จุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ 3 KM ครึ่งปีกรมส่งเสริมฯ ที่กำแพงเพชร


มุ่งให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม

        จุด ลปรร.ที่ 1  /  จุด ลปรร. ที่ 2

      จุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ 3   การบริหารจัดการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลมหาชัย


๏  สถานการณ์
        ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลมหาชัย ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการเกษตร ในระดับตำบลที่มีการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เกษตรกร กลุ่มอาชีพ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างฯ ในลักษณะบูรณาการให้สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในชุมชน โดยมุ่งให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม  ในการร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมวางแผนพัฒนาการเกษตร ให้มีการพัฒนาอาชีพของตนเอง  ชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ อันเป็นการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

                                       

         คุณรังสรรค์ เลิศสูงเนิน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว   ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานการจัดการความรู้ของจังหวัดกำแพงเพชร  ที่ทำงานใกล้ชิดกับชุมชน โดยเฉพาะคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลมหาชัย  ซึ่งมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการศูนย์ที่เด่นชัด คือ (1) กิจกรรมกองทุนศูนย์บริการฯและวิสาหกิจชุมชน  (2) กิจกรรมกลุ่มอาชีพโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ประสบผลสำเร็จหหรือที่เรียกว่า Best Practice   ได้แก่                                                                                                 

1.    กลุ่มแปรรูปพืชสมุนไพร

                        กลุ่มแปรรูปพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีการพัฒนาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านป่าถั่ว  หมู่ที่2 ตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม มีจำนวน สมาชิก 16 คน ซึ่งมี นางจิตรา ทาประสิทธิ์ เป็นประธานกลุ่ม โดยมีการสร้างองค์ความรู้ จากประสบการณ์ในการรวมกลุ่มผลิตพริกแกงเผ็ดจากสมุนไพร  ที่มีคุณภาพในชุมชน และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง จนได้รับการคัดเลือกเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 4 ดาว

2.   กลุ่มแปรรูปข้าว

                                       

          มีการดำเนินงานตามกิจกรรมโรงสีข้าวชุมชน จำนวน 2 แห่ง   สถานที่ตั้ง บ้านทุ่งมหาศาล หมู่ที่ 7  และบ้านหนองเอื้อม หมู่ที่ 6  มีสมาชิก 96 ราย  มีการดำเนินการโดยทุนหมุนเวียนและการระดมหุ้น มีคณะกรรมการดำเนินงานตามแผนชุมชน  โดยมีนายโนด อินทพันธ์ ประธานหมู่ที่ 7  และนายเมี้ยน ก้อนทอง ประธานหมู่ที่ 6  ผลผลิตที่มีการจำหน่าย ข้าวสารชนิดต่างๆ เช่น ขาวตาแห้ง ห้ารวง หอมมะลิ เหลืองประทิว รวมทั้งการให้บริการในการสีข้าวเปลือกในชุมชน

3.     กลุ่มเพาะเห็ดฟางบ้านศรีวิไล

           ซึ่งมีนางพิมพ์ คำบรรลือ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิกจำนวน 24 คน  ที่ตั้งกลุ่มเลขที่ 119 หมู่ 8 บ้านศรีวิไล เป็นกลุ่มที่ส่งเสริมสนับสนุนสมาชิกให้รวมตัวกันเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย จากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เปลือกถั่วเขียว ฯลฯ สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี  ผลผลิตเห็ดฟางคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นการนำวัสดุมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยลดต้นทุนในการปลูกพืช และทางสมาชิกกลุ่มยังมีการส่งเสริมให้สมาชิกได้มีการเก็บออมทุนอีกด้วย

4.     กิจกรรมการเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
           คุณสมมาตร บุญฤทธิ์ เป็นแกนนำเกษตรกรในระดับตำบลของศูนย์บริการฯ ท่านหนึ่ง ที่ได้ริเริ่มและตัดสินใจทดลองทำกิจกรรมการเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน โดยมีการดำเนินกิจกรรมปลูกไม้ผล ได้แก่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ พุทราจัมโบ้ ลำไย กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม  ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมี และยังมีการเลี้ยงปลากินพืชไว้บริโภคในครัวเรือนอีกด้วย

             คุณสมมาตร บุญฤทธิ์

          ผลจากการทำงานโดยยึดหลักตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัด คือ
          กิจกรรมลดรายจ่าย  โดยทำบัญชีครัวเรือน บันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าใช้จ่ายในฟาร์ม ทำให้ทราบถึงภาวการณ์ใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมถึงต้นทุนในการผลิต และลดสิ่งที่ไม่จำเป็นต่างๆ เดือนละ 520 บาท หรือปีละกว่า 6,000 บาท

(1)    ลดรายจ่ายสิ่งที่ไม่จำเป็น อบายมุขทั้งหลาย

(2)    ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัวและทำงาน

(3)    ใช้สินค้าของไทยที่เหมาะสม ลดค่าเครื่องนุ่งห่ม

(4)    ลดสิ่งฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น เช่น เครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นคาเฟอิน น้ำอัดลม เป็นต้น

(5)    มีการเก็บออม และวางแผนการใช้จ่ายการลงทุน การหาวิธีการลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าลดปัญหาความเสี่ยงในการผลิต โดยมีการผลิตผลผลิตที่มีความหลากหลายออกจำหน่ายได้ตลอดปี

         กิจกรรมเพิ่มรายได้   ได้แก่ การทำกิจกรรมด้านไร่นาสวนผสม ซึ่งมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่การเกษตร จำนวน 15 ไร่ มีการปลูกพืชแบบผสมผสาน การขยายพันธ์ไม้ผล เลี้ยงปลากินพืช และใช้ประโยชน์จากวัสดุทางการเกษตรให้คุ้มค่า ใช้หลักความสมดุลทางธรรมชาติ ไม่ทำลายสภาพระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม ผลจากกิจกรรมเพิ่มรายได้ทำให้มีรายได้หมุนเวียนตลอดปี เฉลี่ยเดือนละ 5,000-6,000 บาท.

                                                               สายัณห์  ปิกวงค์
                                                    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว

  • เป็นอย่างไรบ้างครับ 3 จุดที่จะ ลปรร.(ศึกษาดูงาน) ในงานสรุปครึ่งปี KM ของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จังหวัดกำแพงเพชร ผมใช้เทคนิคที่ได้จาก เวทีคุณอำนวยที่บ้านผู้หว่าน โดยให้เพื่อนเขียนแล้วเราช่วยลงรายละเอียดในบล็อกให้  หลังจาก ปชส.แล้วเผื่อจะได้มีแรงจูงใจที่อยากจะเขียนเอง....

วีรยุทธ  สมป่าสัก

 

หมายเลขบันทึก: 25209เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2006 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนใจมากเลยค่ะ อยากไปดูงานเรื่องกลุ่มแปรรูปข้าวได้หรือไม่คะ

สุชานาถ blog กองกลาง มมส.

     เรียน คุณสุชานาถ
     ยินดีครับ  ติดต่อได้ที่คุณรังสรรค์  เลิศสูงเนิน  โทร 03-1676168 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอไทรงาม 055-791113 ครับ

 

 

 

ขอความกรุณาให้ความรู้เกี่ยวกับการสีข้าวเปลือก 1 ตัน จะได้ข้าวสารกี่กิโลกรัมและสิ่งพลอยได้อื่นๆ ด้วยค่ะ เพราะค้นหาทั้งวันแล้วยังไม่พบข้อมูลชัดเจน เพราะสหกรณ์ฯ ที่ทำงานอยู่จะสีข้าวแล้ว ยังหาเกณฑ์ควบคุมไม่ได้เลยค่ะ....

  • สวัสดีครับ
  • กำลังหาข้อมูล
  • พรุ่งนี้จะเข้ามาให้ข้อมูลนะครับ
  • มีรายละเอียดเยอะมากครับ
  • แต่โดยทั่วไปข้าวเปลือก ที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็น
  • สีแล้วได้ข้าวสาร  70 ส่วน
  • แกลบ  20 ส่วน และ รำ 10 ส่วน
  • หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ลองไปสอบถามจากนักวิชาการที่รับผิดชอบงานข้าวของจังหวัดที่ใกล้ที่สุด
  • เพราะมีคู่มือ"การปรับปรุงคุณภาพข้าว" ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2548 
  • รายละเอียดดีมากเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท