เล่าเรื่องระหว่างวันที่ 3 - 8 พฤษภาคม 2552


วันที่  9  พฤษภาคม  2552

เรียน  เพื่อนครูและผู้บริหารที่รักทุกท่าน

วันที่ 3 8  พฤษภาคม  2552  สัปดาห์นี้มีวันหยุดระหว่างสัปดาห์หลายวัน อาจารย์จึงงดบรรยาย ให้พวกเราไปจัดทำงานการศึกษาส่วนบุคคล(IS) ให้แล้วเสร็จ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เหมือนวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา  ผมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้ทีมงานทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ช่วยกันเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล อาทิตย์นี้เหลือการจัดทำรายงานจึงดำเนินการจนแล้วเสร็จจึงนำผลสรุปมาบอกเล่าสู่กันฟัง

                    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ( Survey  Research ) ที่ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในประเทศไทย :  กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร  เขต   1   มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย

                    1.    เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้อยู่ในกลุ่มที่มีอันดับคุณภาพดีเยี่ยม : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1

                     2.    เพื่อค้นหาปัจจัยที่ใช้เป็นตัวพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้อยู่ในกลุ่มที่มีอันดับคุณภาพดีเยี่ยม : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1

                    3.    เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้น

                          ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  จำแนกเป็น  2  กลุ่ม  คือ ประชากร ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน   110   คน  ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1     จำนวน  140  แห่ง ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2551  รวมประชากรทั้งหมด    251  คน  ประชากรที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้   ได้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1  และผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร  เขต 1  ในภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  2551 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified  Random  Sampling)  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน  โดยกำหนดความเชื่อมั่น 95 และยอมให้มีความคลาดเคลื่อน  ของกลุ่มตัวอย่าง 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง  ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน  86  คน และผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1  จำนวน 103  คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 189  คน   ครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง จำนวน 1 ฉบับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงพรรณนาความ  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS      หาค่าร้อยละ    ค่าเฉลี่ย   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณและค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ

            สรุปผลการวิจัย

            ตอนที่   1  สถานภาพและข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 

                                  ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย จำนวน  125  คน คิดเป็นร้อยละ  66.14  เพศหญิงจำนวน  64  คน คิดเป็นร้อยละ  33.86  อายุระหว่าง  25 30 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.06   ระหว่าง 31 40 ปี จำนวน  36  คน คิดเป็นร้อยละ  19.05  ระหว่าง 41 50 ปี จำนวน  75 คน คิดเป็นร้อยละ  39.68  และอายุ  50 ปีขึ้นไป จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 40.21  วุฒิการศึกษาสูงสุด   ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน  9  คน คิดเป็นร้อยละ  4.76   ปริญญาตรี จำนวน 75  คน คิดเป็นร้อยละ  39.68  สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ  55.56  สถานภาพการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ  54.50  ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน  86 คน คิดเป็นร้อยละ  45.50  ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1  ระหว่าง  1 5 ปี จำนวน  18  คน คิดเป็นร้อยละ  9.52    ระหว่าง 6 10 ปี จำนวน  43  คน คิดเป็นร้อยละ  22.75  ระหว่าง 11 15 ปี จำนวน  34  คน คิดเป็นร้อยละ  17.99   และ  16 ปีขึ้นไป จำนวน  94  คน คิดเป็นร้อยละ  49.74     ทราบถึงความสำเร็จในการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 จากแหล่งใด   ไม่เคยทราบ จำนวน  3  คน คิดเป็นร้อยละ  1.59    ทราบจากการประชุมของหน่วยงาน จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ  98.41  และประชาสัมพันธ์ความสำเร็จในการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ดำเนินการน้อย จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ  38.62  ดำเนินการสม่ำเสมอ 116 คน คิดเป็นร้อยละ  61.38

   ตอนที่  2  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้อยู่ในกลุ่มที่มีอันดับคุณภาพดีเยี่ยม

                              2.1  ปัจจัยที่ส่งต่อผลความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร  เขต  1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก              ( = 4.22)  เมื่อพิจารณารายปัจจัย  พบว่า ทุกปัจจัยมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับได้ดังนี้ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร( = 4.27)ปัจจัยด้านค่านิยมร่วม ( = 4.25)  ปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์กร ( = 4.24)   ปัจจัยด้านบุคลากร ( = 4.23)   ปัจจัยด้านทักษะ  ความรู้  ความสามารถ ( = 4.22)   ปัจจัยด้านรูปแบบการบริหารจัดการ ( = 4.21)   ปัจจัยด้านระบบการปฏิบัติงาน ( = 4.13)   

                                        2.2   ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้อยู่ในกลุ่มที่มีอันดับคุณภาพดีเยี่ยม พบว่า  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่ชุมพร เขต 1  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01     และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก กล่าวคือ  ปัจจัยที่ 1 ด้านขับเคลื่อนนโยบายและกลยุทธ์   ปัจจัยที่ 2  โครงสร้างขององค์กร  มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากัน คือ  0.992  ปัจจัยที่ 3   ด้านระบบการปฏิบัติงาน  ปัจจัยที่ 4  ด้านบุคลากรและปัจจัยที่ 6  ด้านรูปแบบการบริหารจัดการ    มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากัน คือ  0.991    และปัจจัยที่ 5  ด้านทักษะ ความรู้   ความสามารถกับปัจจัยที่ 7  ด้านค่านิยมร่วม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากัน คือ  0.989

              ตอนที่  3  ปัจจัยที่ใช้เป็นตัวพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้อยู่ในกลุ่มที่มีอันดับคุณภาพดีเยี่ยม

                                   ปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระมีผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่ชุมพร เขต 1  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ คือ 0.992  แสดงว่า  มี  2  ตัวแปรซึ่งสามารถใช้พยากรณ์ได้ร้อยละ 98.5  สามารถจัดลำดับการส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่ชุมพร เขต 1  ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้อยู่ในกลุ่มที่มีอันดับคุณภาพดีเยี่ยม     ตัวแปรแรกที่สามารถใช้พยากรณ์  คือ  ปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์กร (Strategy)   ตัวแปรลำดับต่อมา คือ ปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์กร (Structure)     ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์  ได้คือ

    Y  =    0.762  +  .440 (ปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์กร) + 0.321(ปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์กร)

 

กำจัด  คงหนู

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 260520เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท