การสาธารณสุขไม่ใช่กระบวนการ ไม่ต้องใช้ปัญญาหรือความคิด


"การสาธารณสุขชุมชน" กิจกรรมส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการหรือวิธีการทางปัญญาหรือความคิด แต่อาจกระทำได้จากประสบการณ์ความชำนาญ สามัญสำนึก การฝึกอบรมทางกายก็ได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการ โดยมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง กำหนดให้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว
      "พายุเดือนเมษา ฝนฟ้าแปรปรวนเหลือเกิน แม้กระทั่งเหตุการณ์ในกระทรวงสาธารณสุขเองก็แปรปรวนไม่น้อย"

 

          สิ่งที่อยากให้ลองทบทวนดู ก็เป็นประเด็นที่ทางเเพทยสภา  ได้ออกความเห็น จะได้รู้ว่า วิธีคิด "แปรปรวน" แบบไหน(อ่านแล้วอึ้งครับผม) 

 

             ผมได้รับ อีเมลล์จากพี่ชายคนหนึ่ง ขออนุญาตพี่ชาย นำข้อความมา ร่วม ลปรร. ในBlog ด้วยครับ     

 

ลองอ่านและวิเคราะห์ตามนะครับ... 

 

          "มีการเสนอร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุขเพื่อยกระดับการสาธารณสุขเป็นวิชาชีพ 
การเสนอร่างฯนี้ได้เสนอให้แพทยสภาพิจารณาและให้ความเห็น 
และได้ตอบกลับมาเป็นรายลักษณ์อักษร
ว่าไม่เห็นด้วยที่จะทำการสาธารณสุขเป็นวิชาชีพ 
และนี่เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่แพทยสภาให้ไว้
..........1.3
วิชาชีพต้องใช้กระบวนการหรือวิธีการทางปัญญาหรือความคิด(Intellectual Process)
ในการให้บริการ ทั้งในการประกอบวิชาชีพอิสระและการทำหน้าที่ราชการ
มากกว่าการใช้แรงกาย
        "การสาธารณสุขชุมชน"
              กิจกรรมส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการหรือวิธีการทางปัญญาหรือความคิด แต่อาจกระทำได้จากประสบการณ์ความชำนาญ สามัญสำนึก การฝึกอบรมทางกายก็ได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการ โดยมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งกำหนดให้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว เพราะปรากฎว่าขณะนี้บุคลากรทางสาธารณสุขโดยเฉพาะในกระทรวงสาธารณสุขมีหลายประเภทหลายระดับต่าง ๆ กันโดยที่ในประเภทและระดับที่แตกต่างกันนี้ 
ไม่มีความจำเป็นต้องใช้กระบวนการหรือวิธีการทางปัญญาหรือความคิดในการให้บริการดังนั้น  การสาธารณสุขชุมชน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์การเป็นวิชาชีพ ตามข้อ 1.3
       
             นี่เป็นความเห็นของภาคีสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาสุขภาพมองเห็นภาคส่วนที่ร่วมมือกันทำงานมาแสนนาน ล้านนาน  ท่านมีความเห็นอย่างไร ช่วยแสดงออกกันหน่อยนะครับ

ที่กระดานสนทนาของ http://www.northphc.org 
หรือในที่ที่ท่านคิดว่าควรแสดงออก

หมายเลขบันทึก: 26255เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2006 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

     เศร้าครับ ท้อบ้างแต่ไม่เคยคิดถอย อีกอย่างเราต้องรู้ตน แล้วเลือกเดินทางตามเส้นทางที่เหมาะสม อย่างที่เคยเขียนไว้ที่ ค่าตอบแทนกำลังคนในระบบสาธารณสุขยุคปัจจุบัน เป็นธรรมแล้วหรือ? หรือ เมื่อผมปฏิเสธเพื่อนแล้วเกิดไม่สบายใจ ครับ

พี่ชายขอบครับผม

ก็เคยสิ้นหวัง เคยท้อครับ ไม่เข้าใจกับ วิธีคิดของคนในสังคม ว่า เขาคิดอย่างนั้นได้อย่างไร

เข้าใจ...ครับ

เข้าใจ...ว่า มีบางมุมที่ ไม่ได้ตรงไปตรงมา มีเหตุผลหลายประเด็นที่จำเป็น "ต้องเข้าข้างตนเอง พวกตนเอง"

หากมองทุกอย่างด้วย ใจเป็นธรรม มองเป็นกลาง

จะมองเห็นการเกื้อกูล มองเห็นวิถีที่เกี่ยวข้องกัน

ไม่ควรจะไปแยก ไปแบ่ง...ให้มันวุ่นวาย

ไม่มีอะไรดีขึ้นมา...

อ่านแล้วในฐานะผู้ถูกกระทำ คิดว่าสิ่งที่องค์กรท่านมองนั้นมองตามหลักไหน ถ้าตามหลักสากลท่านก็อธิบายตามหลักการไป แต่ลองมองย้อนว่าที่ปรากฎ สิ่งที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร เราอยู่ของเราเองมันก็เป็นสุข สุขที่ได้คิด สุขที่ได้ทำ แล้วมาวันหนึ่งเมื่อเราได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาแล้ว และเป็นชุมชนที่หมู่มาก การอยู่ร่วมกันย่อมน่าจะมีกฏ กติกา เพื่อความสงบสุข เราคิดว่านั้นเป็นวิถีแห่งการทำงาน เป็นวิถีแห่งการพัฒนา เรามีสิทธิ์ที่จะคิดไม่ใช่หรือ เราท้อในกระบวนการทางความคิดของผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลาย แต่เราสุขใจเมื่อได้ทำในสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราชอบมายาวนาน ขอแค่เรามีความสุขในตนเอง เท่านั้นเอง...................

"เรามีสิทธิ์ที่จะคิดครับ"

       เมื่อผมเป็นเด็ก ก็เฝ้ามองผู้ใหญ่คิด ผู้ใหญ่ทำ อยากเป็นผู้ใหญ่บ้าง อยากคิดได้และทำให้ได้อย่างเขา ...พอมาวันหนึ่ง ก็ได้คิด ได้ทำ และพอเข้าใจว่า ภายใต้ปรากฏการณ์แห่งกระบวนการคิด มีเหตุผลมากมายที่สนับสนุน ...เข้าใจ

        คนมีแรง มีอำนาจ หมู่มาก คิดได้และทำได้ด้วย ก็ทำกันไป

        วันนี้ไม่เคยคิดท้อ ก็เพราะมีความสุข ชัดเจนในสิ่งที่ตนเองคิด ตัวเองทำครับ ...มีความสุขในตนเอง

          แต่บางครั้งยังไม่วายที่จะเรียกร้อง "ความชอบธรรม" บ้าง แม้ว่ารู้ทั้งรู้คำตอบว่า "ไม่มี" ครับ

เท่าที่อ่านดู ก็จะพบว่าสังคมไทยมีปัญหาเช่นนี้อยู่ไม่น้อย

เป็นปัญหาทางวิธีคิดครับ เป็นอคติที่ถูกสังคมสร้างขึ้น และกลุ่มคนที่มีอำนาจในการสร้างหรือนิยามความหมายนี้ ก็มักจะเป็นคนกลุ่มเล็กๆที่มีอำนาจในสังคม โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในเรื่องการนิยามว่า อะไรคือ "ความรู้" อะไรไม่ใช่ "ความรู้" อะไรคือ "วิชาชีพ " อะไรไม่ใช่ "วิชาชีพ"

หรือ แม้แต่ อะไรเป็น "งาน" อะไรไม่เป็น "งาน"

อย่างงานบ้านของผู้หญิง นี่ก็ไม่ถือว่าเป็น "งาน" ในความหมายของรัฐ หรือในสังคมปิตาธิปไตย (patriarchy) งานบ้านจึงเป็นงานที่ถูกสังคมบิดเบือนว่าต่ำต้อยด้อยค่ากว่างานนอกบ้าน (ของผู้ชาย) หนักหน่อย ก็ถูกมองว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้สมอง

ผู้หญิงที่ตรากตรำกับงานบ้านก็เลยพลอยถูกมองว่า ไม่รู้จักพัฒนาสมอง เพราะทำกิจกรรมงานบ้าน ที่ไม่ต้องใช้ "สมอง" รวมไปถึงเป็นคนขี้เกียจ เพราะทำกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่เป็นงานที่มีคุณค่าเหมือนงานของผู้ชาย

และผู้หญิงจำนวนมหาศาล ก็ถูกหล่อหลอมครอบงำให้จำนนต่อมายาคติว่าด้วย เรื่อง งานบ้าน ไม่ใช่ "งาน" หรือถ้าจะเป็นงาน ก็เป็นงานต่ำชั้นกว่างานนอกบ้าน ต่ำกว่างานของหมอ ตำรวจ นักกฏหมาย นักพัฒนาสังคม นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์

ในที่นี้ รวมถึงทั้งค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน และรางวัลทางสังคมด้วย

อย่าเสียใจไปเลยครับ เพราะผู้หญิงอีกครึ่งโลก (เป็นอย่างน้อย)  โดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม

เขาเจอกับปัญหาในเรื่องการนิยามนี้มาหลายศตวรรษแล้ว

แต่พวกเธอก็มีพัฒนาการต่อสู้ เคลื่อนไหวทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ในนามของกลุ่ม เฟมินิสต์ (feminist) หรือกลุ่มสิทธิสตรี

นี้อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการต่อสู้เชิงนิยามความหมาย เป็นการต่อสู้ในเชิงสร้างวาทกรรม โดยวาทกรรมที่คุณเผชิญอยู่นี้เป็น เรื่อง "ความเป็นวิชาชีพ" ซึ่งมันมีรากเหง้าของปัญหาวิธีคิด ที่น่าจะตามไปสืบค้นนะครับ

ลำพัง การเรียกร้องแบบปัจเจกคงไม่ดังพอ น่าจะได้มีการศึกษาวิจัย ขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างเป็นระบบด้วยนะครับ

ผมหวังว่าวิกฤตครั้งนี้ น่าจะเปิดโอกาสที่ดีให้กับจตุพรในการศึกษาเรียนรู้ และอะไรต่อมิอะไรอีกเยอะแยะนะครับ

พี่ยอดดอย ครับ

แน่นอนครับ...

วันนี้ผมได้เรียนรู้ และ รู้ เข้าใจ ว่าวิธีคิดของผู้คน ผูกติดกับอะไร?    ไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายครับ แต่มองตามเหตุและผล

ปัญหาของวาทกรรมตรงนี้ อยู่ที่ "วิธีคิด- การนิยาม " และ "ชนชั้นวรรณะ" ในสังคมที่ทุนนิยมเบิกบาน

Bias เสียแล้ว เหตุผลใดๆก็ "ไม่เข้าใจ" มืดบอดไปทุกสิ่ง

สิ่งที่ควรพัฒนาที่สุด ณ เวลานี้ ก็คือ "วิธีคิด"  ของคน และ มองในเรื่องของ"ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท