กศน.เคลื่อนพล มา มวล.ก่อนออกศึก ๔ พ.ค.๔๙ นี้


ช่วงหลังไม่ค่อยได้มาเขียนบันทึกเท่าไหร่ เคาะสนิมหน่อยคะวันนี้เดี๋ยวจะใช้การไม่ได้เสียแย่เลยคะ เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ก็เรื่องการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งดังที่ได้แจ้งล่วงหน้าไปแล้วว่าวันพฤหัสบดีที่ ๔ พฤษภาคม นี้จะมีเวทีประชุมแกนกลาง วันนี้(ศุกร์ที่ ๒๘ เม.ย.) ก็เลยนัดเตรียมการก่อนออกศึกคะ เวลานัดคุณเฉลิมลักษณ์ เต็มภาชนะ (คุณเป้า) ประสานกันหลายครั้งมากแต่ไม่เคยเจอหน้าตากันเลยโอกาสดีมากคะวันนี้ได้เจอพี่เค้า(ยังสาว ยังสวยอยู่เลยคะ) เวลานัด 09.00 น. คะแต่พี่เป้าโทรมาแจ้งว่าจะมาสายสักหน่อย จนเวลาประมาณ 09.50 น.พลพรรค กศน.มี

๑)      คุณเกษร  ธานีรัตน์ (ษร)

๒)    คุณบุญช่วย  มานะศิริพันธ์ 

๓)    คุณชมภู  ชุตินันทกุล  (กั้ง)

๔)    คุณเฉลิมลักษณ์  เต็มภาชนะ (เป้า)

๕)    คุณวาสนา  โส้สาหมัน (ต้องขออภัยด้วยนะคะหากสะกดผิด)

๖)     คุณสุจิรา  แข่งขัน (จูเนียร์)

๗)    คุณวีรกิจ เต็มสังข์

ก็มาถึงเด่นเป็นสง่ามากยกทีมนัดกันใส่เสื้อสีเหลืองเรารักในหลวง และเสื้อฉลองศิราชสมบัติครบ ๖๐ ปี นิสัยคนไทยใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับหนูเคเอ็มจัดแจงหาน้ำหาท่ามาให้ดื่มกัน (เย็นใจและใจเย็น) เริ่มประชุมหารือ โดยเริ่มที่คุณเกษรแจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมวันที่ ๔ พ.ค.มีปลัด พัฒนาการ ผอ.อำเภอ ทีมวิชาการ คุณอำนวยกลาง รวมทั้งหมดจำนวน ๑๓๔ คน

หัวข้อการประชุมคุณภีม ทบทวนใหม่อีกครั้ง

๑)  คุยภาพรวมของโครงการ ๒)  โครงสร้างคณะทำงาน ๓)  เรื่อง Blog  และ ๔) อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องตารางอิสรภาพ (เรียนรู้ปฏิบัติการจริงจะเข้าใจและเห็นภาพชัด) ซึ่งกำหนดการคร่าว ๆ ที่คุณชมภูแจ้งให้ทราบนั้น

ช่วงแรก      ผู้ว่าเปิดเวทีและปาฐกถาพิเศษ

ช่วงที่สอง   ผอ.โสภณ  คงจังหวัด คุย ๑ ชั่วโมง เรื่องของข้อมูลแผนชุมชน

ช่วงเวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐   ทบทวนโครงสร้างแลเรื่องของบล็อค

เวทีภาคบ่าย     เรื่องตารางอิสรภาพ การประเมินตนเองมีเป้าหมายชัดเจน

*ช่วงเวลาตั้งแต่ ๑๑.๐๐ น.เป็นต้นไปนั้นเป็นของทีมวิชาการโดยคุณภีม ภคเมธาวี จะดำเนินการเดินเรื่องจนปิดเวทีคะ (ในกรณีนี้หากท่านผู้ว่าไม่ติดภารกิจใด ท่านก็อาจจะอยู่ต่อจนจบคะ) แต่ในเวทีไม่ได้คุยกันลงลึกในรายละเอียดเรื่องของตารางอิสรภาพนะคะเพราะต้องใช้ระยะเวลาเยอะมากพี่ภีมบอกว่าจะมาออกแบบตารางอิสรภาพและเอกสารประกอบ (จะเร่งให้ด่วนที่สุด) ส่วนเรื่องบล็อคนั้นช่วงท้ายเวทีหารือของวันนี้จะเรียนรู้ร่วมกันคะ นั่งคุยกันสักพักเพื่อให้เห็นภาพและคิดตามกันไปด้วยเครื่องมือสำคัญที่ทิ้งไม่ได้นั้นก็คือกระดาษบรู๊ฟกับปากกา พี่ภีมก็เริ่มเขียน

                เวทีเรียนรู้  F2F เดือนละ ๑ ครั้ง

๑)      คุณอำนวยอำเภอ (๒๓*๓) +.........(คุณอำนวยกลาง+นักวิชาการ+ทีมพวกเรากศน.)

๒)    คุณเอื้อ/อำเภอ/ตำบล  ๓+สธ/เกษตร/อบต.+กำนัน/ธกส.

๓)    คุณเอื้อจังหวัด  [ผู้ว่า+นายอำเภอ+ภาคี]

๔)    คุณอำนวยตำบล [ตำบล ๓ คน]

๕)    คุณอำนวยหมู่บ้าน ๘ อาสา

๖)     คุณกิจ ๖๔ คน (คุณชมภูและอีกหลายคนเข้าใจผิดอยู่นานหาคำตอบไม่ถูกว่ากำหนดมาจากฐานไหนตอนนี้ได้คำตอบแล้ว จากฐานคุณอาสา ๑:๘  ๘ คน*๘ = ๖๔ พอดี คะ)

มีคำถามอยู่ว่าเมื่อจัดตามแบบดังกล่าวข้างต้นแล้ว การจัดกลุ่มตามโซนหายไปไหนหรือจะจัดวางอย่างไร

ที่ประชุมร่วมหารือกันคำตอบที่ออกมาคือนำไปจัดวางในทีมคุณอำนวยอำเภอ (๒๓*๓) เมื่อทำกิจกรรมก็อาจจะให้แยกกลุ่มตามโซนค่อยขยับแล้วให้คำว่าโซนหายไปทีละน้อย (ใช้คำถูกหรือเปล่าไม่แน่ใจ น่าเสียดายวันนี้หนูเคเอ็มลืมที่อัดเทปไว้ที่บ้านก็เลยไม่ได้ถอดทุกคำพูด นำมาบันทึกเท่าที่จดได้ก็แล้วกันนะคะ)

คำถามประเด็นถัดมาได้หารือกันในทีมของนักวิชาการจะทำอย่างไรในการขับเคลื่อนเพราะที่เห็นปฏิบัติจริงก็มีแต่ มวล.(โดยคุณภีม)อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วนะคะว่าเป็นเพียงได้แต่โครงสร้างแต่ลงปฏิบัติจริงนั้นยาก

นักวิชาการ มี -  จัดการความรู้/เนื้อหา

-       อาชีวะ

-       เขตการศึกษา

-       ราชภัฏ

-       มหาวิทยาลัย

*ปฏิบัติการสนับสนุน

*ชุมชน

ฉะนั้นก็ขอความร่วมมือในส่วนของเนื้อหาหรืออาจจะเชิญมาเป็นวิทยากร

จริงๆแล้วสิ่งที่ต้องการเนื้อหานั้นมีอยู่สองส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเรื่องของการปฏิรูประบบการจัดการความรู้ ส่วนที่สองเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (ไม่อิงฐานรายได้แต่ให้อิงฐานการพอเพียง)

ต้องขออภัยในความไม่ต่อเนื่องในบางตอนอันเนื่องมากจากว่าไม่ค่อยได้นั่งอยู่กับที่เพราะวันนี้ห้องประชุมหารือของเราไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เสียงโทรศัพย์มาต้องรับโทรศัพย์คะเสียงดังรบกวน (ก็คิดว่าจะหารือกันนิดเดียวแล้วเรียนรู้บล็อคเลยนี่คะที่ไหนได้..อิอิ)

คำถามของคุณชมภู             เรื่องของข้อมูลแผนแม่บทชุมชนหากเอาแผนมาพูดทั้งหมดจะเยอะมาก ปีหน้า หรือปีหน้าโน่นก็ทำไม่หมดในกรณีนี้เราจะดำเนินอย่างไร (น่าจะประมาณนี้นะคะคำถาม)ที่อำเภอเขียนมาจะกว้างมาก หากระบุ Focus ไปเลยว่าเรื่อง กองทุนหมู่บ้านก็จะชัดเจนและง่ายขึ้น

ตอบโดยคุณภีม                เรื่องราวของทั้ง ๘ แผน หากเราจะทำได้หมดทุกแผนเลย สิ่งแรกที่ต้องเริ่มก่อนคือทุกส่วนต้องเข้าใจหมด แม้แต่เรื่องการปฏิรูปก็ต้องเข้าใจ ถึงจะสามารถขับเคลื่อนไปได้ดี

คุณชมภู                 งานนี้เป็นงานเชิงคุณภาพแต่ท่านผู้ว่าเอาเชิงปริมาณมาจับ

คุณภีม                    ต้องระบุตัวชี้วัดชัดเจน ยกตัวอย่างกรณีของสัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาทก็เป็นตัวชี้วัดหนึ่งหากทำได้ในส่วนนี้ก็เท่ากับว่าคน ๖๔ คนที่เป็นคุณกิจมีสัจจะ และมีตัวชี้วัดเป็นตัวเงินที่ชัดเจน จำนวนคนก็ชัดเจนไปในตัวของมันเอง เอากิจกรรมมาเป็นตัวชี้วัด หรือในกรณีการนำเรื่องเกษตรอินทรีย์มาจับก็เป็นได

ตอนนี้สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการก็คือให้ ผอ.วิมล วัฒนา คุยกับท่านผู้ว่าในเรื่องของการให้ท่านเป็นประธานคุณเอื้อและจัดเวทีทุกเดือน(คุณเอื้อจังหวัด  [ผู้ว่า+นายอำเภอ+ภาคี] ) และเรื่องของการจัดกิจกรรมมหกรรมจัดการความรู้เมืองนครฯ (จัดแบบฉบับของเราโดยเชิญ สคส.มาร่วมด้วย) เอาเป็นว่าหลังจากหารือวันนี้แล้วดูทีม กศน.ทุกคนจะเข้าใจกันมากขึ้น และดูมีความสนุกกับการทำงานนี้มากคะ                หลังจากนั้นก็เริ่มเรียนรู้เรื่องบล็อคกันคะมีภาพมาฝากกันด้วยลองดูนะคะ (..หลังจากนี้คงมีบล็อคเพิ่มขึ้นมาอีกหลายบล็อคทีเดียว) แค่นี้ก่อนนะคะเดี๋ยวค่อยมาเล่าต่อคะ

 

หมายเลขบันทึก: 25950เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท