การฟังสามมิติ ฝึกสติ สมาธิด้วย


การฟังที่มีประสิทธิภาพ

            ผมอ่านพบเทคนิคการฟัง 3 มิติ  จากข้อเขียนของ   ดร.มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ    

            อ่านแล้วประทับใจครับ  คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องเดียวกับสุนทรียสนทนา   หรือ การฟังอย่างลึกซึ้ง    ลองอ่านดูนะครับ

 

              ในการบริหารงานปัจจุบัน เราจะได้ปฏิสัมพันธ์กับคนมากมาย ส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งคือ "การฟัง" เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทำให้เรา ได้รับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ มาใช้ในการประมวลตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ยิ่งเราสามารถรับรู้ข้อมูลได้มากเท่าไหร่เราก็มีปัจจัยใช้ในการตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น

 

         บางครั้งจากการฟังที่ไม่ได้ลึกพอ ทำให้เกิดการเข้าใจบิดเบือน เข้าใจผิด หรือไม่เข้าใจในเจตนาที่แท้จริงของผู้พูดเลยด้วยซ้ำ ก่อให้เกิดปัญหาตามมา อย่างที่เราพบได้ทั่วไป หรือในบางกรณี เมื่อเราไม่ได้ใส่ใจที่จะฟังคนอื่นมากเท่าไหร่ ผู้พูดเองก็ไม่รู้สึกมีคุณค่าต่อผู้ฟังแต่อย่างไร ทำให้อาจพูดไปแกนๆ แค่นั้น

 

           แต่ถ้าเราฟังเขาอย่างตั้งใจ สนใจในมิติต่างๆ ของผู้พูดแล้ว อาจทำให้ผู้พูดสามารถอยากคุยต่อไปลงลึกได้มากขึ้น หรือถึงขนาดไว้ใจอยากเล่าปัญหาต่างๆ ให้ฟังด้วยซ้ำ

 

            เราอาจลองถามตัวเองดูว่า เวลาเราพบปะผู้คนเราตั้งใจฟังคนแต่ละคนแค่ไหน เรารับรู้สิ่งที่ผู้พูดพยายามบอกเราได้ครบหรือไม่ ได้มากน้อยเพียงใด หรือเรารับรู้สิ่งที่ผู้พูดอาจไม่ได้ตั้งใจจะบอกเราได้บ้างหรือเปล่า ในเวลาส่วนใหญ่ของเราแต่ละวัน เราได้ตั้งใจฟังใครอย่างลึกซึ้งจริงๆ กี่คน คำถามเหล่านี้ถามดูเพื่อประเมินสถานการณ์การฟังของเราก่อนว่าตอนนี้เรา "ฟัง" อย่างไร

 

            เทคนิคการฟัง 3 มิติ นั่นคือการฟังให้ได้   

           1.เนื้อหา 2.ความรู้สึก และ 3.ความตั้งใจ

 

       มิติที่ 1 การฟังเพื่อรับรู้เนื้อหา หรือคำพูดที่ผู้พูดพูดออกมา เป็นคำบรรยาย ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาอะไรก็ตามที่เอ่ยออกมา พูดเร็วหรือช้า มีเหตุมีผลหรือกระโดดไปมา โดยทั่วไปเรามักจะฟังได้เนื้อหาหรือเข้าใจว่า คำที่ผู้พูดบอกเราคืออะไร

 

       มิติที่ 2 การฟังเพื่อรับรู้ความรู้สึก อะไรคือความรู้สึกเบื้องหลังคำพูดเหล่านั้น ตอนนี้ผู้พูดรู้สึกอย่างไร เขาหรือเธอรู้สึกอย่างไรต่อเรื่องที่เล่า การสังเกตภาษาที่ไม่ใช่คำพูดก็จะช่วยได้มาก เช่น สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง

 

        มิติที่ 3 การฟังเพื่อรับรู้ความตั้งใจ อะไรคือความหมายที่แท้จริงที่ผู้พูดหมายถึง ที่จริงแล้วผู้พูดมีความตั้งใจอะไร ผู้พูดมีแนวโน้มจะทำอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น เริ่มต้องอาศัยการตีความของผู้ฟังเข้ามาช่วย

 

          ข้อควรระวังคือ เราอาจเผลอตีความเกินจริงไปทั้งในส่วนของความรู้สึกและความตั้งใจได้ เพราะไม่ออกมาชัดเหมือนคำพูดเนื้อหาในมิติที่ 1 ควรเผื่อใจไว้ด้วยว่านี่เป็นเพียงการตีความของเราที่อาจผิดพลาดได้ ถ้าจะให้ถูกต้องจริง อาจถามกลับเพื่อสะท้อนความเข้าใจถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม ตัวอย่างประโยคที่ใช้ เช่น ที่คุณพูดมาหมายถึง...คือ...

 

               ท่านผู้อ่านลองฝึกฟัง 3 มิติดูสิคะ ลองหันกลับไปฟังลูกน้องที่ที่ทำงานดู ฟังให้ละเอียดขึ้น ตั้งใจมากขึ้น ดูว่าเราได้อะไรบ้าง เราเข้าใจเขาเหล่านั้นมากขึ้นหรือไม่ เราได้ข้อมูลมาตัดสินใจงานของเราดีขึ้นหรือไม่ หรือเราสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น จากการฟังที่รับรู้ความรู้สึกและความตั้งใจไปพร้อมกับเนื้อหาด้วย ท่านอาจจะลองนำไปใช้กับคนใกล้ตัวที่บ้าน หรือใครต่อใครทั่วไปในสังคมก็ได้

 

           หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการฟัง ไม่ว่าจะด้วยเทคนิคใดก็ตาม นั่นคือความตั้งใจของเราที่จะ "เข้าใจ" เขาหรือเธอผู้พูดเหล่านั้นอย่างแท้จริง มิใช่เพียงได้ข้อมูลผิวเผิน ซึ่งการฟังอย่างตั้งใจนี้ส่งผลให้เกิดสิ่งอื่นๆ ตามมาที่น่าสนใจอีกมาก ลองดูสิคะ

 

          ครับ   ผมว่านำไปใช้ในการฟังได้ดีทีเดียวนะครับ   ผมลองเทียบเคียงกับสุนทรียสนทนา  น่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน นั่นคือ

         1.เนื้อหา เทียบได้กับ   I   in   it

     2.ความรู้สึก  เทียบได้กับ  I  in  you

    3.ความตั้งใจ  เทียบได้กับ I in now

          ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากการฟังให้เข้าใจแล้ว ยังเป็นการฝึกตัวเองในเรื่องของ   สติ   และ   สมาธิ   

           ถือเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัวนะครับ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 264136เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2009 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะท่านรอง

เป็นความรู้สึกส่วนตัวค่ะ

หากกอได้ฟังที่เค้าพูด

กอจะจำได้ง่ายกว่ากออ่านเองค่ะ

ไม่รู้ทำไมกออ่านแล้วก็ไม่ค่อยจำ อิอิ

สมองไม่ค่อยดีค่ะ

แต่ฟังที่เค้าเล่ากอจะจำได้ดีกว่า

Pคุณกอก้านครับ

    ดีจังเลยนะครับ  ที่เป็นคนชอบฟัง   ฟังแล้วจำได้

                แสดงว่าตั้งใจฟัง ฟังอย่างลึกซึ้งครับ

สวัสดีครับ ท่านรองฯ

ไม่ได้ทักทายกันนานเลยนะครับ แต่ยังระลึกถึงเสมอ

ขอบคุณครับสำหรับ แง่มุม มิติ ใหม่ๆ ของการฟัง

มิติการฟัง ตามที่ท่านวิทยากรนำเสนอ

น่าจะเป็นการฟังเพื่อเข้าถึงความเป็นองค์รวมของผู้พูด

ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะเนื้อหาสาระ ที่เราชอบนำมาสรุปกัน

มันเลยทำให้แห้งแล้ง ขาดชีวิตชีวา

ผมจะลองนำไปใช้ดูนะครับ คิดว่าต่อไป เวลาไปฟังใครๆ

อาจจะต้องสรุป เป็นสามส่วน

บทสรุปเนื้อหา บทสรุปแห่งความรู้สึก และบทสรุปแห่งความตั้งใจ

แล้วจะหาโอกาสลองดูครับ

ขอบคุณมากๆ ครับสำหรับสิ่งดีๆ ที่นำมาแบ่งปัน

 

เรียน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด

ได้อ่านเทคนิคการฟัง 3 มิติ ที่ท่านได้ถ่ายทอดให้รับทราบนั้น ดีมากๆ เลยค่ะ ดิฉันจะนำข้อคิดนี้ไปปฏิบัติ อย่างน้อยก็การฟังลูกน้องที่ทำงาน ฟังผู้บังคับบัญชา ฯลฯ ผลที่ตามมีมากค่ะ

เรื่องนี้ดีมีประโยชน์ ขออนุญาตคัดลอก ไว้เผยแพร่ต่อ  ขอบพระคุณ

สวัสดี ครับ อาจารย์P small man

ชอบบันทึก นี้ นะครับ

เพราะได้ ข้อสรุปที่ชัดแจ้ง....จากการฟัง

คนที่ไม่เคยใช้เทคนิคการฟังแบบนี้ ก็อาจจะมีเทคนิค อื่น ๆ ตามความถนัด

แต่สาระสำคัญ อยู่ที่ เนื้อหา  ความรู้สึก  ความตั้งใจ ของผู้พูด

สิ่งที่เคยทำมา ตรงกับสาระเหล่านี้ ....หรือไม่อย่างไร....

อะไรที่เป็น เรื่อง ดี  ดี ก็น่าลิ้มลอง...ดู

เพราะที่ผ่านมา ผม ยังขาดบางส่วนเหล่านี้อยู่ จะลองแข่งกับ หล่อน้อยP ดู...สักหน่อย...

การทำสิ่ง ดี ดี เนี่ยถ้ามีสิ่งหรือแรงจูงใจ ก็จะเห็นผล เร็ว... อาจารย์เห็นว่าอย่างไร ครับ

ระลึกถึง ครับ

 

 

 

สวัสดีค่ะท่าน small man

การฟังให้ได้ยิน...สำคัญมากจริง ๆ ค่ะ

ขอบคุณสาระที่นำมาฝากค่ะ จะได้นำไปใช้ด้วย

การฟังสามมิติ : เนื้อหา ความรู้สึก และความตั้งใจ

(^___^)

  • มาปฏิบัติธรรมด้วยคน
  • ชอบเรื่อง การฟัง 
  • ฟังเข้าไปถึง
  • ภายในใจของผู้พูด

Pคุณซวงครับ

     ขอบคุณมากครับที่เข้ามาติดตาม

     ผมเองก็จะนำไปใช้เหมือนกันครับ

Pคุณmonครับ

      ขอบคุณมากครับ   ผมก็กำลังฝึกตัวเองอยู่ครับ

Pขอบคุณท่าน ผอ.ประจักษ์มากครับ

Pคุณแสงแห่งความดีครับ

     แข่งกันทำสิ่งที่ดีๆ นี่ ดีมากเลยนะครับ

การทำสิ่ง ดี ดี เนี่ยถ้ามีสิ่งหรือแรงจูงใจ ก็จะเห็นผล เร็ว...

     ผมขอแข่งด้วยนะครับ

                    ขอบคุณครับ

Pขอบคุณคุณคนไม่มีรากครับที่เข้ามาเยี่ยม

Pขอบคุณคุณมนัญญาครับ

  • สำหรับตัวเองใช้สมาธิในการฟัง
  • แต่ก็มีจดเนื้อหาค่ะ
  • บางทีก็เข้าความรู้สึกของผู้เล่าค่ะ บางครั้งไม่เข้าใจค่ะ

Pคุณbegerครับ

       ผมเอง ถ้าไม่มีเรื่องใดมารบกวนจิตใจ ก็จะฟังได้ดีครับ

       แต่ส่วนใหญ่ ใจมันวอ่กแว่กครับ  คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ทำให้ฟังไม่ค่อยได้ดี

                           ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับท่านรอง ฟังไมรู้เรื่อง ไม่ตั้งใจฟัง แล้วยังพูดไม่รู้เรื่องอีก มักมาพร้อมกันครับท่าน

Pท่าน วอญ่าครับ

ฟังไมรู้เรื่อง ไม่ตั้งใจฟัง แล้วยังพูดไม่รู้เรื่องอีก

      จริงเลยนะครับ  ฟังไม่รู้เรื่อง ย่อมคู่กับ พูดไม่รู้เรื่อง

                                     ขอบคุณมากครับ

     

แวะมาเยี่ยม และกล่าวคำทักทายครับ

Pคุณสามารถครับ

        ยินดีครับ

การฟัง ยังต้องฝึกอีกมากค่ะสำหรับตัวเราเอง

คราวนี้โหวตสุดคะนึงให้ khun small manค่ะ

Pคุณbeger0123ครับ

โหวตสุดคะนึงให้ khun small man

                  ขอบคุณมากครับ

 

Pขอบคุณคุณกู๊ดดี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท