มาตรฐานด้านการบริหารจัดการและสิ่งแวดล้อมที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งควรคำนึงถึง


มาตรฐานด้านการบริหารจัดการและสิ่งแวดล้อมที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งควรคำนึงถึง

การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องมุ่งสู่การประกอบการที่ยั่งยืน และไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการจัดการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่สร้างมลพิษต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาทิเช่น

- ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนา และดำเนินกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่ละประเภท เช่น การกำหนดสถานที่ (ผลกระทบต่อระบบนิเวศในธรรมชาติ แหล่งที่อยู่อาศัยที่ต้องการการอนุรักษ์อย่างเข้มงวด ต้องไม่มีการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยให้เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ และทำให้เกิดผลกระทบที่เห็นด้วยสายตาและสูญเสียทัศนียภาพ
- การก่อสร้าง และการสร้างสาธารณูปโภคและการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม
- การทิ้งของของเสีย เลน ยาและสารเคมี และซากของสัตว์ที่ตายด้วยโรค
- การใช้อาหาร สารเสริมอาหาร ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ที่มากเกินไป
- การใช้ยา ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีอื่นๆ การใช้สารเคมี และยาฆ่าพาหะอย่างมีความรับผิดชอบ การไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสัตว์ และสาเคมีต้องห้าม
- ปัญหาโรคระบาดที่อาจจะกระทบต่อประชากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ
- การป้องกันและการลดศัตรูของสัตว์น้ำ
- การปล่อยของเสียและการใช้พลังงาน


ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับชนิดของสัตว์ที่ทำการเพาะเลี้ยง อาทิเช่น

- ต้องมั่นใจว่า ไม่มีการหลุดรอดและนำเข้า สัตว์เลี้ยงชนิดที่เป็นอันตราย และชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Exotic Species)
- ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สัตว์น้ำที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม และต้องไม่ใช่ ชนิดพันธุ์ที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมทำให้เกิดอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ต้องมั่นใจว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นถูกใช้เฉพาะชนิดที่มีความเสี่ยงเชิงนิเวศวิทยาต่ำ (เสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ)
- สนับสนุนให้มีการใช้พันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาติในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ป้องกันการหลุดรอดหรือการนำเข้าของ ไข่ ตัวอ่อนสัตว์น้ำ และสัตว์น้ำวัยรุ่นลงไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่

ผลกระทบต่อน้ำหรือแหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง

การจัดการคุณภาพน้ำ และน้ำทิ้งต้องให้มั่นใจว่า ปริมาณของเสียในน้ำทิ้งต้องไม่เกินต้องไม่กำลังในการดูดซับของแหล่งรับน้ำทิ้ง ต้องไม่ก่อให้เกิดการเพิ่มความเค็มต่อพื้นที่ข้างเคียงและแหล่งน้ำจืด และมีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการใช้ระบบหมุนเวียน

ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง อาทิเช่น

- ต้องใช้ อาหารจากแหล่งที่มีคุณภาพ
- ส่วนผสมของอาหารต้องมีการจัดการลดการใช้ปลาป่นและน้ำมันจากปลาและใช้จากแหล่งที่ยั่งยืนลดผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรปลาในธรรมชาติ เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ในเชิงนิเวศวิทยา เร่งรัดให้มีการปรับปรุงค่าอัตราเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ

ผลกระทบที่เกี่ยวข้องลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง

- ต้องใช้จากแหล่งที่ยั่งยืน
- เร่งรัดให้มีการใช้ลูกพันธุ์จากโรงเพาะฟัก
- ต้องมั่นใจว่าการใช้การใช้ลูกพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติ ต้องมาจากการทำการประมงที่มีการจัดการอย่างดี
การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ต้องมั่นใจว่ามีการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การวางแผนและการพัฒนาการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังต้องเน้นที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลักๆ ของแหล่งนั้นๆ
การสะสมของผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ต้องมีกระบวนการในการจำแนกประเมิน และกำหนดการสะสมของผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดย

  • กำหนดตำแหน่งของผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในฟาร์ม และนอกฟาร์ม
  • กำหนดระดับของผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับฟาร์ม และระดับลุ่มน้ำ
  • ผลกระทบสะสม เช่น ผลกระทบจากหลายๆ กิจกรรมของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเดียวกัน หรือผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่อยู่ในสถานที่เกี่ยวกัน
  • การพื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยที่ถูกการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทำลายไปแล้ว

หมายเลขบันทึก: 249518เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2009 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาให้กำลังใจครับ....ข้อมูลดีมากๆ เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท