน อนกลั้น ต่อสิ่งต่างๆ ที่จะมายั่วยวนต่อการทุจริตต่างๆ เช่น มีคนเอาเงินมาให้เพื่อแลกกับสิ่งต่างๆ  อดทนความยั่วยวนว่าเพื่อนมีของสิ่งนี้แล้วเราต้องมีบ้าง อดทนต่อการทำงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
  4. จาคะ หมายถึง การเสียสละแบ่งปัน มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เช่น เรามีของอย่างเดียวกันหลายสิ่ง เราก็แบ่งปันให้ญาติ เพื่อนฝูงได้ใช้บ้าง การแบ่งปันนี่ต้องพอเหมาะพอควร อย่าให้เกิดลักษณะ "เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด" นะครับ

      การครองคน (เก่งคน)  นั้นต้องยึดหลักธรรม "สังคหวัตถุ ๔"  หมายถึง ธรรมะซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เป็นหลักของ "การครองใจคน" ประกอบด้วย

  1. ทาน หมายถึง การให้ เป็นการเสียสละ แบ่งปันทรัพย์สินสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังเราไม่ให้เป็นคนที่เห็นแก่ตัว และลดความตระหนี่ถี่เหนียว
  2. ปิยวาจา หมายถึง การพูดจาด้วยถ้ายคำที่ไพเราะ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่เหยียดหยามดูหมิ่นผู้อื่น (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ)
  3. อรรถจริยา หมายถึง การสงเคราะห์ทุกชนิด หรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เช่น การเขียนบันทึกแบบให้ความรู้นี้ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นที่มาแสวงหาความรู้
  4. สมานัตตา หมายถึง การประพฤติตนเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย เช่นนี้ เหมือนเรามีนิสัยเป็นกันเอง คบใครก็คบง่าย และเขาก็วางใจเราได้ง่ายเหมือนกัน

     การครองงาน (เก่งงาน เก่งคิด เก่งพิชิตปัญหา) หรือ การเรียนนั้น เราต้องใช้หลักธรรมของ "อิทธิบาท ๔ " หรือคุณเครื่องแห่งความสำเร็จครับ ซึ่งประกอบด้วย 

  1. ฉันทะ มีความพอใจรักใคร่ในวิชาที่เรียน (ผู้สอนมีอทธิพลด้วยเหมือนกัน) หรือพยายามเสมือนว่ามีฉันทะก็ยังดี
  2. วิริยะ มีความเพียรพยายามหมั่นศึกษา และเรียนให้เป็น
  3. จิตตะ จิตต้องมีสมาธิพอที่จะ "จับจ่อ จดจ้อง จริงจัง ตั้งใจ" อย่างชนิดที่ใครๆ ก็สู้เราไม่ได้  เราพบว่า Capture (จับประเด็น) สำคัญกว่า Lecture (จดคำบรรยาย)
  4. วิมังสา ใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณา ทุกขั้นตอน ก่อน "คิด พูด ทำ" คือมี "สติ-sati" นั่นเอง 

           นอกจากนั้น เราต้องมี "หัวใจนักปราชญ์" (หัวใจใฝ่รู้) ด้วย ประกอบด้วย

  1. สุ-สุตะ ฟัง
  2. จิ-จินตะ คิด
  3. ปุ-ปุจฉา ถาม
  4. ลิ-ลิขิต เขียน

          ไม่ต้องอธิบายก็พอเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่คุณคิดว่า "ข้อไหนสำคัญที่สุด" ในความคิดของคุณ....

      ต่อไปเรามาว่ากันด้วยเรื่อง "วิธีเรียนวิชาชีววิทยา" ผมขอเสนอวิธีการเรียน ๓ แบบด้วยกัน ซึ่งควรใช้ทั้ง ๓ แบบ ร่วมกัน

  1. เรียนโดยใช้เครื่องมือ Etymology
  2. เรียนโดยใช้เครื่องมือ Depict
  3. เรียนโดยใช้เครื่องมือ Mind Map

       (เสริมทักษะด้วยวิธีการ Capture=จับประเด็น, มากกว่า Lecture=จดคำบรรยาย)

ตัวอย่างแรก...เรียนโดยใช้เครื่องมือ Etymology....

       ผมพยายามสอนให้นักเรียน (นิสิต-นักศึกษา) ได้เรียนรู้วิชาชีววิทยาด้วยความเข้าใจแล้วจึง "จำได้" จากความเข้าใจของตัวเอง ลองยกตัวอย่างมาสักเรื่องหนึ่ง เรื่องศัพท์ทางชีววิทยา หรือ ที่บางคนเรียกว่า "technical term" ผมก็เอาไปบูรณาการกับวิชาภาษาอังกฤษว่าด้วยเรื่องคำศัพท์ หรือ Vocabulary

    ในภาษาอังกฤษมีวิชาหนึ่งเรียกว่า "Etymology" แปลเป็นไทยว่า "นิรุกติศาสตร์" หรือ วิชาว่าด้วยรากศัพท์   ซึ่งเขาจะมีการเพิ่มศัพท์ให้มากขึ้นดังตัวอย่าง

     

prefix 

+ Root + 

suffix 

Bio

 degrad

 able

 สิ่งมีชีวิต  ทำให้เล็กลง  ที่สามารถ
 ที่สามารถ  ย่อยสลายได้  โดยสิ่งมีชีวิต
  • สีแดง คือ หน้าที่ของคำ
  • สีเขียว คือ ตัวอย่างคำและการแปลโดยรูปศัพท์
  • สีน้ำเงิน คือ การแปลตามความหมาย

     ต่อไปก็มาลองดูตัวอย่างอื่นๆ กันครับ โดยดูจาก Link ต่อไปนี้

  1. Etymology : Benign and Malignant
  2. Etymology : True or False
  3. Etymology : Eat (Biology)
  4. Etymology : Gourmet (กูร-เม่) = นักกินนักดื่ม

ตัวอย่างที่สอง...เรียนโดยใช้เครื่องมือ Depict....

 

      Depict : เป็นการเรียนโดยการดูภาพและคำบรรยายภาพ คำว่า "Depict" มาจากคำ 2 คำ คือ คำว่า "Describe" (บรรยายหรือพรรณนา) และ "Picture" (รูปภาพ) รวมความหมายว่า "พรรณนาด้วยภาพ" นั่นเอง หมายความว่า ภาพ 1 ภาพ แทนอักษรได้เป็นล้านตัวอักษร แล้วแต่ว่าเราจะตีความว่าอย่างไร อย่างเช่นภาพตัวอย่างเซลล์ (สัตว์) ดังต่อไปนี้ (แทนคำบรรยายได้สัก 3-4 หน้ากระดาษ A4 เป็นอย่างน้อยครับ)

  1.  
   
   
 

 คลิกขยายภาพ

 
     
  • สำหรับหนังสืออ่านประกอบ ผมใช้เล่มนี้ครับ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖)

 

หนังสืออ่านประกอบ

 

ตัวอย่างที่สาม...เรียนโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping หรือ แผนที่ความคิด...

 

ตัวอย่าง mind mapping
ตัวอย่าง Mind mapping เรื่อง "การสร้างพลังแห่งการเรียน  Building Learning Powerรู้"

 แผนที่ความคิด เป็นเครื่องมือช่วยในการ capture ความรู้อย่างหนึ่ง มีขั้นตอนสังเขปดังนี้

  1. เริ่มต้นหัวเรื่องหลักของการเรียนรู้ (Main Idea) ที่กึ่งกลางหน้ากระดาษ (A4 หรือใหญ่กว่า) ฝึกร่างด้วยดินสอก่อน (แล้วค่อยลงด้วยปากกาอย่างน้อย 3 สี)
  2. ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ ในการสื่อผ่านแผนที่ความคิดให้มากที่สุด เพราะรูปภาพจะทำให้จดจำได้ง่าย
  3. ลากเส้นออกจากจุดศูนย์กลาง ความคิดหลัก (Ideas) ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ลักษณะเหมือนกิ่งไม้ใหญ่แตกสาขา
  4. เขียนหัวข้อย่อยต่อจากความคิดหลัก พร้อมวาดรูปที่เกี่ยวข้องประกอบ
  5. ขีดเส้นย่อยออกจากความคิดหลัก เป็นกิ่งๆ คล้ายกิ่งต้นไม้
  6. เขียนหัวข้อย่อยๆ ลงไปอีก พร้อมวาดรูปที่เกี่ยวข้องประกอบ
  7. ทำซ้ำตามข้อ 3-6 จนเนื้อหาครบสมบูรณ์

Mind Mapping เรื่อง "Global warming"
ตัวอย่าง Mind mapping เรื่อง "Global warming"

 

หมายเลขบันทึก: 264875เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2009 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มาศึกษาแนวทางการจัดเรียนการสอนชีววิทยา(สัตว์)จากอาจารย์ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับตนเอง
  • ขอบคุณมาก..และจะติดตามตอนต่อไปครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

มาเรียนรู้วิธีการสอนของอาจารย์ค่ะ และขอนำบางส่วนไปใช้แนะนำตัวเอง และนักศึกษาด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

เรียน ท่านธนิตย์ ครูเพื่อศิษย์

  • ความจริง copy มาจากครั้งก่อน แล้วนำมา Update ให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ขึ้นครับ ครั้งนี้มีเรื่อง "ครองตน ครองคน ครองงาน" แทรกเข้ามาด้วย
  • ต้องการ Share ให้นิสิตอ่านครับ
  • แต่คน Gotoknow ได้รับประโยชน์ด้วยก็ยินดีครับ

เรียน ท่านอาจารย์ paew

  • แบบที่เขียนบอก อ.ธนิตย์ คือ ตั้งใจเขียนให้นิสิตอ่าน แต่มีคน Gotoknow เข้ามาอ่านแล้วใช้ประโยชน์ก็ยินดีครับ
  • คิดถึงมากครับ..

คุณ องุ่นเปรี้ยว

  • หวังว่าคงได้ประโยชน์และเรียนรู้บ้างนะครับ
  • LP นี่ความหมายลึกซึ้งท่าน Learning Process
  • ทางหมอใช้ย่อ Lumbar Puncture ส่งเข้าไขสันหลังเลย ท่าน

เรียน ท่านอาจาย์ JJ

  • Learning Process นี่ ผมน่าจะมองเห็นกระบวนการเรียนรู้ของศิษย์วิชาการเลี้ยงผึ้งครับ
  • ส่วน Lumbar Puncture เดาจากศัพท์ น่าจะมีรู้ที่บริเวณกระดูก Lumbar ที่หมอจะฉีดยาเข้าไป..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท