เขียนบทความวิจัยในแบบพึ่งตัวเองของ นิสิต มมส.


การฝึกประสบการณ์ด้วยตัวเอง
ช่วงที่ทำวิจัยของนิสิตนักศึกษา จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยดูแลตลอด แต่ถ้าไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลล่ะ จะดูแลตัวเองได้หรือไม่

ในการส่งตรวจรูปแบบ บทนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาโท มมส. หลังจากสอบปากเปล่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องส่งวิทยานิพนธ์ฉบับแก้ไข, แบบรายงานผลการสอบปากเปล่า, Article ทุกเรื่อง สำหรับนิสิตที่มีงานวิจัยต่างประเทศในบทที่ 2 และให้ส่งบทความวิจัย 1 ชุด

พูดถึงบทความวิจัย เพื่อร่วมรุ่น ทำหน้างงๆ บทความอะไรอีกหรือ แล้วก็ร้องอ๋อ เมื่อรู้ว่า ที่จริงคือ บทความที่อยู่ในวารสารวิชาการต่างๆนั่นเอง

สำหรับนิสิตปริญญาโท จาก สสจ.ตราด ซึ่งกลับไปทำงานหลังจากเสร็จภารกิจเรื่องเรียนแล้ว เมื่อส่งรูปเล่มเสร็จ ยังไม่ได้ส่งบทความวิจัย จึงต้องขวนขวายช่วยเหลือตัวเอง เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ว่างในช่วงปิดเทอม เม.ย.นี้พอดี

ค้นหารูปแบบการเขียนบทความรายงานผลวิจัย ในเวบไซต์ของทางบัณฑิตวิทยาลัย มมส.มีรายละเอียดการเขียน ชนิดและขนาดตัวอักษรที่ใช้ เป็น Browallia NEW ชื่อเรื่อง font 16 นอกนั้น font 14 จุด มีรายละเอียดการจัดหน้ากระดาษมีระยะห่างจากขอบซ้าย 3 ซม. ส่วนด้านขวา บน ล่าง 2 ซม. จำนวนหน้า ไม่ควรเกิน 8 หน้า หลังจากรวมตาราง รูปภาพเข้าไปแล้ว เอกสารอ้างอิง ขึ้นอยู่กับชนิดของบทความ ถ้าเป็นบทความวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ้างอิงตามระบบแวนคูเวอร์ หากเป็นด้านสังคมศาสตร์ ให้เขียนตามระบบ APA (American Psychological Association ฉบับปรับปรุง 2004)

เมื่อคนจาก สสจ.ตราดต้องพึ่งตัวเอง เลยต้องเปิดดูรูปแบบ และจัดการย่อเนื้อหา thesis กว่า 80 หน้า ให้เหลือ 8หน้าให้ได้ ซึ่งจะมีชื่อเรื่อง ภาษาไทย-อังกฤษ ชื่อผู้นิพนธ์ ที่จะต้องระบุหน่วยงานสังกัด เบอรโทร, E-mail บทคัดย่อ ไทย-อังกฤษ พร้อมคำสำคัญ บทนำ ระเบียบวิธีวิจัย ผลการทดลองและวิจารณ์ สรุป กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง

คนจาก สสจ.ตราด ท่านมีความสามารถในการอธิบายได้อย่างละเอียดยิบ เมื่อปรับเนื้อหาให้เป็นบทความ ลองอ่านดูแล้ว ไม่ค่อยจะเข้าใจ จึงต้องตัด ต้องเติม แต่ก็ยังเกิน 8 หน้าอยู่ดี

ถ้าเป็นนิสิตคณะอื่นๆ หลังจากเขียนบมความวิจัยออกมาแล้ว แค่นำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้ว แต่กรณีนี้ ต้องพยายามปรับแก้ไขด้วยตัวเอง เมื่อเดินทางมาส่งงานที่ มมส. จึงมีพรรคพวก และอาจารย์ทานอื่นๆช่วยดูเนื้อหาให้อีกที กว่าจะปรับให้บทความอยู่ในจำนวน 8 หน้าได้ ต้องใช้ความพยายามอยู่พอสมควร


ก่อนหน้านี้ เมื่อนิสิตส่งวิทยานิพนธ์ ฉบับสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องส่งบทความวิจัย เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร ทำให้นิสิตหลายคน ไม่มีโอกาสได้นำเสนอผลงานในวารสารวิชาการเลย อาจารย์ที่ปรึกษาหลายท่านที่ดูแลเอาใจใส่นิสิตมากหน่อย ก็จะมอบหมายให้นิสิตไปเขียนบทความวิจัยมาให้ เพื่อจะส่งลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่อไป แต่นิสิตส่วนใหญ่ ไม่มีโอกาสได้ทำในส่วนนี้

เพื่อมาตรฐานทางวิชาการในอนาคต การกำหนดให้ส่งบทความวิจัยพร้อมรูปเล่ม Thesis ฉบับสมบูรณ์นับตั้งแต่ ปีการศึกษา Summer 2548 เป็นต้นไป คราวนี้ นิสิตหลายท่านจะมีประสบการณ์ทางวิชาการมากขึ้น

ถึงแม้นิสิตจาก สสจ.ตราด จะต้องพึ่งตัวเองในการเขียนบทความวิจัย แต่นี่ก็เป็นการฝึกประสบการณ์ด้วยตัวเอง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ (Tags): #ส.ม.1#มมส
หมายเลขบันทึก: 26445เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2006 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ดีใจด้วยครับที่พึ่งตนเอง
  • อยากให้ผลิตบทความดีๆออกมาหลังจากเรียนจบแล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท