การจัดเสวนาการจัดการความรู้ “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง”(บทเริ่ม)


แผนในแต่ละครั้งได้นำหลักตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า

ความเป็นไปเป็นมา

จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่ผลิตมันสำปะหลังในปีการเพาะปลูก 2551/2552 จำนวน 94,272 ไร่ คาดการณ์ผลผลิตประมาณ  355,500 ตัน พื้นที่การเพาะปลูกอยู่ในเขตอำเภอหันคา ร้อยละ 57 และในเขต อำเภอเนินขาม วัดสิงห์ และ หนองมะโมง ร้อยละ 17.9, 16 และ 9.3 ตามลำดับ มีแหล่งรับซื้อหัวมันสำปะหลังหรือลานตากมัน ประมาณ 17 แห่ง สำหรับพื้นที่ปลูกดังกล่าวร้อยละ 90 อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรส่วนใหญ่ พบปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์มันสำปะหลังที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่   ผลผลิตเฉลี่ยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม เช่นการเร่งเก็บเกี่ยวในขณะอายุยังไม่เหมาะสม

แนวทางแก้ปัญหา

เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังในเขตอำเภอหันคา  เนินขาม วัดสิงห์ และหนองมะโมง ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการจัดเสวนาการจัดการความรู้ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังภายใต้โครงการ ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ดีเพื่อผลิตพลังงานทดแทน : เอทานอล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 เพื่อให้เกษตรกรผลิตมันสำปะหลังแบบผสมผสาน ให้ได้ผลผลิตสูงและอย่างยั่งยืน การจัดจัดเสวนาได้นัดเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ อำเภอละ 20 คนยกเว้นเนินขามที่มี 21 คน รวม 81 คน เข้าร่วมพูดคุยเสวนาปัญหาและหาแนวทางแก้ปัญหาการผลิตมันสำปะหลังร่วมกัน .

กำหนดการ

เพื่อการดำเนินงานตามที่วางแผนการจัดการไว้  ในเดือนในเดือนมีนาคม 2552  จำนวน  4  ครั้ง  ดังนี้

ครั้งที่  1 วันที่ 24 มีนาคม 2552    ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 5 ต. หนองขุ่น อ.วัดสิงห์

ครั้งที่ 2  วันที่ 25 มีนาคม 2552    ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำ ต.ไพรนกยูง

ครั้งที่ 3  วันที่ 26 มีนาคม 2552    ศาลาวัดพุน้อย  หมูที่ 6  ต. สะพานหิน  อ.หนองมะโมง

ครั้งที่ 4  วันที่  27 มีนาคม 2552 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 13  ต.กระบกเตี้ย อ.เนินขาม

หลักสำคัญที่นำมาใช้เพื่อการจัดการ

แผนในแต่ละครั้งได้นำหลักตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า คือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

1. ทุกข์  คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น  2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  และ4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์   เป็นแนวทางที่ได้กำหนดแนวทางโดยให้ผู้เจ้าร่วมเสวนาช่วยคิดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง  การค้นหาปัญหาจากการพิจารณาถึงต้นทุนของการปลูกมันสำปะหลัง  และการหาแนวทางการแก้ปัญหา ต่อไป  การดำเนินงานไม่เร่งรีบนักเนื่องจากยังมีเวทีอีก 3  ครั้ง เป้าหมายของการดำเนินงาน คือเกษตรกรที่เข้าร่วมเสวนา ได้เรียนรู้ถึงเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่มีประสิทธิภาพตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในทุกขั้นตอนการผลิต  ได้ได้พบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายของเกษตรกร  รวมทั้งความรู้การผลิตมันสำปะหลังแบบผสมผสาน เพื่อทำเอกสารเป็นการจัดการความรู้เพื่อเก็บไว้ได้นำไปใช้ได้อีกต่อไป

สิ่งที่เป็นกังวลของการจัดเสวนา

ความสำเร็จของงานนี้สิ่งที่เป็นกังวลมากที่สุดคือการให้ความร่วมมือของผู้เข้าร่วมโครงการ  ในการเข้าร่วมเสวนาในแต่ละครั้ง เนื่องจากในช่วงนี้โครงการต่างๆ ที่ดำเนินงานในพื้นที่จะต้องเร่งการใช้งบประมาณให้แล้วเสร็จ  เป็นสิ่งที่หนักใจแก่เจ้าหน้าที่ที่สุด เพราะในจิตใจของข้าราชการต้องการผลของงานที่มีประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร จึงไม่ต้องการเร่งรีบในการใช้งบประมาณมากนัก  เพราะถ้าแต่ละคนเร่งจัดอบรมความรู้ให้แก่เกษตรกรพร้อมๆ กัน จะกลายเป็นการรบกวนเวลาการทำงานของกเกษตรกร  ดังคำที่ผู้เขียนได้รับฟังจากเกษตรกรที่ว่า  บ้านของเขาเสียแรงงานจำนวน 1 คน เพื่อมอบหมายให้ไปร่วมการประชุมและอบรมกับทางราชการ 

ปัญหาแบบนี้ 

การนำความรู้สูเกษตรกร  วิทยุกระจายเสียง และหอกระจายข่าว ยังคงอยู่ในใจและเป็นแนวทางการส่งเสริมการเกษตรแบบมวลชนที่  ต้องการ เพียงแต่รอการสนับสนุนจากผู้บริหารมอบงานให้เจ้าหน้าที่(การให้ความสำคัญ เห็นเป็นงานหนึ่งและงานหลักของการส่งเสริมการเกษตรมิใช่อยากทำก็ทำไป)  เจ้าของสถานีควรให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนการจัดรายการเพื่อการถ่ายทอดความรู้เพื่อการเกษตร(จัดฟรีไม่มีรายจ่าย) และการส่งเสริมให้มีการรับฟังของเกษตรกรอย่างจริงจัง(มากกว่ารับฟังแต่เสียงเพลง)  อีกประเด็นหนึ่งคือการให้ความอนุเคราะห์จากผู้ควบคุมหอกระจายข่าวเปิดให้ประชาชนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง(บังคับให้ฟังและทนฟังเสียงบ่นของเพื่อนบ้านหน่อยนะ)   แบบนี้ฟังทีเดียวพร้อมกัน ประหยัดเวลา และประหยัดงบประมาณได้มากเลยครับ

สถานีวิทยุที่น่าสนใจ 2 สถานีในหลายสถานีที่สนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตร คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร   AM 1386 MHz เป็นสถานีที่มอบความรู้การเกษตรให้แก่เกษตรกรมาอย่างยาวนาน และอีกสถานีหนึ่งคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดชัยนาท FM 91.75 MHz   ถ้าท่านผู้อ่านขับรถผ่านมาลองเปิดรับฟังนะครับวันเสาร์ เวลา 05.30 น.รายการเกษตรรับอรุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 253732เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท