หนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาฯ ๕: ไม่ง่าย แต่ต้องช่วยกัน


ในร่างกฎกระทรวงข้อ ๔ ที่กล่าวถึงแนวปฏิบัติของสถานพยาบาล มีดังต่อไปนี้

สถานพยาบาลอาจกำหนดแนวปฏิบัติหรือระเบียบภายใน เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกตามกฎกระทรวงนี้

ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ระหว่างพัฒนาแนวปฏิบัตินี้ ร่วมกับแพทย์ พยาบาล และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องนโยบายของสถานพยาบาล รายละเอียด ที่นี่

นโยบายของสถานพยาบาล

๑. สถานพยาบาลแต่ละแห่งควรเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๒ ให้แก่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล
๒. ควรให้ข้อมูล คำแนะนำในการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ แก่ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าอาจถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในขณะใดขณะหนึ่ง รวมถึงแจ้งให้ญาติ คนใกล้ชิดของผู้ป่วยทราบ
๓. ควรจัดเตรียมแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนาของสถานพยาบาล และเอกสารเผยแพร่ความรู้ 

  
ขั้นตอนการปฏิบัติของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล

๑. เมื่อผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลควรสอบถามว่า ผู้ป่วยเคยทำหนังสือแสดงเจตนาหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

๑.๑ กรณีที่ผู้ป่วยไม่เคยทำหนังสือแสดงเจตนา- ควรพิจารณาให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยแต่ละรายตามความเหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่า อาจถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในขณะใดขณะหนึ่ง และให้คำนึงถึงช่วงเวลา จังหวะ บรรยากาศที่เหมาะสมในการพูดคุยเรื่องนี้   

- อธิบายวัตถุประสงค์ในการทำหนังสือแสดงเจตนาตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติโดยสังเขปให้แก่ผู้ป่วย คนในครอบครัว และคนใกล้ชิดทราบ และสอบถามความประสงค์ในการทำหนังสือนี้

- ถ้าผู้ป่วยมีความสนใจที่จะทำหนังสือดังกล่าวและมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารได้ ก็ให้อธิบายถึงข้อดี ข้อเสีย ความจำเป็นในการทำหนังสือแสดงเจตนา

- แพทย์ควรให้ข้อมูลทางเลือกในการรักษาต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้ป่วย  แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้าย  คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเปรียบเทียบกับการรักษาที่มุ่งยื้อชีวิตหรือยืดการตายในวาระสุดท้าย รวมทั้งให้ข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยประมาณ

- ให้คำแนะนำในการทำหนังสือแสดงเจตนาตามแบบฟอร์มที่สถานพยาบาลจัดเตรียมไว้  โดยอาจใช้แบบฟอร์มที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเผยแพร่เป็นตัวอย่าง


๑.๒ กรณีที่ผู้ป่วยเคยทำหนังสือแสดงเจตนา
- พิจารณาเนื้อหาหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่ได้รับจากผู้ป่วยหรือญาติ  หากได้รับสำเนาหนังสือแสดงเจตนาหรือไม่แน่ใจเรื่องเอกสาร  เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมีดุลพินิจพิจารณาความถูกต้องของหนังสือแสดงเจตนา โดยควรติดต่อบุคคลที่มีชื่อระบุในหนังสือแสดงเจตนา ได้แก่ บุคคลใกล้ชิดที่ได้รับมอบหมายให้ตัดสินใจตามความประสงค์ของผู้ป่วย (ถ้ามี) พยาน หรือญาติผู้ป่วย
- ถ้าผู้ป่วยยังมีสติดีอยู่ ให้ขอคำยืนยันความประสงค์ที่จะให้ปฏิบัติตามหนังสือดังกล่าวอีกครั้ง
- เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลแล้ว ให้จัดเก็บหนังสือดังกล่าวไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย ตลอดเวลาที่รักษาตัวอยู่ หรือบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทราบทั่วกัน และปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วยตามหนังสือแสดงเจตนานั้น  วิธีปฏิบัติในการเก็บรักษาหนังสือแสดงเจตนาในกรณีอื่นๆ มีดังนี้
  ก) หากผู้ป่วยถูกย้ายไปรักษาตัวที่สถานพยาบาลอื่น หรือถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ก็ให้คืนหนังสือแสดงเจตนานั้นแก่ผู้ป่วยหรือญาติ และควรประสานงาน แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่สถานพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวต่อไป
  ข) กรณีที่ผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาลหลายครั้ง ก็ควรขออนุญาตผู้ป่วยจัดเก็บสำเนาหนังสือแสดงเจตนาที่มีการรับรองความถูกต้องไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย
  ค) ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาตามหนังสือแสดงเจตนาแล้ว ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิตลง ให้เก็บหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวหรือสำเนาเอกสารไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย 


๓. แพทย์ พยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน มีหน้าที่ให้การดูแลในเบื้องต้นที่จำเป็น และควรดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตให้ตรงตามความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ป่วยที่ระบุไว้ในหนังสือแสดงเจตนารวมทั้งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย


๔. ถ้าหนังสือแสดงเจตนามีเนื้อหาไม่ชัดเจน หรืออาจมีปัญหาในการปฏิบัติ เช่น หนังสือแสดงเจตนาได้ทำไว้เป็นเวลานานหลายปี หรือไม่ครอบคลุมวิธีการรักษาในปัจจุบัน แพทย์ควรปรึกษาหารือกับผู้ป่วย (กรณีที่ยังมีสติดีอยู่) หรือบุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องนี้ หรือปรึกษาญาติผู้ป่วยในกรณีที่ไม่มีการระบุชื่อบุคคลใกล้ชิดที่มีอำนาจตัดสินใจ เช่น สามี ภริยา บิดา มารดา บุตร ฯลฯ


๕. สถานพยาบาลควรแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานของสถานพยาบาล เพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบายหรือแนวปฏิบัติต่างๆ ของสถานพยาบาล รวมทั้งการหาข้อยุติในกรณีต่างๆ


๖. กรณีที่ผู้ป่วยถูกนำตัวมารักษาในสถานพยาบาลจนกระทั่งอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต  ภายหลังทราบว่าผู้ป่วยได้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ โดยผู้ป่วยไม่ต้องการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทำให้ยืดการตายออกไป ให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลดำเนินการยุติการใช้เครื่องมือดังกล่าวได้ตามความประสงค์ของผู้ป่วย


๗. กรณีเด็กหรือผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะคือ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนา จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง (บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ศาลแต่งตั้ง) โดยแพทย์ พยาบาลจะต้องให้ข้อมูล และอธิบายแนวทางการรักษาให้ผู้ปกครอง เด็กหรือผู้เยาว์  และอาจต้องมีการวิเคราะห์สภาพจิต อารมณ์ในขณะนั้น และให้ผู้ปกครองและผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเท่าที่สามารถทำได้


แนวปฎิบัติที่ร่างขึ้นนี้ครอบคลุมประเด็นหลักๆเกี่ยวกับบทบาทของบุคลากรสุขภาพค่อนข้างละเอียดและตรงเป้า เมื่อเห็นกันจะๆแบบนี้แล้ว คนทำงานคงต้องช่วยกันแสดงความคิดเห็นแล้วละครับ

หลายคนคงบ่นว่า งานเข้าอีกแล้ว

หลายคนคงสอดส่ายสายตา หาเจ้าภาพ เรื่องนี้ในโรงพยาบาล

หลายคนบอกว่า ก็ทำอยู่แล้ว แต่ไม่เป็นเอกสาร

 

ยังไงผมว่า เราก็คงต้องช่วยๆกัน ค่อยๆปรับ พัฒนา แล้วเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน ผมยังมองเรื่องนี้ เป็นโอกาสที่จะทำให้คนหันมาสนใจ งาน palliative care แบบไทยๆเรามากขึ้นครับ

 


สามารถอ่านรายละเอียดของพ.ร.บ. กฏกระทรวง และโครงการเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 260593เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 07:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
  • แวะมาอ่านแต่เช้า
  • จะได้ไม่ตกหล่น
  • ขอบคุณค่ะ
  • เกศนำดอกแคทที่บ้านมาฝาก ปลูกเองค่ะ พึ่งออกดอกเมื่อวานค่ะ

Orc1

บันทึกชุดนี้ ผมจบแล้วครับ

เพราะต้องรออ่าน ชุดของน้องเกศต่อ ..๕๕๕

สงสัยว่า ไอ้วิธีเอารูปมาต่อๆกันของน้อง มันมีโปรแกรมทำหรือทำเอง น่าจะนานนะ

อาจารย์คะกุ้งตามพี่เกศมาปริ๊นเอาความรู้ใหม่กับอาจารย์ค่ะ ล่าสุดพึ่งเข้าฟังการพูดคุยแจ้งข่าวร้ายคนไข้ retinoblastoma เเล้วมี bleed ในสมองตอนตี 1 ค่ะ วันนั้นอจารย์หมออรุณีมากลางดึกเลยค่ะ คุยเสร็จกุ้งรีบบันทึกในแบบบันทึกการเเจ้งข่าวร้าย และบันทึกในเเบบบันทึกการให้ข้อมูล เด็กไม่ดีเเล้วค่ะ คุณพ่อคุณแม่ขอปั๊มถ้าหาก หัวใจหยุดเต้น เราเลยต้องเคารพในการตัดสินใจ จึงให้ครอบครัวเซนต์รับทราบว่ายังยืนยันจะปั๊ม เเละดูสถานการณ์แล้วทั้งๆที่อยากบอกว่าไม่ควรปั๊ม เเต่ในความเป็นจริงหากพูดไปก็เสี่ยงต่อกฎหมายเหลือเกิน ต้องให้สิทธิครอบครัวตัดสินเต็มที่ เเต่สุดท้ายเช้ามาพ่อเเม่เปลี่ยนใจ ขอไม่ปั๊มและนำลูกกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน เฮ้อ !..ค่อยยังชั่วสงสารเด็กค่ะวันนี้ทำการบ้านเตรียมตัวเป็นวิทยากรร่วมกับเครือข่ายพุทธิกาหัวข้ออบรม เผชิญความตายอย่างสงบค่ะ พักจากทำการบ้านเลยเเวะมาสวัสดีอาจารย์และมาเรียนเชิญอาจารย์ไปอ่านจดหมายเเม่น้องเต้และเเถมให้อีกเรื่องค่ะ ฟ้าหลังฝนของริน

สวัสดีค่ะ

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะให้เซ็นที่ใบไม่ยินยอมให้ทำการรักษาค่ะ และเขียนเพิ่มว่าไม่นวดหัวใจ ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจและใส่ไว้ในเวชระเบียนค่ะ

แต่ที่ผ่านมาคนไข้ที่เซ็นซื่อไว้แล้ว มีเปลี่ยนใจต้องปั้มหัวใจกันเป็นเรื่องราวเนื่องจากญาติเขาทำใจไม่ได้แต่เมื่อเราส่งตัวไปโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัด(โรงพยาบาลเราไม่มีเครื่องช่วยหายใจค่ะ)ไปถึงก็ให้รอรับศพกลับมาเลยญาติก็เสียใจโวยวายว่าไม่ได้สั่งเสียในกรณีเปลี่ยนใจแบบนี้เราจะทำอย่างไรดีคะ

น่าจะมี public debate ที่กว้างขวางสำหรับสาธารณะชน เรื่องนี้มี impact ไม่เพียงแต่ palliative care หรือหมอ พยาบาล หรือคนไข้ terminal เท่านั้น แต่จริงๆแล้วมีผลต่อสังคมโดยรวม คือทุกคน เพราะเรากำลัง address right of citizen ที่เป็นรูปธรรมที่สะท้อนคุณค่าทางนามธรรมเป็นครั้งแรกๆของสังคม

จากกฏหมายฉบับนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ withhold treatment (อย่างที่ผมหรือบางคน) เข้าใจในครั้งแรก แต่ขยายไปถึง withdraw treatment (ความต่างคือ withhold จะไม่ทำอะไรเพิ่ม แต่ withdraw นั้น มีการ "เลิก" หรือระงับบางสิ่งบางอย่างที่กำลังทำอยู่ด้วย ซึ่งในมุมมองของ euthanasia เป็นก้าวต่างที่มีนัยสำคัญ

เดี๋ยวขอไปกินข้าวก่อนครับ ที่บ้านเรียกแล้ว

P

  • การตัดสินใจของครอบครัว อาจไม่ตรงกับเราได้เสมอนะครับ ฟังเหตุผลของเขาดีๆ ว่า เพื่ออะไร บางทีอาจจะสมเหตุสมผล เช่น รอใครบางคนก่อน หรือบางทีเป็น เพื่อรอ..ปาติหาน ซึ่งเรื่องหลังนี่คงต้องคุยกันหน่อยนะครับ

P

  • ประเด็นปัญหาแบบนั้น จะลดน้อยลงเมื่อใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ครับ
  • ผมเดาว่า ญาติที่โวยวาย น่าจะเป็นญาติที่ไม่รู้เรื่องการปฏิเสธของคนไข้มาก่อน จะต้องแจ้งให้เขาทราบว่า คนไข้ตัดสินใจอย่างไร

P

  • ใช่แล้วครับ สกล กกท. นี้รวมกรณี withdraw ด้วย
  • อาจารย์วิฑูร บอกว่า ถ้าคนไข้เขียนข้อความที่รวมถึงกรณีนี้ด้วยสามารถ withdraw ได้เลย ทั้งนี้ ขึ้นกับว่าคนไข้จะเขียนไว้ในหนังสือฯหรือไม่
  • ผมว่า เราควรเอาเรื่องนี้ สนทนา palliative ได้แล้วนะครับ

พักเบรค รายงานความคืนหน้า วันที่ 3 สนุกมาก Role play

  • แล้วตกลงที่มอ.ใครเป็นเจ้าภาพ
  • พี่เขี้ยวอยากทราบว่า
  • ก่อนจะไปแนะนำให้คนไช้ทำหนังสือ
  • เราต้องให้คำปรึกษาก่อนโดยทีมที่ผ่านการอบรมก่อนหรือไม่
  • เพราะเรื่องแบบนี้
  • เป็นเรื่องอ่อนไหวทั้งตัวคนไข้เอง
  • และผู้ที่จะไปทำหนังสือตกลง
  • โดยเฉพาะวิถีพุทธอย่างไทยๆ
  • ขอบคุณนะคะ
  • ไม่ได้มาเม้นนาน  ยังกึ๊ดเติงหาเสมอๆเจ้า

P

  • ที่มอ. หน่วย palliative care กับองค์กรแพทย์เป็นเจ้าภาพครับ
  • ใช่ครับ ตอนนี้แต่ละโรงพยาบาลต้องมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กับเจ้าหน้าที่ กำหนดแนวทางปฏิบัติ และจัดอบรมให้ครับ
  • นึกว่า พี่จะลงมาหาดใหญ่
  • ผอ.ไม่อนุญาตให้ไป
  • เพราะติดภารกิจอบรมเรื่อง
  • การดูแลสุขภาพ ที่ม.แม่โจ้ จ้า
  • อยากไปมากๆ
  • รอครั้งที่ 2 ค่อยเจอกันนะ
  • แวะมาตอบคำถามโปรแกรมทำรูป
  • ทำแบเดียว photo phunia ค่ะ
  • free download
  • อบรมเผชิญความตาย
  • สนุกมากทั้งผู้เข้าอบรม และวิทยากร
  • มีแอบซึ้งตอนวันสุดท้ายด้วยค่ะ

 

  • ทำแบเดียว photo phunia ค่ะ
  • แป๊บ not แบ ค่ะ
  • พิมพ์ผิดค่ะ

P

  • ผอ. ไหนครับ
  • ผมแกล้งหยอกทางทีมงานแล้วว่า ให้จัดบ่อยๆ

อาจารย์หมอเต็มคะกุ้งมีเรื่องจะขอคำปรึกษาอาจารย์ค่ะ คือว่าทางแผนกการพยาบาลกุมารเวชกรรมมีโครงการอยากจะตั้งหน่วย palliative care เเต่เราก็ยังทำงานร่วมกับทีมสหสาขา ทีมนำทางคลินิกกุมารฯ เหมือนเดิม จึงอยากขอคำเเนะนำอาจารย์ว่าเราจะเริ่มต้นอย่างไร

คือที่ผ่านมาเราก็ทำได้ค่อนข้างดี เเต่คนทำงานยังน้อย อย่างเช่นพี่เกศก็ทำหลายอย่าง อย่างกุ้งก็ยังทำงาน routine ขึ้นเวรด้วย

เเต่ถ้าออกมาจัดตั้งเป็นหน่วยคิดว่างานเราจะ run ได้ดีกว่านี้อย่างน้อยกุ้งก็ได้ออกมาทำเต็มตัว พี่เกศก็มีคนช่วย เหนื่อยน้อยลง

ตอนนี้กุ้งเอง fight มากๆที่จะออกมาทำเต็มตัว มีหลายสิ่งหลายอย่างที่อยากพัฒนาในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายเเละครอบครัว

ท่านผู้ตรวจการเลยให้กุ้งทำการบ้านคือหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วย  ทางมอ.ทำมาก่อนเเละถือเป็นต้นเเบบของ palliative  กุ้งจึงอยากขอคำปรึกษาค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยด้วยนะคะ

สวัสดีครับน้องกุ้ง

  • เวลาจะเปลี่ยนแปลงอะไร เช่น ตั้งหน่วยงานอย่างนี้ ผมคิดว่า คำสำคัญ คือ commitment
  • ผู้บริหารและคนอื่นเขาอยากรู้ว่า แล้วเขาจะได้อะไรจากเรา เพราะฉะนั้น เราจะต้องแสดงให้เห็นว่า ถ้าตั้งหน่วยงานขึ้นมาแล้ว เราจะทำอะไรบ้าง แสดงภาระงานของเราให้ชัดเจน
  • ตอนตั้งหน่วย palliative care ที่ม.อ. เราบอกชัดเจนว่า เป็นหน่วยประสานงาน ไม่ใช่หน่วยบริการ พยาบาลเราทำหน้าที่ประสานงานกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดอบรม การประสานหอผู้่ป่วยและภาควิชาจัดกิจกรรมหรืิอการเรียนการสอน  สำหรับงานบริการไปดูคนไข้ เป็นงานรองลงมา เพื่อให้เขามีประสบการณ์
  • น้องกุ้งสามารถรวบรวมงานที่น้องทำอยู่แล้ว ว่าเดิมเราทำอะไร ต่อไปแยกหน่วยแล้ว จะเป็นอย่างไร
  • ปัญหาที่ผมเจอ คือ บุคลากรฝ่ายการพยาบาลก็ขาดคนอยู่แล้ว เวลาจะแยกตัวออกมา ก็ค่อนข้างจะยาก 
  • แค่นี้ก่อนนะครับ

ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับข้อเสนอเเนะค่ะ ที่นี่ก็เจอปํยหาอย่างที่อาจารย์พูดค่ะ บุคลากรฝ่ายการพยาบาลก็ขาดคนอยู่แล้ว แต่เหนือสิ่งอื่นใดหากให้เราทำงานคู่ขนานคือทั้งงาน routine และงาน palliative care บางครั้งก็รู้สึกเหนื่อย อ่อนล้า หมดกำลังใจที่จะทำ เเต่เมื่อเราเห็นสิ่งที่มันเกิดกับคนไข้ที่เราได้ช่วยเหลือพลังก็กลับมา เเต่ไม่รุ้ว่าจะยั่งยืนขนาดไหน กุ้งจึงอยาก fight ให้ตัวเองได้ออกมาเต็มตัว เเต่ทานผู้ตรวจการค่อนข้างเห็นความสำคัญและเห็นสิ่งที่เราทำ จึงให้กุ้งหาข้อมูลเพื่อเขียนโครงการ เมื่อเช้าลองนั่งเขียนเเล้วและส่งให้พี่เกศดูก่อนเป็นเบื้องต้น ขอบคุณสำหรับข้อเสนอเเนะค่ะอาจารย์  กุ้งยังขาดรวบรวมงานที่น้องทำอยู่แล้วในโครงการเดี่ยวจะเพิ่มไปค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงสำหรับข้อชี้เเนะ

อ่านในหนังสือคลินิก ฉบับที่ 5 พ.ค. 2552 หน้า 403 การดูแลผู้ป่วยให้ตายดี เป็นภาคผนวกพินัยกรรมชีวิต (Living will) หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข (advance medical directives) บุคคลมืสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ มีเอกสารตัวอย่างการทำหนังสือฉบับบนี้ค่ะ ลองติดตามดูค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอสบายดีนะครับ

สวัสดีค่ะ

  • คุณหมอสบายดีนะคะ

P

  • สวัสดีครับ
  • อยากทราบความเห็นเรื่องนี้ของคุณเบดูอินด้วยครับ

P

  • สวัสดีครับพี่คิม
  • ผมสบายดีแต่ยุ่งๆหน่อย เลยไม่ได้เขียนบันทึกกับแวะไปอ่านของพี่ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท