บี้ สุกฤษฏิ์ วิเศษแก้ว เจ้าพ่อแห่งอวัจนภาษา


การสื่อด้วยสีหน้าท่าทางอย่างนี้ล่ะ เรียกว่า อวัจนภาษา ส่วนคำร้องที่ บี้สื่อออกมาเราเรียกว่า วัจนภาษา

      

               ครูภาทิพ  รู้จักบี้จากรายการเดอะสตาร์   ซึ่งขณะนั้นครูภาทิพลุ้นอาร์มากกว่า  เพราะเห็นพลังในการร้อง บวกกับความ รู้สึกสงสารเด็กบ้านนอกที่หน้าตาที่ขี้เหร่   ขณะเดียวกันก็กลัวว่า บี้จะได้ตำแหน่งเพราะหน้าตาของบี้ คำพูดของบี้ที่มีลูกอ้อนมากกว่า    แต่ผลโหวตก็สมใจครูภาทิพ   

 

               แต่เมื่อดาวจะเป็นดาว  อะไรๆ ก็มิอาจขวางกั้น  เพียงไม่นานบี้ที่ได้รับตำแหน่งที่ 2 ก็แซงหน้าด้วยสาเหตุเกิดมาหน้าตาดีบวกกับเสน่ห์ที่มีเหลือล้น ทั้งจากการทุ่มเท   คำพูดลูกเล่นลูกชนสารพัด  ที่สำคัญที่สุดกิริยามารยาทที่อ่อนน้อมเชื่อคำที่ผู้ใหญ่สอนมา   บี้สามารถเป็นได้ทั้งพระเอกและตลกในเวลาเดียวกัน    ใครจะไปคิดว่าน้องใหม่ในวงการจะมีโอกาสเล่นละครเวทีได้ในเวลาที่รวดเร็ว    


              นอกจากใบหน้าที่ดูดี   วาจาที่แหลมคม   และการครองตนแล้ว  อะไรที่ทำให้บี้มีผลงานล้นมือ  เมื่อครูภาทิพได้ดูเขาร้องเพลง    เวต อะ มินิต Wait a Minute   แล้วเขาก็สอนท่าเต้นให้กับคุณหนุ่ม กรรชัยในรายการราตรีสโมสร เมื่อคืนนี้  จึงถึงบางอ้อ..............


              เพลงทุกเพลงของบี้   จะเน้นการเต้น  การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง  และท่าเต้นจะสื่อความ  ไม่ใช่เพียงแค่เต้น     ท่าทางเหล่านั้นบอกความหมายตามคำพูด      ครูภาทิพนึกไปถึงผู้ฟังที่พิการทางโสตประสาท  ก็ย่อมรับความรู้สึกสนุกไปกับจังหวะเหล่านี้ได้    การสื่อด้วยสีหน้าท่าทางอย่างนี้ล่ะ   เรียกว่า   อวัจนภาษา      ส่วนคำร้องที่ บี้สื่อออกมาเราเรียกว่า   วัจนภาษา    วัจนะ ก็คือพจนา  หรือคำพูดนั่นเอง   ส่วน  อวัจนะ    อะ คือไม่  อวัจนะคือไม่พูด  ก็คือภาษาสีหน้าท่าทางนั่นเอง      ลองนึกท่าทางการเต้นของบี้ในเพลงเหล่านี้ดูนะคะ


                             จังหวะหัวใจ 

           แกล้งกันบ่อย ๆ อย่างนี้คงไม่ปล่อย คงต้องลอง ๆ ต้องคลิ๊กกันดูหน่อย  รักหรือจะหลอก เดี๋ยวรู้ไม่ต้องบอก ขอจับใจเธอหน่อยเต้นแรงแค่ไหน

           มาเล่นในใจฉันเต้นแบบนี้ ฉันว่าเธอก็มีอาการใช่ไหม  ใจมันเต้น มันเต้น เป็นจังหวะรัก แล้วเธอล่ะ อ่ะ เต้นจังหวะยังไง

 

                            Wait a minute
             Wait a minute รอหน่อยๆ อยากรับมากจริงๆ    ขอเวลาหน่อย นิดนึงๆ กำลังนึกคำอยู่

              Wait a minute รอก่อนๆ อย่าเพิ่งรีบวางหู    ฉันจะรีบบอกว่า I love U love U ที่เธอโทรมา

 

                             อยากขอสักคน (I Need Somebody)
                                 

               Love I need somebody love  อยากขอสักคนเพื่อ love
ให้หัวใจไม่ว่างงาน มีคนให้รักกัน มีคืนวันที่ดีด้วย

               Love I need somebody love อยากขอสักคนเพื่อ love
ให้หัวใจได้รักใคร มีบางคนที่แคร์ คนที่มีรักแท้คือใคร

 


                  ด้วยสีหน้าท่าทางที่แสดงออกมาในแต่ละเพลง จะไม่ให้เรียก  บี้  สุกฤษฏิ์  ว่าเจ้าพ่อแห่งอวัจนะภาษาได้อย่างไรกัน   จริงมะ?


ที่มาของเพลง  http://www.siamzone.com/music/thailyric/index.php?mode=artistlist&artist=!!bad5e920cad8a1c4c9aed4ec20c7d4e0c8c9e1a1e9c7
 ศึกษาความรู้เรื่องวัจนภาษาและอวัจนภาษาได้จาก
 http://www.pantown.com/board.php?id=13260&name=board7&topic=1&action=view

 

           วัจนภาษา เป็นการสื่อสารโดยใช้คำพูด เช่น การพูดวิทยุ เสียงร้องเพลงในเครื่องบันทึกเสียง การสนทนาที่ใช้แต่คำพูด ฯลฯ
การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้

 

๑. ใช้วัจนภาษาให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของภาษา โดยคำนึงถึง 
          ๑.๑ ลักษณะของคำ ได้แก่ คำมูล คำประสม คำพ้อง คำทับศัพท์ คำสมาส คำสนธิ ฯลฯ

          ๑.๒ หน้าที่ของคำ ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา จนกระทั่งถึงคำอุทาน
          ๑.๓ ตำแหน่งของคำ ได้แก่ ประธาน กริยา กรรม คำขยาย
          ๑.๔ ความหมายของคำ ได้แก่ ความหมายตามตัว ความหมายเชิงอุปมา ความหมายแฝง

 

      ๒. ใช้วัจนภาษาให้เหมาะกับบริบทของภาษา โดยคำนึงถึง
            ๒.๑ กาลเทศะ ใช้คำให้เหมาะกับเวลาและสถานที่ที่ควรใช้
            ๒.๒ บุคคล ใช้คำให้เหมาะกับบุคคลที่แตกต่างกัน เช่น พระ คนธรรมดา ฯลฯ
            ๒.๓ โอกาส ใช้คำให้เหมาะกับช่วงเวลาที่ควรใช้ในจังหวะที่เหมาะสม


        อวัจนภาษา เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด แต่ใช้สิ่งอื่นแทน ได้แก่

 ๑. อาการภาษา ได้แก่ กิริยาท่าทาง สีหน้า สายตา เช่น การจับมือ การยิ้ม การไหวไหล่ ฯลฯ
๒. ภาษาสัญลักษณ์ ได้แก่ สัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง สัญญาณมือ
๓. สัมผัสภาษา ได้แก่ การสัมผัส เช่น จับมือ แลบลิ้น ลูบศีรษะ โอบกอด แตะไหล่
๔. วัตถุภาษา ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ลายมือ การชมโทรทัศน์
๕. ปริภาษา ได้แก่ เสียงที่ได้ยิน เช่น ฟ้าร้อง ไฟปะทุแตก พลุ ไซเรน แตรรถ หวูดเรือ
๖. เทศภาษา ได้แก่ ช่องว่างหรือระยะห่างที่มองเห็น เช่น ระยะห่างของหญิงชาย พระกับสตรี คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๗. กาลภาษา ได้แก่ การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ เช่น การมาก่อนเวลา ตรงเวลา หรือหลังเวลาที่กำหนด เสียงโทรศัพท์ในเวลาปกติ หรือยามวิกาล
๘. กลิ่นและรส สามารถสื่อความหมายได้ เช่น กลิ่นธูป กลิ่นบูดเน่า กลิ่นเหม็น กลิ่นหอม รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด
๙. ภาพ สามารถสื่อความหมายได้ดี เพราะเห็นรายละเอียดชัดเจน
๑๐. สี สีทุกสีมีความหมายในตัวเอง เช่น สีแดงแสดงความร้อนแรง สีเขียวแสดงความอุดมสมบูรณ์
๑๑. ลักษณะของตัวอักษร การเขียนตัวอักษรบ่งบอกอารมณ์และอุปนิสัยใจคอของผู้เขียนได้

      ในชีวิตประจำวันของคนมักใช้อวัจนภาษาควบคู่กับวัจนภาษา เพื่อให้การสื่อสารเข้าใจเรื่องได้ชัดเจนและง่ายขึ้น

  http://www.pantown.com/board.php?id=13260&name=board7&topic=1&action=view

 

 

ความดีงามใดๆ ของบันทึกนี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของคุณพ่อคุณแม่และครูบาอาจารย์

             HOME   สมุดเยี่ยม

หมายเลขบันทึก: 249526เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2009 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

สวัสดีครับ

เห็นด้วยครับ

เมื่อผู้ใหญ่(เกิดก่อน)ไม่มีความรู้ จะเอาอะไรไปสอนเด็ก

เด็กโง่สอนผู้ใหญ่โง่...รักนะเด็กโง่

สวัสดีค่ะคุณเอกชน   สรุปว่าครูภาทิพโง่ใช่มั้ยนี่??????

               

สวัสดีค่ะคุณครู

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้เรื่องวัจนภาษาและอวัจนภาษาค่ะ

ทานข้าวเที่ยงให้อร่อยนะค่ีะ

สวัสดีค่ะสาวน้อยจากหาดใหญ่  อร่อยมากไม่ได้ค่ะ  ตอนนี้มีปัญหาเรื่องน้ำหนักซะแล้ว   ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

 

สวัดดีครับ

คนเรายอมโง่กันบ้างก็ไม่เป็นไรมากหรอกครับ

สรุปว่าเรานั้นโง่...

ได้ความรู้อีกแล้วครับผม ขอบคุณครับคุณครู

สวัสดีค่ะคุณครูดิเรก  ลองประยุกต์ใช้กับนักเรียนดูนะคะ  หรือไม่ก็ลองเขียนแล้วนำมาเผยแพร่บ้างค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้และสาระ ดูอะก็ดูแบบครูค่ะ น่ารักมากทั้งผู้ดูและผู้ถูกดู

เข้ามาอ่านค่ะ ได้ความรู้ดีค่ะ

สวัสดีค่ะ saard2552 และพ.ญ. อัจฉรา เชาวะวณิช ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเป็นกำลังใจ   บันทึกใหม่ล่าสุดเรื่องนี้ค่ะ http://gotoknow.org/blog/phatip/252688

 

อาจารย์เป็นนักวิเคราะห์ตัวจริง ช่างสังเกต หลายคนฟังเพลง ดูท่าเต้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่อาจารย์กลับนำมาเกี่ยวกับสาระวิชาการเรื่องวัจนภาษาและอวัจนภาษาได้อย่างลงตัว สุดยอดจริง ๆ ค่ะ

ด้วยความเคารพ

อุไรรัตน์ (บุรีรัมย์)

สวัสดีค่ะคุณอุไรรัตน์  ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ  อย่าลืมแวะอ่านเรื่องนี้นะคะ

http://gotoknow.org/blog/phatip/252688

น้องเก่งขอบคุณมากนะครับที่ให้ความรู้ ขอบคุณมากมายเลยครับ

สวัสดีค่ะ คุณครูภาทิพ

ขอชื่นชมความเป็นครูของคุณครูภาทิพค่ะ ขอขอบคุณความรู้ที่ให้มาด้วยค่ะ

และขอนับถือการสื่อสารโต้ตอบของคุณครูภาทิพจริงๆ ค่ะ สมกับเป็นคุณครู

จริงๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะน้องเก่งและคุณมิตรา   ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ  รออ่านบันทึกต่อไปนะคะ  จะเสนอเรื่อง  เรียนรู้เรื่องประโยคและการสื่อสารจากสิงโต เดอะสตาร์ 5  ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครูภาทิพ

ดิฉันชื่อเจี๊ยบนะค่ะ

เป็นครูอัตราจ้างสอนวิชาภาษาไทยอยู่ที่จ.นราธิวาสค่ะ

เข้ามาอ่านแล้วได้สาระ ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ วันหน้า

ถ้ามีปัญหาเจี๊ยบขออนุญาตปรึกษาหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ*-*

สวัสดีค่ะคุณครูเจี๊ยบ  ด้วยความยินดีค่ะ  เสียดายนะคะไม่มาสมัครเป็นอัตราจ้างที่นี่เราเพิ่งรับสมัครไปค่ะ 

รูภาทิพเก่งจังเลยค่ะ

สักวันเปิ้ลจะต้องเป็นครูที่ดี

และน่ารักอย่างครูภาทิพนะคะ

สวัสดีค่ะ  นี่เปิ้ลน้องใหม่รึเปล่าคะ   ครูภาทิพไม่กล้ายอมรับว่าเก่งค่ะ   ครูภาทิพอาจจะมีข้อด้อยในเรื่องการสอนจึงต้องพยายามอย่างนี้ก็ได้ค่ะ   ประเภทคนมีปม   ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครูภาทิพ

ติดตาม และนำนวัตกรรมการสอน วิธีการสอนใหม่ ๆ ไปใช้ตลอด ขอบอกว่าชื่นชอบในความคิดมาก จะพยายามทำเป็นแบบอย่างให้ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ  วัชรินี นิลมูล นำข้อค้นพบมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างนะคะ

เห็นด้วยอย่างมาก ค่ะ

พี่บี้นี่ก็เจ้าพ่อแห่ง"อวัจนภาษา" จริงๆนะคะ อิอิ

คือว่าอาจารย์ถามหนูว่า

คำว่ารส หมายความว่าอย่างไรค่ะ

แล้วทำไมคำว่ารสถึงเป็นอวัจนภาษาละคะ

ไม่เข้าใจจริงๆ ค่ะ

ช่วยอธิบายให้หนูได้ไหมคะ?

ขอบคุณค่ะ

รส น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง
  ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).

 

อวัจนภาษา เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด แต่ใช้สิ่งอื่นแทน ได้แก่
๑. อาการภาษา ได้แก่ กิริยาท่าทาง สีหน้า สายตา เช่น การจับมือ การยิ้ม การไหวไหล่ ฯลฯ
๒. ภาษาสัญลักษณ์ ได้แก่ สัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง สัญญาณมือ
๓. สัมผัสภาษา ได้แก่ การสัมผัส เช่น จับมือ แลบลิ้น ลูบศีรษะ โอบกอด แตะไหล่
๔. วัตถุภาษา ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ลายมือ การชมโทรทัศน์
๕. ปริภาษา ได้แก่ เสียงที่ได้ยิน เช่น ฟ้าร้อง ไฟปะทุแตก พลุ ไซเรน แตรรถ หวูดเรือ
๖. เทศภาษา ได้แก่ ช่องว่างหรือระยะห่างที่มองเห็น เช่น ระยะห่างของหญิงชาย พระกับสตรี คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๗. กาลภาษา ได้แก่ การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ เช่น การมาก่อนเวลา ตรงเวลา หรือหลังเวลาที่กำหนด เสียงโทรศัพท์ในเวลาปกติ หรือยามวิกาล
๘. กลิ่นและรส สามารถสื่อความหมายได้ เช่น กลิ่นธูป กลิ่นบูดเน่า กลิ่นเหม็น กลิ่นหอม รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด
๙. ภาพ สามารถสื่อความหมายได้ดี เพราะเห็นรายละเอียดชัดเจน
๑๐. สี สีทุกสีมีความหมายในตัวเอง เช่น สีแดงแสดงความร้อนแรง สีเขียวแสดงความอุดมสมบูรณ์
๑๑. ลักษณะของตัวอักษร การเขียนตัวอักษรบ่งบอกอารมณ์และอุปนิสัยใจคอของผู้เขียนได้

อยากรู้เกี่ยวกับเทศภาษา

อยากรู้เกี่ยวกับอวัจสารอุตสาหกรรมและเคมีพันธ์

ได้รู้เกี่ยวกับอวัจนภาษากขึ้นเลยค่ะ

โดย...แบบว่ามีข้อมูลเอาไปทำรายงานแน่ะค่ะอิ อิ

Thank you หลายค่ะ

แต่ละถ้อยเรียงร้อยออกมา สมญาครูภาษาไทยค่ะ คุณครูภาทิพย์

สวัสดีค่ะ  คุณกั้งกระดาน และคุณน้ำหวาน ดีใจค่ะที่ใครๆ เห็นคุณค่า

ขอบคุณค่ะ

นรัญ นันธนะวิบูลย์

คุณครูเป็นบุคคลที่น่าชื่นชมมากครับในเรื่องเทคนิคและวิธีการสอนวิชาภาษาไทย ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้นำเอาสิ่งท่อาจารย์คิดทำขึ้นไปใช้กับนักเรียนนักเรียนสนุกกับการเรียนมากขึ้นผลที่ได้รับก็เป็นที่น่าพอใจมากครับ ขอบคุณนะครับที่มีอะไรดีๆ มาให้ครูไทยด้วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท