การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552 ตอนที่ 1 เปิดการประชุม


ของเราขณะนี้ น่าจะอยู่ที่สามกว่าๆ เพราะว่าอยู่ในระดับค้นงาน และบูรณาการ แล้วมันจะบรรลุพันธกิจหรือไม่ ก็ต้องมาดูกันว่า สิ่งที่เราทำไปนั้น มันจะบรรลุพันธกิจในภาพใหญ่ของหน่วยงานเราไหม

 

วันนี้ น้องเก๋ พิธีกรคนสวย มาทำหน้าที่จัดกระบวนการประชุมละค่ะ

เธอบอกว่า ครั้งนี้เป็นการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนารุปแบบการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว Long term care ประจำปี 2552 วันที่ 21-22 มีค.52 เพื่อเป็นการพูดคุย ลปรร. และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน เรื่อง LTC ว่าด้วยงานเรื่องผู้สูงอายุ และหารือโครงการว่าในปีนี้ จะมีแนวทางการดำเนินงานกันอย่างไร ระหว่าง สำนักส่งเสริมสุขภาพ และศูนย์อนามัย

และ อ.หมอสมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ มาเปิดการประชุม และท่านได้ร่วมรับฟังผู้เข้าประชุมนำเสนอด้วย พร้อมกับ ผอ.สุธา ผอ.กองทันตฯ ค่ะ อ.หมอสมศักดิ์ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า

"... วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญของพวกเรา ที่จะมา ลปรร. กัน เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ และการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนี้ เราก็ดำเนินการมาได้หลายปีแล้ว และ 2-3 ปีมานี้ ก็เริ่มที่จะมีเนื้อหา และมีความชัดเจนมากขึ้น ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

รัฐบาลชุดนี้ โดยท่าน รมว.สาธารณาสุข ได้ให้ความสำคัญของงานผู้สูงอายุ จากที่เห็นว่า หลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่ง ท่านก็ได้เดินทางไปพบปะประชาชนในพื้นที่ 5-6 ครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายๆ จังหวัดไปรวมตัวกัน เช่น ที่สมุทรสาคร อำนาจเจริญ และท่านก็ได้ไปบรรยาย พูดคุยกับอาสาสมัคร ... สิ่งที่ท่านพูด ก็จะพูดในทุกๆ เวทีว่า ท่านให้ความสำคัญกับ อสม. ในกิจกรรม 3 ด้าน คือ หนึ่ง เรื่องของการดูแลหญิงตั้งครรภ์ สอง คือ ให้ อสม. ไปเยี่ยมหญิงหลังคลอด ที่จะส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลังคลอดแล้ว 6 เดือน เรื่องที่สามก็คือ ให้ อสม. สำรวจผู้สูงอายุในชุมชน หรือที่ อสม. รับผิดชอบ ว่า เข้าถึงบริการหรือไม่ หรือว่าได้รับบริการสุขภาพที่ควรจะได้หรือไม่ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่นำเสนอกับสาธารณสุข

อันนั้นเป็นนโยบาย และเราก็มีองค์กรหลายๆ องค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และแม้แต่ในกระทรวงของเราก็จะมีเกือบทุกกรมฯ หลักๆ ก็จะเป็นกรมการแพทย์ ที่จะมีสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ซึ่งเขาก็พยายามจัดทำยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุออกมา หรือกรมต่างๆ ที่ท่านอธิบดีของเรา ตอนที่เป็นรองปลัดฯ ที่ทำกับ JICA เรื่อง การดูแลผู้สูงอายุก็มอบหมายให้ ทั้งกรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ทดลองในรื่องของการดูแล ผส. ระยะยาว นอกจากนั้น ก็จะมีสภาผู้สูงอายุ ซึ่งเข้มแข็ง และได้ประกาศพระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี 2532 พยายามที่จะขับเคลื่อนตรงนั้นออกมา นอกจากนั้น ก็ยังมีกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ที่ดูแล เรื่องผู้สูงอายุ ถ้าในพื้นที่ ก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แน่นอน ซึ่งมีการจัดบริการสาธารณะในท้องถิ่นของตัวเอง เรื่องการดูแลผู้สูงอายุก็จะเป็นบริการสาธารณสุขอันหนึ่ง ที่ควรจะต้องคิด ว่าจะทำอะไรบ้าง

เพราะฉะนั้น ภาคีเครือข่าย หลายๆ ส่วนที่เราจะต้องทำงานร่วมกัน ก็จะเป็นนิมิตรหมายอันดี ในการที่ว่า เป็นทิศทางที่ดี ที่เราจะออกนอกรั้วของตัวเรา ที่จะไปทำงานร่วมกับคนอื่นๆ

การที่เราจะขับเคลื่อนอะไร หรือว่า องค์กรที่จะพัฒนา ก็จะมีอยู่ 5 ระดับ ก็คือ

  1. ระดับที่ 1 เขาเรียกว่า ไม่หือไม่อือ ไม่สนใจ ไม่ทำ
  2. ระดับที่สอง ก็อยู่ในระดับกระตือรือร้น ที่จะทำอันนั้นอันนี้ ในเรื่องงานของเรา
  3. ระดับที่สาม ก็คือ คนค้นงาน ก็คือ หาว่า งานเราจะทำอะไรกันบ้าง ของพวกเรา ก็คิดว่า จะผ่านระดับนี้มากันบ้างแล้ว ในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ เราพยายามค้นหาคน ค้นหางาน กิจกรรมที่จะทำร่วมกัน ในเรื่องของการดูแลสุขภาพ 
  4. ระดับที่สี่ คือ เรื่องของการบูรณาการ ก็คือ เรื่องที่จะต้องบูรณาการการทำงาน กับภาคีเครือข่าย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้นเรื่อยๆ
  5. ระดับที่ห้า ก็คือ สานไปสู่พันธกิจว่า พันธกิจของเราคืออะไร หรือสร้างคุณค่าของงาน เป็นระดับที่ห้า

ของเราขณะนี้ น่าจะอยู่ที่สามกว่าๆ เพราะว่าอยู่ในระดับค้นงาน และบูรณาการ แล้วมันจะบรรลุพันธกิจหรือไม่ ก็ต้องมาดูกันว่า สิ่งที่เราทำไปนั้น มันจะบรรลุพันธกิจในภาพใหญ่ของหน่วยงานเราไหม ในศูนย์ฯ สิ่งที่เราทำบรรลุพันธกิจศูนย์ฯ ไหม และในกองฯ สำนักฯ ล่ะ จะบรรลุพันธกิจของกรมอนามัยหรือไม่ ก็ต้องมานั่งมองกันว่า แล้วจะทำอย่างไรให้บรรลุพันธกิจขององค์กรของเรา

เท่าที่เคยคุยกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านผู้สูงอายุทั้งหลาย ที่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ทางกลุ่มอนามัยวัยสูงอายุได้ เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านผู้สูงอายุหลายๆ ท่านมาระดมความคิดกัน ก็เป็นเวทีที่ผม ชื่นชมมาก ที่จัดเวทีตรงนั้นขึ้นมาได้ เพราะว่ามีทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย มีทั้งภาคเอกชนต่างๆ มาให้ข้อคิดเห็น ก็เลยได้ conceptual framework ของการดูแล การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้นมา 1 ชุด อันนั้นก็น่าจะเป็นทิศทางในการดำเนินงานของเรา และเราจะทำตรงนั้นให้เกิดผลได้อย่างไร

และวันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ทางกลุ่มอนามัยวัยผู้สูงอายุได้จัดทำงานตรงนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะรับฟังว่า พวกเราทำอะไรกันอยู่ และเราจะทำอะไรกันต่อไป

สิ่งที่เราตั้งใจ ก็คือ ให้เวทีวันนี้เป็นการ ลปรร. ว่า ในแต่ละศูนย์อนามัยได้ดำเนินการอย่างไร เห็นสภาพ เห็นช่องว่างของการดำเนินงานอยู่ตรงไหน และจะคาดหวังให้ทาง สำนักฯ กองฯ ในส่วนกลางสนับสนุนอะไร หรือเราจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำอย่างไร ที่จะทำให้งานของเรา บรรลุไปตามที่ได้บอก และไปสานสู่พันธกิจของกรม กระทรวงต่อไปในอนาคต

รวมเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552

 

หมายเลขบันทึก: 248946เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2009 04:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 05:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • งานช่องปากกำลังจะรุ่งเรืองจริงๆ
  • แต่งานไขมันในช่องท้องกำลังค้นควักกัน
  • วันนี้ศูนย์จัดอบรม
  • การบูรณาการ รพ.ส่งเสริมสุขภาพกับ รพงสายใยรัก
  • ให้เป็นเนื้องานเดียวกัน
  • อ้อ......เกือบลืมเล่า
  • วันนี้พี่เขี้ยวไป กาดนัด KM ของ  ม.พายัพ จัด
  • ได้เจอตัวเป็นๆของ bloger G2K หลายคน
  • มี   โจรกลับใจ   น้องดาว   น้องชาดาหน้าตาดี
  • และ  ผอก.สคส.  และอีกหลายคน
  • แต่ที่แน่ๆ ผอก.ประพนธ์เอาเรื่องการพัฒนางาน KM ของ
  • รร. วัดท่าไชย อ.สองพี่น้อง ของ ครูตุ๊กแก  มาเล่าเรื่องด้วยค่ะ
  • เลยแวะมาบอก ให้ใครบางคนตาร้อนบ้าง
  • แล้วในระยะเวลาอันใกล้เราจะชวนกัน รวมทั้งป้าแดงคนสวยด้วย
  • ไปกินอะไรอร่อยๆกัน  อิอิ
  • P
  • งาน คนไทยไร้พุงน่ะ หรือ
  • ก็เพิ่งเริ่มต้นนี่จ๊ะ อีกหน่อยก็เจริญรุ่งเรื่องแหล่ะ เพราะเรื่องเข้าได้กับทุกกลุ่ม
  • สูงอายุก็เข้าได้ด้วยนะ
  • ของเจ๊ งานหญ่าย ออก
  • ดีจังๆ สมาคมเมืองเชียงใหม่ ... ทำยังไงจะได้ไปร่วมแจมมั่งหนอ
  • P ... ตามไปดู "ผอก.สคส."... ชื่อตำแหน่งท่านดีจัง 
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างแรงบันดาลใจ และการประยุกต์ใช้หลักธรรมกับการบริหารงานยุคใหม่
  • ของเรามีแบบนี้มั่งมั๊ยเนี่ยะ

ขอนอกเรื่องหน่อยนะคะ

อาจารย์มัทนาคะ

ตอนนี้รู้สึกหนักใจในการทำงานมากค่ะ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มาทำฟันปลอม

มีปัญหาในเรื่องการสื่อสารกับคนไข้ค่ะ

ต้องใช้เวลานานกว่าจะอธิบายจนเข้าใจ

ทำให้บางครั้งรู้สึกว่าตัวเองเป็นหมอที่ไม่ดี

พูดเสียงดังไปมั้ย โมโหไปรึเปล่า,etc.

ทั้งๆที่ การที่คนไข้เป็นแบบนี้(สื่อสารลำบาก)

เค้าอาจจะไม่ได้อยากเป็นแบบนี้ แต่มันเกิดจากความเสื่อม

อย่างวันนี้คนไข้คนนึงมาถอนฟัน ถอนเสร็จบอกว่าลืมกระเป๋าไว้ที่ห้องฟัน

อธิบายอยู่นานว่าไม่มี ป้าไม่ได้ถืออะไรมาด้วย บอกยังไงก็ไม่เชื่อ

จนหลานมาตามป้ากลับบ้าน

ถึงรู้ว่ากระเป๋าที่ว่า อยู่กับหลานของป้าเอง เฮ้อ...

มีวิธีไหนบ้างค่ะ ที่จะทำให้ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น

เข้าใจคนไข้มากขึ้น รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณพี่หมอนนท์มากค่ะที่เมลมาบอกว่ามีคนถามถึง : )

คุณหมอ GP คะ เท่าที่ฟังดูนั้น คุณหมอทราบดีแล้วว่าควรทำอย่างไร เพียงแต่มันอดไม่ได้ ห้ามตัวเองไม่ทันเท่านั้นเอง

การที่เรารู้ว่าเรารู้สึกอย่างไรอยู่ รำคาญ โมโห ไม่เป็นไปอย่างที่คิด ไอ้การที่เรารู้ตัวนี่แหละเป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่สุด วันนี้คุณหมออาจรู้ตัวช้าไปหน่อยคือมาคิดย้อยหลังตอนคนไข้กลับไปแล้ว ก็ไม่เป็นไรค่ะ ค่อยๆฝึกไป คราวหน้าพอเราเริ่มมีอารมณ์เราก็มองกลับมาดูอารมณ์เรานี่แหละ บอกตัวเองว่า "มันมาแล้ว" ดูเหมือนดูทีวีอยู่เลย ดูอารมณ์ตัวเอง

ถ้าคิดว่าเป็นกราฟ ก็จะเห็นมันค่อยๆพุ่งๆๆๆขึ้น

เชื่อมั้ยค่ะว่าแค่การที่เราเห็นกราฟพุ่งขึ้นนี้เอง มันทำให้เรากลับมาสนใจตัวเองจนเหมือนเบนความสนใจ แทนที่จะไปหาเหตุผลมาโทษคนอื่น เรากลับมาวุ่นดูตัวเองแทน แค่นี้เรื่องมันก็ไม่บานปลายแล้วค่ะ

พอเราเย็นลง เราจะสามารถคิดทางออกได้ดีกว่าเวลามีอารมณ์ อาจจะบอกป้าว่า หมอว่าป้าไม่ได้ถือมาด้วยนะ แต่ยังไงขอเบอร์โทรป้าทิ้งไว้ ถ้าหมอเจอแล้วจะโทรไปบอก เป็นต้น

เถียงไปไม่มีจบค่ะ ร่วมกันหาทางออกให้เค้าดีกว่า

พอเราเริ่มขึ้นเสียง หรือ เสียงแข็งอะไรๆก็จะแย่ลง

ท่องไว้ในใจก็ได้ว่า "อย่าไปถือสา" หรือ "นิ่งได้ ทนได้"

มัทจะเตือนไว้ข้อเดียวคือ คุยกัยผู้สูงอายุเป็นเรื่องเล็ก แต่คุยกับลูกหลานของท่านที่พาท่านมาหาเรา กลุ่มนี้มีทั้งที่น่ารักมากๆหรือทำงานด้วยลำบากมากๆ ต้องฝึกไว้เยอะๆเพราะวันหน้าคุณหมอได้เจอแน่ๆค่ะ

ส่วนเรื่องเทคนิคการสื่อสารกับผู้ป่วยที่มีสภาวะสมองเสื่อมจริงๆนั้น ไว้มัทจะเขียนบันทึกเรื่องนี้อีกทีช่วงลาคลอดแล้วลูกหลับได้นานๆนะคะ : )

อ่อ มีอีกประเด็นคือ ให้ลองพิจารณาดูดีๆว่า เค้าไม่เข้าใจเรา หรือ เราไม่เข้าใจเค้ากันแน่อ่ะคะ : ) หลายๆครั้งมันต้องจูนหากันทั้ง 2 ฝ่าย

 

  • กำลังจะมาคุยกับ น้อง GP ด้วยพอดี
  • ว่า ... เข้าใจผู้สูงอายุให้มาก แล้วเราก็จะไม่ถือสาเขา
  • ตั้งแต่พี่ได้ฟังเรื่องผู้สูงอายุ จากการอบรม 2 ครั้ง ติดๆ กันที่ผ่านมา
  • รู้สึกได้เลยว่า ผู้สูงอายุเขามี threshold ด้านต่างๆ ลดลงไปเยอะ บางครั้ง เขาอาจแสดงอารมณ์ เพราะมีอะไรติดค้างอยู่ในใจ ที่เราก็ไม่รู้
  • แบบ ฟัง แล้วก็ใจเย็นๆ ค่อย clear ไป ไม่ต้องใช้อารมณ์ อาจยังไม่เห็นผล ... แต่คงจะดีที่สุดละค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท