คนไทยเชื่อทุกอย่างที่ "อ่าน" หรือ "ฟัง" แต่ขาดการ "คิดวิเคราะห์"


จากหัวข้อข่าว "อ.จุฬาฯ ห่วงเด็กไทยคิดเองไม่เป็น เชื่อจากที่อ่าน-ฟัง" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ ฉบับวันที่ 21 เมษายน 2552 ...

 

เนื้อข่าว มีดังนี้

วันนี้ (21 เม.ย.) นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ศูนย์ภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ จัดการทดสอบวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทย ทักษะการเขียนภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับบัณฑิต เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้ประกอบการในการรับบัณฑิตเข้าทำงาน เนื่องจากภาษาไทยมีความสำคัญและเป็นรากฐานต่อการเรียนรู้ภาษาอื่นๆ อีกทั้งมีความจำเป็นมากในการประกอบอาชีพ หลายบริษัทรู้สึกกังวลมากเมื่อพนักงานที่รับเข้าไปแล้วไม่สามารถสรุปบันทึกการประชุม ร่างจดหมายโต้ตอบได้ ทำให้มีปัญหาต่อการทำงาน จุฬาฯ จึงมอบหมายให้ศูนย์ภาษาไทยสิรินธร ซึ่งดูแลการใช้ภาษาไทยของนิสิตจุฬาฯ อย่างครบวงจร ตั้งแต่ปี 1 กระทั่งจบการศึกษา และจะเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าทดสอบด้วย

อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวด้วยว่า สังคมไทยขณะนี้รับข้อมูลแล้วจะเชื่อทันที ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน และอื่นๆ มีมากมาย แบบทดสอบวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทย ของศูนย์ภาษาไทย เป็นแนวทางหนึ่งที่จะสอนให้นิสิตรู้จักคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้อง

ด้าน ดร.เทพี จรัสจรุงเกียรติ รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์ภาษาไทยสิริธร จุฬาฯ กล่าวว่า แบบทดสอบวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทยนั้น อยู่บนพื้นฐานที่ว่า นิสิตมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยที่ดีพอควร แต่สิ่งที่น่าตกใจและน่าเป็นห่วงของเด็กไทยและสังคมไทยคือ คนไทยเชื่อทุกอย่างที่อ่านหรือที่ได้รับฟัง สิ่งที่ขาดคือ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ว่า ข้อมูลใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ และความสามารถในการสกัดข้อมูลและตัดสินใจบนความถูกต้องและสามารถสื่อสารการวิเคราะห์ และความคิดเห็นของตนเองออกไปด้วยภาษาไทยที่ผู้อื่นเข้าใจ

 

......................................................................................................................................

 

การที่คนไทย "อ่าน" หรือ "ฟ้ง" แล้วเชื่อ เชื่อแล้วนำมาใช้ นำมาปฏิบัติกัน โดยขาดการ "คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์" น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ซึ่งการ "อ่าน" หรือ "ฟัง" ก็ยังผลมาจากสื่อมวลชนที่ง่ายต่อการเข้าใจถึงในปัจจุบัน สื่อไม่ได้มีจรรยาบรรณทั้งหมด สื่อเอียงข้างไหน หากใจไม่เป็นกลาง ก็จะเชื่อ จะฟัง จะทำตามอย่างง่ายดาย บางทีอาจจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับบ้านเมืองและประเทศชาติโดยไม่รู้ตัว แต่กลับมีความเชื่อว่า เราทำดี คนอื่นเดือดร้อน ถือเป็นความเสียสละ น่าตกใจมาก

ผมได้มีโอกาสสอนนักศึกษา สร้างสถานการณ์การเรียนการสอนให้นักศึกษาได้มีโอกาสคิดวิเคราะห์ แต่ผลที่ได้รับกลับไม่น่าพอใจเท่าไหร่ ให้ไปหาบทความเกี่ยวกับ "สื่อทางไกล" มา กลับได้บทความที่เกี่ยวกับ "การศึกษา" มาแทน ร้อยละ 20 - 30 เชียวนะครับที่หามาผิดตลอด

ถามนักศึกษาว่า ได้อ่านบ้างหรือเปล่า บทความที่หามาว่า เกี่ยวกับ "สื่อทางไกล" ไหม ... คำตอบคือ ไม่ได้อ่านทั้งบทความแล้ววิเคราะห์ แต่เห็นหรืออ่าน และพบ แค่คำว่า "วิทยุ" "โทรทัศน์" "คอมพิวเตอร์" "อินเทอร์เน็ต" แล้วนักศึกษาคิดว่า ใช่แล้ว ... ถอนหายใจไปหลายเฮือกเลยผม

ผมในฐานะครูสอนครู ยืนยันในวิธีคิดของเด็กรุ่นใหม่ว่า เด็กไทยอ่านแล้วเชื่อ ฟังแล้วเชื่อ แต่ไม่ใช้วิจารณญาณวิเคราะห์สังเคราะห์ให้ดีว่า ควรเชื่อ หรือ ไม่ควรเชื่อ

น่าเป็นห่วงชะมัด ... นี่มันเข้ากรอบ "สังคมปรนัย" หรือเปล่าครับเนี่ย

อยากให้ทุกคนช่วยการสอนเด็กให้รู้จักการวิเคราะห์ สังเคราะห์มากขึ้นนะครับ

อนาคตจะได้ไม่มีใครฟังวิทยุชุมชน ใครดูสถานีโทรทัศน์ที่เอาแต่สร้างข่าวเข้าข้างตัวเอง อ่านเว็บไซต์ แล้วเชื่อทั้งหมดในสิ่งที่ได้ "อ่าน" และ "ฟัง" แต่ไม่ได้ใช้มันสมองคิดไตร่ตรอง

บุญรักษา ทุกท่าน :)

 

.......................................................................................................................................

 

แหล่งอ้างอิง

ทีมข่าวการศึกษา.  "อ.จุฬาฯ ห่วงเด็กไทยคิดเองไม่เป็น เชื่อจากที่อ่าน-ฟัง", ไทยรัฐออนไลน์. 21 เมษายน 2552. http://www.thairath.co.th/content/edu/1027.

 

หมายเลขบันทึก: 256623เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูไม่เชื่อที่อาจารย์เขียนในบันทึกนี้หรอกน่ะ

อิอิ หนูยังไม่ได้อ่านค่ะ

แต่มาทำเป็นว่า อ่านแล้วยังไม่เชื่อไงค่ะ

อิอิ แป่วปู้ด แป่วปู้ด ค่ะอาจารย์

อ๋อ แบบนี้นี่เอง

ใช่แล้วค่ะ อย่างที่เค้าบอกไว้

ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่

มีความรู้ที่ไหนก็ให้อ่านให้ฟังให้เห็น

เป็นการเปิดสมอง

แต่ไม่ใช่ลบสมองหรือบรรจุสมอง

แค่เปิดให้คิดและวิเคราะห์ตามไปด้วย

โอ้โห ดีจังเลยค่ะ

ขอบคุณน่ะค่ะอาจารย์

ขอบคุณครับอาจารย์

  • "แต่กลับมีความเชื่อว่า เราทำดี คนอื่นเดือดร้อน ถือเป็นความเสียสละ" >> อันนี้เคยได้ยิน (ไม่ใช่เด็กพูด)
  • เสนอว่าควรฝึกให้แต่งความเรียงมากๆๆ ให้รู้ว่าส่วนไหนเป็นสิ่งที่อ้างและสิ่งไหนเป็นความคิดของตน (เหมือน หรือแตกต่าง)

 

ขอบคุณ ท่านอาจารย์ พันคำ สำหรับคำเสนอแนะ ครับ :)

สังคมไทย ไม่ใช่มีแค่ตัวเลือก ก ข ค หรือ ง เท่านั้นแน่ ๆ ครับ

ช่วยกัน ๆ ครับ :)

สวัสดีค่ะ อาจารย์หนอนเสือ

เชื่อเรื่องที่ส่งให้ไหมค่ะ

เออ คุณ ครูเอ ครับ ... เดี๋ยวขอกลับไปตั้งใจอ่านก่อนนะครั

แหม พลัดกันมาเม้นท์นะครับ ตะกี้ ผมอยู่ที่ "เชียงรายรำลึก" ของใครบางคน :)

เด็กก็อ้างในใจว่าครูบอกไม่เคลียร์ละเหี่ยใจ

สวัสดีค่ะพี่อ. Wasawat Deemarn

ใจตรงกันซะงั้น ว่าจะเขียนบันทึกถึงข่าวนี้อยู่พอดีเลยค่ะ :)

(เพิ่งอ่านจากไทยรัฐเมื่อกี้นี่เอง อิอิ)

อ่านข่าวนี้แล้ว ก็ย้อนกลับมาคิดว่า จริงเหรอ? คำตอบที่ได้ก็คือ อืม ใช่เลยแหละ เราก็เคยเจอมานี่นา เด็กอย่างนี้ เฮ้อ!!

ทำให้นึกถึงคำสอนในเรื่องกาลามสูตรของพระพุทธเจ้า แล้วก็นึกไปถึงว่า แล้วเราจะใช้เทคนิคอะไรดีนะในการสอนเด็กให้รู้จักคิดวิเคราะห์นะ?

โดยส่วนตัวคิดว่า เราสามารถปรับหลักคำสอนในเรื่องกาลามสูตรมาใช้เป็นเทคนิคในการสอน ก็คงช่วยได้  เช่น อย่าเพิ่งเชื่อครูนะ.. คิดดีๆซะก่อน หรือ แน่ใจแล้วเหรอ? มีเหตุผลมั้ย?

อย่างน้อยก็ทำให้เค้าเกิดอาการสงสัย ใคร่รู้ แล้วก็ตื่นคิดตามมา

ว่ามั้ยคะ?

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตามมาอ่านเพราะรู้สึกเหมือนมีพรายกระซิบว่าอาจารย์กำลังจะตกผลึกเรื่องความเหลื่อมล้ำทางความรู้ค่ะ

วิธีการของเด็กส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือการใช้คำสำคัญค้นหาจากใยแมงมุม หลังจากนั้นก็ตัดๆ แปะๆ และส่งๆ อาจารย์

แต่อาจารย์ห้ามถามว่ามาจากไหนหรือมีเนื้อหาข้างในว่าอะไร เพราะคำตอบคือยิ้มๆ ให้คิดเอาเอง

ถ้าบันทึกฉบับนี้มีความหมายคล้ายๆ ที่กล่าวไปข้างต้น ก็แสดงว่าสี่ใกล้จะได้อ่านบันทึกดีๆ ที่มีคำสำคัญว่า digital divide แล้วใช่ไหมค่ะ

จะรอบันทึกอันเฉียบคมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

เห็นด้วยครับ :)

ตามความคิดของผม ผมว่าอาจจะเป็นที่วิธีการสอนของเรามาตั้งแต่เด็กก็ได้นะครับ การสอนของบ้านเรามักจะเป็นแบบ Spoon-fed ก็คือป้อนให้เด็กมาตลอด อยากให้เด็กรู้อะไร เราก็ป้อนให้ ... อาจจะทำให้เขาติดกับภาพที่ว่า อะไรที่รับมาก็เชื่อถือได้ ขอให้ไม่ขัดกับความคิดของตนจนเกินไป

สวัสดีครับ น้องอาจารย์  หัวใจติดปีก :)

ใจตรงกันเลยเหรอ คุณครู :) ... เขียนได้นะ

มีเทคนิคการสอนหลายเทคนิคที่มีการปรับใช้มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ครับ ... เคยได้ยินไหม "การสอนแบบโยมนสิการ" :)

ทำให้เกิดความสงสัย แล้วหาคำตอบ ถามครู ครูก็ถามว่าคิดว่ายังไง เป็นเปิดโอกาสให้ลองคิด แบบนี้ก็ โสคราติส ครับ

ว่าด้วยครับ 555

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ เจ้าหนูจำไม น้อง สี่ซี่ :)

พรายที่ไหนมากระซิบกันครับ ... ผลึกไม่มีสักก้อนเลยนะ

หัวมันกลวง ๆ ครับ

การครูบอกให้นักศึกษาทำรายงาน ... ก็อย่าลืมบอกว่า ห้ามทำอะไรบ้าง เช่น ห้าม COPY and PASTE ... เพราะอย่างไรครูก็จับได้

แต่นักศึกษาเขาไม่เชื่อหรอกว่า อาจารย์อะไรจะอัจฉริยะขนาดนั้น ดังนั้น ในงานชิ้นแรกจึงเป็นการ "ล่อเสือออกจากถ้ำ" ก่อน แล้วก็ "เชือดไก่ให้ลิงดู" หลังจากนั้น ภาพรวมของนักศึกษาที่รับรู้ว่า อาจารย์เอาจริงในเรื่องที่ห้าม บัดนั้น เค้าจะรู้แล้วว่า อะไรที่อาจารย์ต้องให้นักศึกษาคิด อะไรคือสิ่งที่ไม่ต้องการให้ทำ

โหดม่ะ ... เทคนิคนี้ ... แต่ได้ผลดีสำหรับห้องที่มีนักศึกษาขี้โกงเยอะ ๆ ... แล้วบางทีก็เกิดการหนีตาย ไปดร็อปหนีหมด ... อาจารย์ก็ต้องทำใจนิดนึง แต่หากวิชานี้บังคับเรียน เดินไปบอกหัวหน้าสาขาว่า ผมของสอนวิชานี้คนเดียว ไม่ว่าจะดร็อปตอนนี้ หรือมาเรียนใหม่ในอนาคต ก็เจอผมสอนอยู่ดี :)

บันทึกผมไม่มีอะไรเฉียบคมเลยนะ น้อง สี่ซี่ เอ้ย ... มีแต่ทู่ ๆ กลวง ๆ จริง ๆ นะ ผมยังรู้สึกยังนั้นเลย

แต่ก็ขอบคุณนะครับที่แวะมาคุยเป็นเพื่อนทุกวัน 555

สวัสดีครับ อาจารย์ ปริญญา :)

สบายดีนะครับช่วงนี้ ...

การเริ่มต้นรากฐานการศึกษาบ้านเราเกิดจากการสอนให้จำ ทำให้เลียนแบบน่ะครับ ... ไม่ได้สอนให้คิดเป็น ทำเป็น ทำแบบสร้างสรรค์ ครูมักจะมีกรอบความคิดมาครอบเด็กอยู่เสมอ หากเด็กออกนอกกรอบ ครูบอกว่า ผิด ซึ่งในชีวิตประจำวัน นั่นอาจจะเป็น "นวัตกรรมใหม่" ก็ได้

พอยุคต่อมา ใครก็ไม่รู้บอกครูว่า ให้สอนแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง ... ถือว่า คิดดีกว่าสมัยก่อนที่ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เวลาปฏิบัติจริง ครูยังวนเวียนอยู่ที่การสอนเมื่อ 10 - 20 ปีที่แล้วโน้น ... ระเบียบออก แต่ไม่ได้ทำอย่างชัดเจน

พอปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้าขีดพัฒนาสูงสุดมากขึ้น ... ครูชักเริ่มตามไม่ทัน ตามทันแต่ไม่ค่อยไว้ใจ เลยสอนเหมือนเดิมอีก

เอ ไม่ควรโทษครู เพราะครูจะบอกว่า กระทรวงฯ ให้นโยบายทำผลงานวิชาการมาเพื่อยกระดับวิทยฐานะ เลยไม่มีเวลาให้กับการสอนมากเท่าที่ควร ครูคนไหนสนใจเด็กมากเกินไป ก็แป๊ก เงินไม่ขึ้นเหมือนครูที่ไม่สนใจเด็ก

บาปกรรมจากกระทรวงศึกษาฯ ... ฆ่าประเทศตัวเองชัด ๆ

ขอบคุณมุมมองของอาจารย์มากครับ :)

หุหุ..อาจารย์ขาต้องระวังให้ดีเน้อถ้าล่อเสือออกจากถ้ำแล้วมานั่งเชือดไก่ให้ลิงดูมีหวังทั้งอาจารย์ทั้งไก่ไปอยู่ในท้องเสือแล้ววว..ส่วนลิงไวปานวอกรอดแน่เพราะมาแค่รอดู

ขอบคุณที่คุณครู เตี้ยอึด แวะมาพรวนบันทึกให้ครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท