คู่..ค้ำ-ยัน


คู่ค้ำ-ยัน คู่นี้เขาคือกระดูกของขาท่อนล่างของพวกเรา.......กระดูกส่วนน่องนั่นเอง

ลองมองเป็นภาพสามมิติและใส่โครงตึกเข้าไปสิครับ

 

คู่ ค้ำ-ยัน

 

เขียนบันทึกสนุก ๆ สั้น ๆ

”คู่ “เนื่องจากเห็นสาวรำวงและคู่ในงานสงกรานต์

เพื่อคลายเครียด

 

เปิดดูบันทึกของลูกชาย ซึ่งเขียนบันทึกค่อนข้างตามวัย(โจ๋) คือมีภาพแปลก ๆ ภาพที่เขาสนใจ(แต่แม่ท้วงเขานิดแล้วว่า..บางภาพรู้สึกสยอง ๆ.หน่อยหนา) 

เนื่องจากเราให้สิทธิส่วนบุคคลเขา เราจึงไม่ได้ยุ่งอะไรเขามาก

เขาคงรอรวบรวมวิทยาศาสตร์แปลก ๆ อยู่  จึงยังไม่มีของแปลกมาโชว์

แม่เห็นภาพ กระดูก”คู่”นี้  (ในบันทึกลูก)

นึกถึง  สิ่งนี้ขึ้นมาค่ะ

คู่ ค้ำ-ยัน

 

กระดูกอันใหญ่กว่า อ้วนและแบน ชื่อว่า Tibia เขาดูแข็งแรง

ดูสำคัญกว่ากระดูกคู่ท่อนผอมที่อยู่เคียงข้างที่ชื่อว่า Fibula

หากในมุมมองของดิฉัน

เขาทั้งคู่ คือ คู่ค้ำ-ยัน  กันตัวจริง

 

การเดินของมนุษย์จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่าง smooth ถ้าขาดเจ้าผอม Fibula

 แม้แน่นอนว่า Tibia พี่ใหญ่ดูคล้ายเป็นเสาหลัก

(ของอาคารที่ลูกชายเขียนถึง-ซึ่งแม่ก็ต้องใช้เวลานาน..ในการจินตนาการ..เช่นกัน)

*ขออนุญาตยังไม่กล่าวถึงระบบการเดินที่ครบครัน ที่ต้องอาศัย กระดูกหัวเข่า-หรือกระดูกสะบ้าตามคำไทยโบราณ กระดูกเท้า กระดูกตาตุ่มและกระดูกท่อนขาใหญ่ อีกหลายกลุ่มกระดูกนะคะ

 

ค่อย ๆ ดูตามภาพนะคะ

บนสันของกระดูกทั้งคู่ในแนวดิ่ง ไล่ขึ้นไปถึงส่วนที่บานออกคล้ายหัวของกระดูก

จะมีปุ่มปม(tubercle) สัน(condyle) หรือจุด(tuberosity) เอ เรียกว่ารอยนูน(eminence)ดีกว่า เพ่งหน่อยนะคะ

ปุ่มปม สัน จุด หรือรอยนูนเหล่านี้ ของเจ้าอ้วน-ผอม

คือจุดรับการเกาะของเอ็นของกล้ามเนื้อหลาย ๆ มัดเชียวค่ะ

 

การเดินของคนเราอาศัยการ ยืด-การหด ของกล้ามเนื้อนี้

ซึ่งกล้ามเนื้อนี้จะลอย ๆ อยู่ได้อย่างไรในร่างกายเรา

ถ้าไม่มี ปุ่มปม สัน จุด หรือรอยนูนของเจ้ากระดูกอ้วน-ผอมคู่นี้ ให้เกาะ

 

การก้าวเดิน ยกเท้า..ขอโทษอีกนิดที่จะเพิ่งบอกว่า

คู่ค้ำ-ยัน คู่นี้เขาคือกระดูกของขาท่อนล่างของพวกเรา

กระดูกส่วนน่องนั่นเอง

 

การก้าวเดิน ยกเท้า(เล่าต่อ)  การเลี้ยว

การเดินสง่าดั่งพญาหงส์ของนางงาม

การเดินซอยเท้า

แม้กระทั่งการวิ่ง

 

เจ้าอ้วน-ผอมคู่นี้ ต้องสมบูรณ์ อยู่เคียงกันแต่คล้ายแค่แตะกันในบางจุด

(สังเกตภาพ)

เพื่อให้การทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่กล่าวถึง..ทำงานอย่างเรียบร้อยถูกต้อง

 

........            ........

เหมือนชีวิตคู่ หรือเปล่า

<3<3<3<3

เคียงคู่กัน ใกล้ชิดปรึกษากัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย

ค้ำ(จุน)-(ผลัก)ยัน กันในบางช่วง

มีช่องว่างระหว่างกันบ้างในบางครั้ง

 

คุณ-ฉัน เราอาจมีบางบทบางตอน ละครแห่งชีวิตใกล้ชิดกันดี

ขณะใดขณะหนึ่ง เราอาจจำต้องขอเวลานอก

คิดทบทวนคำนึงถึงบางเรื่องบางสิ่งตามลำพัง

 

แต่

เรา

ก็คือคู่ค้ำ-ยัน

ดั่งกระดูกคู่นี้

 

Tibia-Fibula กระดูกคู่อ้วน-ผอม(คู่แท้ทุกชาติ) 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 255385เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2009 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • มาศึกษากระดูกขาท่อนล่าง..อธิบายง่ายง่ายเข้าใจง่ายดีนะคะ
  • ได้เพิ่มความรู้ขึ้นมาอีก
  • สรุปสุดท้ายคุณภูสุภา ยังโยงมาเรื่องที่ไม่เครียดได้ดีอีกด้วย
  • เป็นยอดนักเขียนจริงจริงนะคะเนี่ย..นับถือนับถือ

คู่ค้ำยัน เห็นแล้วอดคิดถึงหุ่น-กระดูกจำลองของคุณพ่อหมอไม่ได้ ตอนเด็กๆ ไปช่วยงานคลีนิกด้วยเมื่อไร ชอบรื้อออกมาเล่นแล้ววางใส่กลับคืน เห็นเป็นจิ๊กซอว์ไปได้....ขอบคุณความรู้เรื่องคู่ค่ะ

อธิบายเห็นภาพเลยนะคะ
แต่ อ้วน-ผอมคู่แท้กันทุกชาติ คือ คำอธิษฐาน ใช่ไหมคะ อิๆๆๆ
มีดอกสร้อยระย้า มาฝากค่ะ   มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Chandelier Tree, Showy Melastome, Showy Medinilla, Malaysian Orchid

P  วันนี้ใช้ เขา-คู่ค้ำยันจนคุ้มเลยค่ะ วิ่งเล่นฉีดน้ำกับลูก เพื่อนลูก สลับกับวิ่งเข้ามาดูข่าวทีวี

เมื่อยน่องทั้งสองข้างเลย จึงคิดถึงและขอบคุณ เขาขึ้นมาทันทีทันใดเลยค่ะ เขียนถึงเขาแบบสด ๆ ถ้างงตรงไหนถามได้ค่ะ แต่เกรงว่าจะอธิบายไม่ละเอียดเท่ากลไกอันสุดยอดมหัศจรรย์...ของ...

 

ร่างกายเรา ค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ P

แวะมาหา คู่ค้ำยัน
ได้ อะไรมาก มาย ใน ชีวิต คนเรา เลย นะครับ
ขอบพระคุณ ครับ
  • อุปมาอุปไมยได้งดงามมากค่ะ  รู้สึกว่าเป็นคู่ที่ขาดกันไม่ได้เลย ต้องค้ำและยันกันจนตาย...อิอิอิ
  • คุณภูสุภามีอารมณ์สุนทรีย์ในการนำเสนอบันทึกมากเลยค่ะ อ่านแล้วสบายตา (ภาพประกอบ) สบายใจ (tone ของเนื้อหา)
  • เคล็ดลับเกี่ยวกับสติ และข้อแนะนำในการเป็นวิทยากร ซึ่งให้ไว้ในบันทึกศิลา มีคุณค่ามากค่ะ  อ่านแล้ว ทบทวนแล้ว เหลือนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริงค่ะ  ขอบพระคุณมากมายค่ะ ที่แนะนำแลกเปลี่ยนจากปัญญาปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นการให้ด้วยความมีเมตตาต่อศิลาอย่างมาก ทำให้เห็นภาพประสบการณ์ที่ทรงคุณค่า หาในตำราไหนก็ไม่มีค่ะ  ...ประทับใจอย่างยิ่ง... 
  • ขอให้มีความสุขมาก ๆ ค่ะกับคู่ค้ำยันในครอบครัวเรา  ได้คู่ดีมีพลังอย่างนี้นี่เอง อิอิอิ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วยิ้มเลยค่ะ....

ให้ความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์และครอบครัวศาสตร์ไปพร้อมกัน

(^___^)

P  สมัยเรียน gross เพื่อน ๆ แอบเอากระดูกท่านอาจารย์ใหญ่ไปท่องที่หอพัก แล้วก็มีเรื่องมาเล่ากันตอนเช้าเรื่อย..ค่ะ

P มีดอกสร้อยระย้า มาฝากค่ะ   มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Chandelier Tree, Showy Melastome, Showy Medinilla, Malaysian Orchid

ดอกงาม ชื่อเพราะ

น่าไปหามาเลี้ยง เลี้ยงยากไหมคะ พี่คะ

สวัสดีค่ะ

มิน่าล่ะที่คนชอบเรียกคู่รักกันว่า เนื้อคู่...กระดูกคู่ ขอบคุณความรู้ที่คุณหมอนำมาฝากนะคะ จำได้แต่คำว่า Tibia กับ fibula ค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ..คุณหมอ

น่ารักจังค่ะ..ช่างคิด

..คู่แท้ทุกชาติ..

ตอนนี้ต้องดูแลเขาให้ดีขึ้นค่ะ..คู่ค้ำยัน..นี่

ชีวิตขาลงนี่ต้องทะนุถนอมให้มากเลยนะคะ

คุณหมอสบายดีนะคะ

ระลึกถึงเสมอค่ะ

 

P แสงแห่งความดี

 
สวัสดีค่ะ

ชื่อเพราะเปี่ยมความหมาย ไปเยี่ยมที่บล็อกมาแล้วนะคะ ภาพสวยมาก ๆ ค่ะทำเอาคนที่รามือกับกล้อง ต้องไปรื้อกล้องมา..เล็ง ๆ ใหม่ แต่ยังไม่อยากออกไปถ่ายรูปค่ะ

ร้อนอากาศ ร้อนการเมือง มือไม้ และใจยังไม่...นิ่ง...พอ 

สวัสดี เจ้า  คุณหมอ 

 

เรา  หมายถึง   คู่  นี้  ใช่มั๊ย  ค่ะ  คุณหมอเล็ก 

 

คู่ค้ำ-ยัน

 

ดั่งกระดูกคู่นี้

 

Tibia-Fibula กระดูกคู่อ้วน-ผอม(คู่แท้ทุกชาติ) 

  ด้วยความระลึกถึง  นะคะ

P Sila Phu-Chaya
พิมพ์เสร็จ เครื่องรวน เฮ้อ อากาศร้อนแม้แต่เครื่องคอมพ์ยังรวน จะต้องเข้าใจจิตตนนะคะ

เมื่อกี้ลูกเอาโมเด็มใส่ถุงพลาสติคแช่ช่องทำน้ำแข็ง แล้วรีเซ็ตใหม่ ปรากฎว่าได้ผลค่ะ

ใจจริงเพียงนั่งนึกจินตนาการตามรูป กระดูกคู่นี้ที่ลูกชายไปหามาใส่บันทึกเขา ว่าเหมือนโครงของตึกอย่างไร

นั่งมอง ๆ กลับได้บันทึก นี้แทนค่ะ

ขอบคุณที่คุณศิลาชอบค่ะ

P   ดีใจค่ะ ที่น้องโหล.. คนไม่มีราก  ยิ้มได้กับบันทึกนี้ ซึ่งเกิดขึ้นมาในเสี้ยว(5)นาทีค่ะ

            มุมมองของลูกชายมองเป็นตึก

            แม่มองเป็นคู่-ค้ำยัน..

กว่าจะมาตอบครูอรวรรณ หนึ่งปีกว่าผ่านไป ไวเหมือนโกหก

การเมืองของบ้านเมืองเรา ยังซ้ำเดิม เหมือนโกหก ด้วยเช่นกัน

P

ครูอรวรรณ

 

 

 

Ico32

ศน.อ้วน

วันนี้นอนดึกมาก จึงได้ฤกษ์มาตอบพี่อ้วน เกินหนึ่งปีไปแล้ว

คู่ค้ำ-ยันของเรา นอนอยู่ที่โน่น ที่นี่ บ้าง..วันนี้นอนไทเป ค่ะ

และ อีกไม่นาน เราเองเป็นคนที่ต้องไปนอนอยู่ในแดนไกล เมืองปลาดิบ คงได้มีเวลาเขียนอะไร ๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวม้าก มาก (เป็นคนเขียนเรื่องแต่งไม่เป็น เขียนได้แต่เรื่องจริง เรื่องเล่าจากเรื่องจริง ค่ะ)

คงมีเรื่องเครื่องใน(อวัยวะ)ภายในตัวเรา มาเล่าสู่กันฟังค่ะ เพราะหัวข้อที่ได้รับมอบหมายไปศึกษา วิจัย คือ โรคของกล้ามเนื้อ โดยศึกษาถึงระดับโมเลกุลชีววิทยา..โน่น...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท