จิตตปัญญาศึกษากับ KM (1)


         วันที่ 12 เม.ย.49  รศ. ประภาภัทร  นิยม กับคุณแหวน (กิติยา โสภณพานิช) ลูกสาวคุณหญิงกัลยา โสภณพานิช  มาคุยเรื่องการดำเนินการด้านจิตตปัญญาศึกษา (contemplative education)   ซึ่งผมตีความว่าหมายถึงการเรียนรู้ให้รู้จักด้านในของตนเอง

         คุยกันไปได้หน่อยเดียวผมก็รู้สึกว่า "โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการด้านจิตตปัญญาศึกษา" ที่กำลังจะดำเนินการร่วมกันโดย 6 สถาบันช่างเหมือน (และต่าง) จากแนวคิดหรือเป้าหมายของ สคส. เสียจริง ๆ

ความเหมือน
1. เป็นความฝันที่จะพัฒนา "จิตตปัญญาศึกษา" (ในกรณีโครงการวิจัยฯ) หรือพัฒนา KM (กรณี สคส.) ขึ้นจากการทดลองดำเนินการจริงในสังคมไทย   คือเป็นการสร้างศาสตร์จากแผ่นดินแม่
2. เป็นการพัฒนา "เครื่องมือ" สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันแทรกอยู่ในทุกอณูของสังคมไทย

ความต่าง
1. โครงการฯ ใช้ชื่อว่าโครงการวิจัย   แต่ สคส. ใช้ชื่อว่าเป็นสถาบัน
2. โครงการฯ ดำเนินการร่วมโดย 6 สถาบัน   แต่ สคส. ดำเนินการองค์กรเดียว   แล้วไปหาเครือข่ายพันธมิตรเอาทีหลัง   จำนวนพันธมิตรไม่จำกัดจำนวน  ไม่จำกัดวง
3. โครงการฯ ออกแบบการทำงานบนฐานคิดแบบวิจัย   สคส. ออกแบบการทำงานบนฐานคิดของ action

วิจารณ์  พานิช
 13 เม.ย.49

หมายเลขบันทึก: 25342เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2006 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท