รายงานสดจากห้องอบรมที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์


    วันนี้และวันอาทิตย์ที่ 24 พค.51 ผมได้รับเชิญจากสถาบัณบัณฑิตพัฒนศิลป์ให้ไปให้ความรู้แก่นักศึกษา 2 กลุ่ม  กลุ่มละ 140-150 คน  3 ชั่วโมงแรกในวันนี้  ว่าด้วยเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการงานในหน้าที่ครู  สอนเรื่องเดียวกัน เช้าหนึ่งกลุ่ม บ่ายอีก 1 กลุ่ม  นักศึกษาดังกล่าวเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 และ 5 ในสาขาศิลปศาสตร์ และจะออกไปเป็นครู


      นับเป็นโชคดีของนักศึกษาที่ผมสามารถเชิญ อ.บุญเลิศ  อรุณพิบูลย์ จาก สวทช.มาช่วยได้  แม้ผมจะพูดเรื่องดังกล่าวได้  แต่ผมเชื่อว่าความรู้จากนักปฏิบัติที่ชำนาญน่าจะมีประโยชน์กว่าการที่ผมว่าเอง  เรียกว่าผมเปิดฟลอร์ให้ อ.บุญเลิศ ว่าไปเป็นหลัก แล้วผมค่อยปิดท้ายอีกสัก 20-30 นาที เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนในคราวหน้าเรื่องการใช้-พัฒนาสื่อ ICT เพื่อการเรียนการสอน ที่ผมจะต้องฉายเดี่ยวทั้ง 3 ชั่วโมง


      สภาพห้องเป็นห้องเรียนสองห้องเปิดทะลุถึงกัน  พื้นกระเบื้องยาง ผนังและเพดานเป็นคอนกรีต  เรียกว่าแข็งรอบด้าน ทุกทิศทาง ไม่มีม่านหน้าต่าง  ทำให้การควบคุมแสงทำได้ไม่ค่อยดี  โชคดีที่ Projector ยังใหม่  แสงจากหลอดฉายยังเข้ม เอาชนะแสงรบกวนจากภายนอกได้ดี  แต่เรื่องเสียงยังมีปัญหา  ที่จริงคนทั่วไปคงคิดว่าก็ OK ดีอยู่  สำหรับคนมากเรื่องอย่างผม ต้องรีบเคลียร์กับนักศึกษาว่า  ห้องนี้แม้ใครจะพูดเรื่องดี น่าสนใจเพียงใด แต่ฟังไปไม่นานจะรำคาญและเบื่อ  เพราะเสียงที่แข็งและสะท้อนไปมาจะก่อความรำคาญสะสมโดยไม่รู้ตัว  พร้อมกับชี้แนะว่า วิธีแก้อย่างง่ายๆ คือแทนที่จะติดลำโพง 2 ตู้สูงๆก้มหน้าลงมา  ให้เปลี่ยนเป็นติดลำโพงตู้ยาวชนิด Sound Column สัก 6 จุด กระจายเป็นสองแถว  เปิดเสียงให้เบาลงได้และชัดเจนทั่วถึงแถมมีเสียงสะท้อนน้อยลงด้วย .. แอบให้ความรู้เสียก่อนเลยตั้งแต่วินาทีแรก


     จากนั้นผมแนะนำตัวคร่าวๆเพื่อให้นักศึกษาได้รู้ว่าเป็นใคร มาจากไหน ทำอะไรมาบ้าง  ทำอะไรอยู่ และจะติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างไร  โดยไม่ลืมย้ำเรื่อง "ความสุข" จากการให้ในหน้าที่ของความเป็นครูว่า มันไม่มีเวลากำหนด ว่าจะจบสิ้นเมื่อไหร่  เคลียร์เรื่องแนวทางที่เราจะจัดการกับเวลาที่มีให้รวมราว 6 ชั่วโมง  เช่นเรื่องการแบ่งกลุ่มกิจกรรม  การเตรียมอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมครั้งต่อไป ฯลฯ
     จากนั้น ประมาณ 9.30 น.ผมก็ส่งลูกต่อให้อ.บุญเลิศ ว่าต่อเนื่องมาจนวินาทีนี้  นักศึกษาสนใจมาก โดยเฉพาะ  การเข้าไปใช้ประโยชน์ใน Google ให้กว้างขวางขึ้น  เช่น ที่ http://docs.google.com เป็นต้น  ประเภทใช้บริการฟรี Online เพื่อทำงานในหน้าที่ครู โดยไม่ต้องมี Software เช่น กลุ่ม Microsoft Office เป็นต้น

     ขณะที่รายงานจาก Notebook ต่อ Dtac GPRS อยู่นี้  ผมก็ใช้เจ้า Acer Aspire 2920Z บันทึกเสียงบรรยาย อ.บุญเลิศไปด้วย  โดยใช้ Software ชื่อ Audio Recorder ไมโครโฟนก็อาศัย Built-in Microphone ที่ตัว Notebook นั่นเอง  เพื่อความสะดวก  ความจริงถ้าจะให้ดีก็ใช้ Condenser Mic. ต่อสายออกไปภายนอกเครื่องก็จะได้เสียงที่ชัดเจนขึ้น

    แล้วจะค่อยรายงานต่อครับ .. อิ อิ อิ

                                               

 

                                             

     

                                               

หมายเลขบันทึก: 262618เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2009 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • พี่บ่าวครับ
  • ทำไมกลุ่มบรรยายใหญ่จัง
  • เพราะกลับมาจากอบรมให้ครูที่เพชรบุรี
  • แต่เป็นครู กศน จากสมุทรสาคร
  • เอาภาพมาแจม
  • แถมภาพท้องฟ้าจากเขื่อนแก่งกระจานครับ

สวัสดีค่ะ  ท่านอาจารย์  เกาะติดสถานการณ์  จะติดตามรายงานสดต่อไปค่ะ

มาทักแร่ะ

ขอบคุณครับ

  • น้องบ่าว ขจิต ฝอยทอง  ... คิดถึงครับ
  • KRUPOM ... ด้วยความยินดีครับ .. แล้วจะรายงานเพิ่มเติมครับ
  • รออ่านต่อครับ
  • เปลี่ยนรูปแบบการอบรมวิจัย
  • ให้สบายขึ้น
  • ฮ่าๆๆๆ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ

ขอบคุณ คุณ berger0123

     นำภาพมาลงเพิ่มแล้วนะครับ

  • สวัสดีครับพระอาจารย์
  • แวะมาเยี่ยมเยียน
  • คิดถึงครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • คิดถึง
  • เลยแวะมาเยี่ยมเยือนนะครับ
  • ขอบคุณครับ น้องยุทธ์ สิงห์ป่าสัก .. คิดถึงเช่นกันครับ .. หนุ่มไผ่เป็นอย่างไรบ้าง
  • ขอบคุณท่าน เรวัช สำลีอ่อน .. เปิดเทอมแล้ว คงยุ่งไม่น้อย .. คิดถึงเช่นกันครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • มาอ่านบันทึกการทำงานของอาจารย์ค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

สบายดีมั้ยค่ะ ?

กลับจากอบรมคงเหนื่อย

แวะมาให้กำลังใจค่ะ...

...นศ. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

สวัสดีค่ะ อาจารย์

อาจารย์ พอมี บล็อก ของ อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์

หนูอยากได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท