ขยายผลวิชาการสู่ชุมชน


 

            ในการประชุมสภา มวล. เมื่อวันที่ ๑๖ พ.ค. ๕๒    มีวาระขอออนุมัติปริญญาเพิ่มเติม ๖๑๕ คน    โดย ๕ คนเป็นปริญญาเอก   ในแฟ้มประชุมมีบทคัดย่อของของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทั้ง ๕ ด้วย   เป็นการศึกษาลงลึกเรื่องของท้องถิ่นที่น่าชื่นชมมาก เช่น

  
• ความผันแปรของรูปร่างปลาพลวง (Tor tambroides) บริเวณอุทยานแห่งชาคิเขานัน  และอุทยานแห่งขาติเขาหลวง   


• ลักษณะที่อยู่อาศัยและความหลากหลายของปลาน้ำจืดที่พบบริเวณอุทยานแห่งชาติเขานัน  และอุทยานแห่งขาติเขาหลวง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  


• ภูมิอากาศกับการเจริญเติบโตและกระจายตัวของต้นประ (Elatereriospermum tapos) ณ เขานัน

           ผมจึงตั้งข้อสังเกตเสนอให้มหาวิทยาลัย  สร้างนวัตกรรม โดยมีมุมมองใหม่ต่อผลงานวิจัย   หาผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการนำไปทำกระบวนการ ลปรร. ในชุมชน/ท้องถิ่น  โดยไปชวน อบต. หรือกลไกอื่นในชุมชน จัดเวที ลปรร.   โดยฝ่ายวิชาการสังเคราะห์ความรู้ให้เหมาะสมแก่การนำเสนอต่อคนที่ไม่ใช่นักวิชาการ    และมีการสร้างบรรยากาศให้เป็นการ ลปรร. ไม่ใช่ไปสอนหรือถ่ายทอดความรู้

          นี่คือวิธีมอง Assets ของมหาวิทยาลัยในรูปแบบใหม่    มองผลงานวิจัยเป็น Assets ที่เอาไปสร้างคุณค่าและมูลค่าต่อได้    และมีวิธีจัดการ หรือจัดกระบวนการเพื่อสร้าง value add ให้แก่ผลงานวิจัย   ในการเป็นเครื่องมือเชื่อมมหาวิทยาลัยกับชุมชน/สังคม   เป็นวิธีมองที่จะเชื่อมงานวิจัยกับงานบริการวิชาการ

          เป็นการพัฒนาการทำงานบริการวิชาการในรูปแบบใหม่    ที่จะก่อรายได้ต่อเนื่อง หรือก่อ “รายได้” ที่ไม่เป็นตัวเงิน แต่เป็น Social Network   ที่ช่วยให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ได้อย่างมีคุณค่าต่อสังคมเพิ่มขึ้น

 

วิจารณ์ พานิช
๑๘ พ.ค. ๕๒


                  
        

หมายเลขบันทึก: 262664เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2009 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หากทุกมหาวิทยาลัยเอาแนวคิด อาจารย์หมอไปสู่การปฎิบัติ ความรู้ที่อยู่บนหอ น่าจะเกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท