นาย วรชัย หลักคำเขียนเมื่อ 28 เมษายน 2549 09:36 น. ()
แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2555 13:41 น. ()
หลายคนคงจะสงสัยว่ากลองมันเกี่ยวอะไรกับบั้งไฟ
เกี่ยวมากนะครับ บุญบั้งไฟต้องมีกลองตุ้ม
สมัยก่อนมีการเส็งกลองด้วย กลองที่ใช้เส็ง ( แข่งขัน )
เป็นกลองกิ่ง ไม่ใช่กลองตุ้ม
ลักษณะของกลองตุ้มจะคล้ายกลองเพล แต่เล็กกว่าประมาณ 2 เท่า
เวลาตีใช้คนหาม คนเดินหน้าจะถือขวดสาโทเป็นคนร้องกลอนเซิ้งนำ
คนเดินหลังเป็นคนตีกลองและร้องตาม
เขาทั้งสองต้องเมาพอกันจึงเดินด้วยกันได้
และเซไปเซมาอยู่อย่างนั้น
จังหวะกลองไม่มีอะไรมากตี ตุ้ง...ตุ้ง...ตุ้ง...ตุ้ง...ตุ้ง...
แค่นี้ทั้งวันทั้งคืน สลับกับเสียงเซิ้ง อ้อลืมไปบางทีมี
ผ่างฮาด ( เหมือนฆ้อง แต่ไม่มีปุ่ม ) ตีแทรกด้วย เสียงดัง
ตุ้ง..ผ่าง..ตุ้ง..ตุ้ง..ผ่าง
บางหมู่บ้านพอประชุมกันว่าจะจัดงานบุญบั้งไฟเท่านั้นก็เริ่มเอากลองตุ้มมาตีกินเหล้าแล้ว
กลองตุ้ม
จึงเป็นสัญลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์ของบุญบั้งไฟ ฉะนี้แล
ความเห็น
ผมไปแอบดูการเส็งกลองกิ่งของชาวลาวเวียงที่กาฬสินธุ์มานะครับอาจารย์สนุกมาก
ที่ร้อยเอ็ดคิดว่าน่าจะมีมาก
ที่ยโสธรก็คงเช่นกันเพราะวัฒนธรรมพื้นถิ่นยังไม่เปลี่ยนไปเยอะมาก
อยากให้อาจารย์เอาเรื่องกลองกิ่งมาเล่า
เมื่อปีที่แล้วผมเห็นเขาเอากลองกิ่งอีสานไปโชว์ในรายการ คุณพระช่วย
และการการรำข้ามกลอง
อันนี้ผมงงเพราะเคยถามว่ามีข้อขะลำว่าห้ามข้ามกลอง
อันนี้เป็นอย่างไรอยากให้อาจารย์ให้ความกระจ่างหน่อยครับ
ส่วนที่บ้านลาวเวียง
สนุกสนานมากเสียงกลองดังแสบแก้วหูและที่สนุกคือท่าทางการตีของคนตีกลองที่ดูสนุกสนานมากวันหลังจะเอาภาพมาแลกเปลี่ยนกับอาจารยืนะครับ
บางสิ่งคนสมัยใหม่ก็คิดกันเอาเองแล้วบอกว่าเป็นการพัฒนาซึ่งมันไม่ใช่
พระท่านบอกว่าอย่าทิ้งมูลเดิม
แปลว่าของเก่าเป็นอย่างไรต้องยึดหลักการไว้
ส่วนจะพลิกแพลงอย่างไรก็ให้อยู่ในกรอบ
ผมว่าการเส็งกลองมันเหมือนแข่งขันนกเขา
คือฟังเสียงที่เด่นออกมาจากกลุ่ม บวกกับลีลาท่าทางประกอบ