จุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ 2 KM ครึ่งปีกรมส่งเสริมฯ ที่กำแพงเพชร


โดยใช้หลักของเกษตรอินทรีย์ คือ ไม่ใช้ทั้งสารเคมีและปุ๋ยเคมี

              จุด ลปรร. ที่ 1    /   จุด ลปรร. ที่  3

    จุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ 2 การผลิตผักปลอดสารสู่อินทรีย์ ที่คลองพิไกร

๑.  สถานการณ์การผลิตผัก
        การผลิตผักเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร ในตำบลคลองพิไกร  ซึ่งในระบบการผลิตผักมีการปลูกผักหลายชนิด เพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภค ทั้งที่อยู่ในชุมชน และนอกชุมชน  ใรการผลิตผักแต่เดิมต้องยอมรับว่าสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สภาพป่าไม้ถูกทำลายลงและมีการขยายที่อยู่อาศัย เพื่อตั้งบ้านเรือนมากขึ้น

        แต่ชุมชนส่วนหนึ่งในตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย ยังยึดอาชีพการผลิตผักเพื่อการค้า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อมีการผลิตผักซ้ำพื้นที่เดิมหลายๆ ฤดูการปลูกแล้ว เกษตรกรผู้ผลิตผักพบปัญหาคือ เกิดโรคแมลงศัตรูผักระบาดอย่างรุนแรง และขาดการปรับปรุงบำรุงดิน  ในขณะเดียวกัน เกษตรได้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชผักอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้ผลผลิตผักที่สวยงามและขายได้ราคา

        ปัจจุบัน  เกษตรกรผู้ผลิตผักในชุมชนตำบลคลองพิไกรส่วนหนึ่งได้เกิดความตระหนัก ในการผลิตผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ โดยเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2543 ได้มีทีมงานการจัดการความรู้ในระดับผู้ปฏิบัติในภาคสนาม หรือที่เรียกกันว่า นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลคลองพิไกรนั่นเอง คือ คุณเสนาะ ยิ้มสบาย ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว. ได้เข้าไปปฏิบัติงานกับชุมชนคลองพิไกร  โดยใช้เทคนิค การฝังตัวอยู่ในชุมชน จนถึงปัจจุบัน และได้มีส่วนร่วมกับแกนนำในชุมชน โดยเฉพาะได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มโรงเรียนเกษตรกรผักคลองพิไกร จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบแกนนำชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนในการผลิตผักที่ปลอดสารเคมี สู่การผลิตผักอินทรีย์ ดังนี้

๒.   แกนนำชุมชนที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาอาชีพการปลูกผัก

     คุณสำเนียง พรหมอยู่ เป็นหนึ่งในแกนนำเกษตรกร
ผู้ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ  หมู่ที่ 6 ตำบลคลองพิไกร   ได้มีประสบการณ์ในการผลิตผักมาไม่น้อยกว่า 10 ปี ได้ ค้นพบองค์ความรู้ที่มาจากประสบการณ์ของตนเองในการ ปลูกผัก คือ เทคนิคการปล่อยวัชพืชขึ้นในแปลงผัก แล้วเมื่อวัชพืชอยู่ในระบบการเจริญเติบโตที่พอดี ก็ดำเนินไถกลบ  ซึ่งได้ปุ๋ยพืชสดตามธรรมชาติ ทำให้คุณสมบัติของดินร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดี ปลุกผักก็งามเจริญเติบโตดี ส่งผลให้ลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประกอบกับการเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชผัก โดยใช้หลักที่ว่า ไม่จำเป็นจะไม่ใช้สารเคมี หากจำเป็นต้องใช้จะใช้ให้ถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต้องปลอดภัย

                                        

      คุณจำลอง ดอนชาไพร  แกนนำผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ  หมู่ 3 ตำบลคลองพิไกร  ได้ประกอบอาชีพการผลิตผักมานานคนหนึ่งเหมือนกัน แต่ในอดีตเคยผลิตผักแล้วใช้สารเคมีตลอด  จนผลผลิตผักที่ได้จะปนเปื้อนสารเคมีที่อันตราย  เมื่อปลายปี  2547  ได้เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรผักจนถึงปัจจุบันนี้  ไดเกิดแนวคิดที่จะลด ละเลิก การใช้สารเคมี  และได้ปฏิบัติจริงในแปลงผลิตผักของตนเอง

          ปรากฏว่า  ผลผลิตผักเมื่อทำการทดสอบแล้วจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต  6  จ.นครสวรรค์  อยู่ในระดับปลอดภัยได้มาตรฐานที่กำหนด  จากนั้นได้ชักชวนสมาชิกผู้ปลูกผักในชุมชน  ได้รวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง  องค์กรความรู้ค้นพบโดยประสบการณ์  คือ การทดลองใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในพืชผัก  เพื่อลดการเกิดโรคโคนเน่าของผัก  ตลอดจนการผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา  เพื่อทดแทนการใชปุ๋ยเคมี  ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการผลิตผักอีกด้วย

   คุณขวัญเรือน  ใจไหม  เป็นแกนนำเกษตรกรผู้ปลูกผัก
 หมู่ที่ 3  ตำบลคลองพิไกร  รายแรกที่ได้ตั้งเป้าหมายของตนเองคือ  การผลิตผักอินทรีย์  โดยมีความมุ่งมั่น  ที่จะแก้ไข      ปัญหาการเกษตรที่พบอยู่ในแปลงผักของตนเอง  คือ การใช้ สารเคมีในแปลงผัก  ซึ่งมีทั้งสารเคมีฆ่าแมลง  และปุ๋ยเคมี  ซึ่ง คาดว่าจะเป็นปัญหาใหญ่มากและมีการขยายวงกว้างทุกขณะ         

         จากปัญหาดังกล่าว  ได้เกิดความตระหนักและมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหานี้  โดยได้ชักชวนสมาชิกผู้ปลูกผักเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  จากนั้นได้ทดลองปฏิบัติทำจริงในการผลิตผักของตนเอง  โดยใช้หลักของเกษตรอินทรีย์  คือ ไม่ใช้ทั้งสารเคมีและปุ๋ยเคมี

        องค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตผักอินทรีย์  คือ  การผลิตผักอินทรีย์  ใจต้องมาก่อน  แล้วลงมือทำจริง  โดยหันไปใช้ปัจจัยการผลิตที่ทดแทนสารเคมี – ปุ๋ยเคมี  เช่น  น้ำส้มจากควันไม้ / น้ำสกัดจากสมุนไพร  จากธรรมชาติ / ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา  ตลอดจนการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า              

                                                                    สายัณห์  ปิกวงค์
                                                            นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว           

หมายเลขบันทึก: 25210เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2006 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่ให้ความรู้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท