การฝึกงานในวันที่ 20 เมษายน 2549


การติดตั้ง moodle และ php เบื้องต้น

          *ในวันนี้ได้มีการติดตั้ง moodle มากกว่า 1 ตัวภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน แต่ต้องทำการสร้างฐานข้อมูลให้กับ moodle แต่ละตัวและต้องมีการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้โดย root ด้วยคำการ grant สิทธิ์ให้กับผู้ใช้คนนั้นๆ ซึ่งการที่มี moodle หลายๆตัวในเครื่องเดียวกันนี้เสมือนกับมีโรงเรียนได้หลายโรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนจะถูกควบคุมโดย admin เพียงคนเดียวในส่วนที่เรียกว่า backend โดยหากผู้ใช้ต้องการเรียนใน course ใน moodle ตัวดังกล่าวต้องทำการสมัครสมาชิกก่อน โดยข้อมูลของสมาชิกจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ moodle ตัวนั้นๆนั่นเอง

           *มีการสร้างไฟล์ที่เป็น php ด้วยโปรแกรม editer ที่ชื่อว่า vi โดยคำสั่งง่ายๆที่ใช้ในการสร้างคือ

  i-->insert คือการป้อนข้อมูลหรือโค้ดลงใน vi และหากต้องการออกจากการพิมพ์แก้ไขนั้นก็สามารถกด Esc เพื่อออกจากการทำงานในส่วนนั้น

 :wq!

w-->write

q-->quit

!-->ไม่ต้องถามอีก    

           *นอกจากนี้ยังได้มีการสร้างตารางด้วย root ด้วยรูปแบบคำสั่ง

create table tb_name(field1 type,field2 type,field3 type)

*หมายเหตุ type คือ ชนิดของข้อมูลใน field นั้นๆ

ตัวอย่างของคำสั่งคือ create table tb_1(ID char(4),Name char(20),Lname char(20));

หลังจากนั้นก็ได้ทำการป้อนข้อมูลลงในตารางด้วยรูปแบบคำสั่ง

insert into tb_name(field1 ,field2,field3) values('value1','value2','value3');

*หมายเหตุ value คือค่าของข้อมูลที่ต้องการป้อนให้กับ field นั้นๆ

ตัวอย่างของคำสั่งคือ insert into tb_1(ID ,Name,Lname) values('01','Jame','Mold');

และเมื่อได้ทำการสร้างตารางพร้อมทั้งป้อนค่าข้อมูลในตารางแล้วนั้น ก็ได้มีการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้ด้วยคำสั่ง

grant all on db_name.* to username@localhost identified by 'passwd';

         *หากมี database หลายตัวในระบบ ในการเลือกใช้เพียงตัวใดตัวหนึ่งเพื่อเข้าถึงdatabase นั้นๆ เราต้องใช้คำสั่ง use db_name นั้นๆเสียก่อน แล้วจึงจะสามารถเข้าถึงdatabase นั้น และสามารถจัดการกับตารางและข้อมูลที่มีอยู่ใน database นั้นๆได้

          **คำสั่ง php เบื้องต้น**

       1. echo เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงผลของข้อความ โดยข้อความที่ต้องการแสดงนั้นต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย " "

       2. ในการใช้คำสั่งในส่วนของ php นั้นต้องอยู่ภายในtag หรือ

       3. เมื่อจบแต่ละคำสั่งนั้นต้องจบด้วยเครื่องหมาย ;

       4. ในการเขียน tag html และ php นั้น เราจะเขียนแยกส่วนกัน ด้วยเครื่องหมาย  โดย tag html จะอยู่นอก เช่น

1.

2.echo "hello";   <-- tag php

3.?>   


 4.
            <-- tag html

       5.เชื่อมข้อความโดยใช้เครื่องหมาย . เช่น echo "hello".$name;

       6.ในการประกาศตัวแปรใน php นั้น ตัว php จะเป็นตัวกำหนดชนิดของตัวแปรเองตามค่าของข้อมูลที่ป้อนเข้ามา โดยในการประกาศตัวแปรนั้นจะใช้เครื่องหมาย $ นำหน้า เช่น $name='สมพงษ์'; เป็นต้น ในกรณีนี้ตัวแปร name จะมีชนิดเป็น string โดยอัตโนมัติ

       7. echo "
";ซึ่งหมายถึง การขึ้นบรรทัดใหม่โดยใช้ br ใน tag htmlนั่นเอง

       *  หากเราไม่ต้องการที่จะทำ tag ทุกๆ alias ใน httpd.conf ให้กับทุกๆ user เราสามารถทำได้ภายในครั้งเดียว แต่สามารถเรียกใช้ได้กับทุก user เพียงแต่เปลี่ยนชื่อของ user แต่ละคนเท่านั้น ซึ่งสามารถทำได้โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความของคุณ I3a~J@nk

http://gotoknow.org/archive/2006/04/24/16/18/01/e25274

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24880เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท