ปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์วรรณกรรมและสิ่งพิมพ์ที่เป็นธรรมในการเรียนการสอน


ในการเรียนการสอนสามารถนำงานลิขสิทธิ์ไปใช้ได้มากน้อยอย่างไร

บันทึกฉบับนี้ขอกล่าวถึง ลิขสิทธิ์วรรณกรรมและสิ่งพิมพ์ ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างเป็นธรรม  เป็นสาระที่คัดมาจาก คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม หน้า 13-14  ซึ่งห้องสมุดอาจใช้ถือเป็นหลักในการจัดบริการไปก่อน ด้วยว่าตอนนี้กฏหมายลิขสิทธิ์ที่ครอบคลุมถึงงานห้องสมุดยังไม่มีออกมา และการใช้อย่างเป็นธรรมสำหรับห้องสมุดยังไม่ได้กำหนดไว้

 

ปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์วรรณกรรมและสิ่งพิมพ์ในการเรียนการสอน มีเกณฑ์ที่ระบุว่า เป็นธรรม  มีดังนี้

 

1. การทำสำเนา 1 ชุด สำหรับผู้สอนเพื่อใช้ในการสอน หรือเตรียมการสอน หรือเพื่อใช้ในการวิจัย ดังรายละเอียดนี้

                ก. 1 บท (Chapter) จากหนังสือ 1 เล่ม

                ข. บทความ (Article) 1 บท จากนิตยสาร วารสาร หรือ หนังสือพิมพ์

                ค. เรื่องสั้น (Short Story) หรือเรียงความขนาดสั้น (Short assay) 1 เรื่อง บทกวีขนาดสั้น (Short poem) 1 บท ไม่ว่าจะนำมาจากงานรวบรวมหรือไม่ก็ตาม

                ง. แผนภูมิ (Chart) กราฟ (Graph) แผนผัง (Diagram) ภาพวาด (Painting) ภาพลายเส้น (Drawing) การ์ตูน (Cartoon) รูปภาพ (Picture)  หรือภาพประกอบหนังสือ (Illustration) จากหนังสือ นิตยสาร วารสาร หรือหนังสือพิมพ์ จำนวน 1 ภาพ

 

2. การทำสำเนาจำนวนมากเพื่อใช้ในห้องเรียน

ทำได้ไม่เกิน 1 ชุดต่อนักเรียน 1 คน โดยผู้สอน เพื่อใช้ในการเรียนการสอน หรือการอภิปรายในห้องเรียน โดยทำสำเนาที่ทำขึ้นจะต้องไม่ยาวจนเกินไป และต้องมีการระบุรับรู้ที่บอกว่าใครเป็นผู้แต่ง แหล่งที่มา ที่แสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้ในสำเนาทุกฉบับด้วย ดังนี้

ก.       ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง คำประพันธ์ ถ้อยคำที่เรียบเรียงในรูปแบบฉันทลักษณ์

(1)    บทกวี (poem) ที่ไม่เกิน 250 คำ และเมื่อพิมพ์แล้วไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ (หน้าละ 2,000 ตัวอักษร(character) ตัวอักษร 16 point   หรือ

(2)     บทกวีขนาดยาว ตัดตอนมาได้ไม่เกิน 250 คำ

ข.       ร้อยแก้ว ซึ่งหมายถึง ความเรียงที่ไม่มีลักษณะเป็นร้อยกรอง

(1)    บทความ (article) 1 บท เรื่อง (story) 1 เรื่อง หรือเรียงความ (essay) 1 เรื่อง หรือไม่เกิน 2,500 คำ

(2)    ตอนใดตอนหนึ่ง (excerpt) ของร้อยแก้ว ไม่เกิน 1,000 คำ หรือร้อยละ 10 ของงานนั้น (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน) แต่ได้อย่างน้อย 500 คำ

 

อย่างไรก็ดี จำนวนที่ระบุไว้นี้ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม เช่น อาจมีความยาวเกินมาเพื่อให้ข้อความของบทกวีจบบทหรือร้อยแก้วจบหน้า เป็นต้น

 

(3)    แผนภูมิ (Chart) กราฟ (Graph) แผนผัง (Diagram) ภาพวาด (Painting) ภาพลายเส้น (Drawing) การ์ตูน (Cartoon) รูปภาพ (Picture) หรือภาพประกอบหนังสือ (Illustration) จากหนังสือ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ จำนวน 1 ภาพ

(4)    งานที่มีลักษณะเฉพาะงานที่อยู่ในรูปของร้อยกรอง หรือร้อยแก้ว หรือผสมผสานกันซึ่งมักจะมีภาพประกอบ อาทิ หนังสือเด็ก ทำทั้งฉบับไม่ได้ แต่ใช้ได้ไม่เกิน 2,500 คำ และทำสำเนาตอนใดตอนหนึ่ง (Excerpt)  ของงานได้ไม่เกิน 2 หน้าพิมพ์ของานนั้น หรือไม่เกินร้อยละ 10 ของคำที่ปรากฏในงานนั้น

(5)    งานของผู้สร้างสรรค์คนเดียว ทำสำเนาบทกวี (Poem) บทความ (Article)  เรื่อง (Story) หรือเรียงความ (Essay) ได้ไม่เกิน 1 เรื่อง หรือสามารถตัดตอนมาจากผลงานของผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ไม่เกิน 2 ตอน (2 Excerpt) หรือทำสำเนาผลงานได้ไม่เกิน 3 เรื่อง จากงานรวบรวมเล่มเดียวกัน หรือจากนิตยสาร วารสารรวมเล่ม ในเวลา  1 ภาคการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 262285เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :)

บอกแล้วงัยคะ มีเรื่องดีดี ต้องบอกกันต่อ

ขอบคุณสำหรับข้อมูล นำมาใช้ประโยชน์ในงานได้ดีเลยคะ

ข้อดีของ g2K นี่แหละ

พี่ก็ชอบตามไปอ่านบันทึกของนู๋

ว่าแต่เมื่อไร่จะเขียนบันทึกเพิ่มสักที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท