ถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ :(๑) "พยาบาลชุมชน" นโยบายของชุมชนเพื่อชุมชน


(๑)

จาก การสร้างฐานความเข้มแข็งทางด้านสุขภาพ

จนถึง “พยาบาลชุมชน” เพื่อชุมชน ของชุมชน โดยชุมชน

 

จากประสบการณ์ของโรงพยาบาลน้ำพองโดยนายแพทย์วิชัย อัศวภาคย์ ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาคมตำบลได้ทำการคัดเลือกหนุ่มสาวที่มีจิตอาสาอยากช่วยเหลือคนในชุมชน เพื่อไปเรียนเป็นพยาบาลชุมชนเพื่อจะได้กลับมาทำงานในชุมชน ดูแลผู้ป่วยที่สามารถดูแลกันได้ในชุมชน เมื่อเกินขีดความสามารถก็ส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งพยาบาลชุมชนทำงานอยู่ นอกจากนั้นก็ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ไม่เข้าถึงบริการ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงในขณะเดียวกันโรงพยาบาลชุมชนก็จะมีคนไข้ลดลง ที่สำคัญพยาบาลชุมชนเหล่านี้ดูแลชุมชนคนละ ๑ - ๒ หมู่บ้าน ได้เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันกลุ่มพลังต่างๆช่วยกันควบคุมโรค ช่วยกันคิดหากระบวนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน นอกจากนั้นยังได้ช่วยกันค้นหาเกษตรกรที่ทำเกษตรทฤษฏีใหม่ จนมีเศรษฐกิจพอเพียงและมีสุขภาพที่ดี มาเป็นตัวอย่างในการขยายผลสู่ผู้สนใจคนอื่นๆ ทั้งในชุมชน และนอกชุมชน ทำให้คนในชุมชนอื่นๆที่สนใจได้รับการพัฒนาจนทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย

          ประสบการณ์ของโรงพยาบาลน้ำพอง สามารถดำเนินการได้ดีในวิธีคิดแต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาโจทย์สุขภาวะที่ต้องการได้ ดังนั้นในปี ๒๕๔๘ ทีมงานทั้งสองโรงพยาบาล(โรงพยาบาลน้ำพอง และโรงพยาบาลอุบลรัตน์) ได้มาปรึกษาหารือ เพื่อหาแนวทางในการจัดการเพื่อขยายผล “พยาบาลชุมชน” ร่วมกัน

 

จากการระดมสมอง  ได้แนวทางการดำเนินงานดังนี้

๑.     คัดเลือก เยาวชนจิตอาสา ให้เยาวชนได้มีโอกาสมาบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้ป่วยในช่วงปิดเทอมและช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์

๒.    ให้โอกาสเยาวชนจิตอาสา ที่เข้ามาบำเพ็ญประโยชน์ในโรงพยาบาล ได้มีความมุ่งมั่นอยากเป็นพยาบาลช่วยเหลือคนอื่นๆในชุมชน ได้มีโอกาสเข้าศึกษาในวิทยาลัยพยาบาล หรือคณะพยาบาลศาสตร์ในมหาวิทยาลัย

๓.    พยาบาลในโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง (โรงพยาบาลน้ำพอง และ โรงพยาบาลอุบลรัตน์) เป็นพี่เลี้ยง และมีกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโดยการส่งพี่ลี้ยงเหล่านี้เรียนต่อปริญญาโทด้านการพยาบาลชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและวิจัยการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน สู่การอยู่เย็นเป็นสุข และมีชุมชนที่ร่มเย็นเป็นสุข

๔.    เพื่อให้เกิดความครอบคลุมในการดูแลผู้ป่วย และสร้างสิ่งที่ดีๆเช่นนี้ให้เกิดขึ้นเต็มพื้นที่ มูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จังหวัดขอนแก่น ได้จัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาสู่เศรษฐกิจพอเพียงและสุขภาพดีแก่พยาบาลชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนพร้อมครอบครัว

จัดทำแผนขยายผลร่วมกับ อบต. และเทศบาล ให้มีพยาบาลชุมชนหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ดูแลชุมชน ๑ คน ต่อ ๒ หมู่บ้าน ถึง ๑ คน ต่อ ๑ หมู่บ้าน

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๒๔ เม.ย.๕๒

หมายเลขบันทึก: 257086เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2009 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บทเรียนนี้ ใกล้กลายเป็น "หนังสือเล่มเล็ก" หรือยังครับ :)

ย้าว ยาว นะครับ

การรักษาพยายาลจะมีประสิทธิภาพ มีดรรชนีชี้วัดหลายตัว
1. ปริมาณคนไข้ ต่อวัน
2. บุคคลากร เช่นแพทย์ เภสัชกร พยาบาล

เท่าที่ผ่านมา รพ.ชุมชน มีศักยภาพหลอกๆ ไม่แตกต่างจากสถานีอนามัย
คือมีแพทย์เพียง 3 ท่าน
1 ท่านก็เป็น ผอ. ทำหน้าที่บริหาร
1 ท่านเป็นแพทย์ประจำ
อีก 1 ท่านเป็นแพทย์ฝึกหัด

คนไข้วันละเป็นร้อย แพทย์แค่นี้รับมืออย่างไรได้
อยากทราบว่า รพ. ชุมชนที่กล่าวถึง มีแพทย์เฉพาะทางหรือไม่ กี่ท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท