มือใหม่หัดฉีด...... แบบสั่นสู้


นัดติดตามการฉีดครั้งที่ 2 เขาดูดี กระตือรือร้นที่จะพบเรา เขาบอกว่าดีขึ้น สำรวจหน้าท้องพบว่าเขียวช้ำหลายจุด และมีรอยบาดของคมเข็มที่เป็นรอยยาวเห็นชัด

ดิฉันเคยมีโอกาสได้เขียนบทความเรื่อง" นักฉีดยามืออาชีพ "ไปเมื่อตอนก่อน วันนี้ก็มีโอกาสมาเล่าอีก เรื่องมือใหม่หัดฉีดที่กำลังพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมตัวเป็นมือสมัครเล่น และอาจกลายเป็นมืออาชีพในอนาคตได้ ถ้าได้พี่เลี้ยงได้รับความร่วมจากผู้เป็นเบาหวาน เป็นนักธุรกิจวัยกลางคน เป็นเบาหวานมานานมากกว่า 10 ปี คุมเบาหวานด้วยยากิน่ได้ผลไม่ดี แถมทุกวันพระจะทานแต่อาหารพวกน้ำๆ งดอาหารขบเคี้ยว ต้องเดินทางไปทำงานต่างประเทศบ่อย ดูเป็นคนค่อนข้างเครียด

วันแรกที่แนะนำการฉีดยาูผู้ป่วยดูเพลียตาแดงๆ ดูเครียด จึงถามว่ากังวลกับการฉีดยาหรือเปล่า เขาตอบว่าใช่ ดิฉันจึงค่อยๆอธิบายให้ทราบถึงผลดีที่จะเกิดจากการฉีดยา โดยเปรียบเทียบในรูปธุรกิจว่า ร่างกายคนเราก็เหมือนโรงงาน ต้องมีปริมาณวัตถุดิบป้อนให้พอดีกับประสิทธิภาพ ของเครื่องจักร น้ำตาลจากอาหารเหมือนวัตถุดิบที่คุณจะต้องป้อนเข้าโรงงานภายในร่างกาย ถ้าโรงงาน stock น้ำตาลมากเกิน หลอดเลือดซึ่งเสมือนโกดังเก็บน้ำตาลก็จะแย่เสื่อมสมรรถภาพและถูกทำลายใน อนาคต คุณก็จะมีอีกหลายปัญหาตามมา ซึ่งปกติ Insulin ในร่างกายเหมือน Massenger ทำหน้าที่ขนเอาน้ำตาลที่เพิ่มจากโกดังหลอดเลือดไปกระจายส่งตามส่วนต่างๆ& nbsp; เพื่อให้เกิดเป็นพลังงานให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้ แต่ผู้เป็นเบาหวานมีความผิดปกติในการสร้าง insulin ภาวะนี้เราเรียกว่าภาวะดื้อของ insulin ทำให้มีน้ำตาลค้างโกดังหลอดเลือดมาก คุณหมอจึงต้องการให้คุณนำเข้า insulin จากภายนอกร่างกาย เพื่อทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดด่านแรกไม่ถูกทำลาย เขาจึงเริ่มสนใจและตั้งใจรับข้อมูล มีการถามย้ำหลายๆ รอบทีเดียวของการสอนฉีด ดิฉันให้ลองฉีดเองครั้งแรกโดยมีดิฉันช่วยจับมือฉีด ผู้ป่วยบอกว่าไม่เจ็บ

นัดติดตามการฉีดครั้งที่ 2 เขาดูดี กระตือรือร้นที่จะพบเรา เขาบอกว่าดีขึ้น สำรวจหน้าท้องพบว่าเขียวช้ำหลายจุด และมีรอยบาดของคมเข็มที่เป็นรอยยาวเห็นชัด บังเอิญี่นัดครั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ได้ฉีดยามา จึงขอให้ฉีดให้ดู พบว่าการตั้งปริมาณยาและจับปากกาได้ถูก แต่ก่อนปักเข็มลงเรามองเห็นว่าผู้ป่วยมือสั่น เวลาเดินยามือสั่น ไม่มีการ Fix ตำแหน่งตัวเข็มให้ติดกับเนื้อ ทำให้มือสั่นเอนไปเอนมา และขยับขึ้นๆ ลงๆ เหมือนมปากกาฉีดยาเป็นสากตำขึ้นตำลงบนเนื้อตัวเอง แถมเดินยาเร็วกดรวดเดียวหมด เวลาดึงเข็มออก ก็ดึงเข็มออกเอียงทำมุมมากทำให้ปลายเข็มครูดกับเนื้อ

ดิฉันพบว่า สาเหตุเกิดจากเขามือสั่น ทำให้พบจุดบกพร่องในครั้งนี้ เพราะครั้งแรก เราจับมือของเขาไม่เห็นว่า เขามือสั่น อาจเป็นเพราะคิดว่าเขากลัว มือจึงสั่น ผลการติดตามจึงเป็นสิ่งที่สอนดิฉันเสมอว่าผลงานเราเป็นอย่างไร รายนี้ดิฉันจึงแนะนำดังนี้

1. การ Fix หัวเข็มให้ติดเนื้อด้วยมือซ้าย มือซ้าย FIX หัวเข็มส่วนมือขวาเดินยา

2. มือขวาที่ถนัดให้กดเดินยาช้าๆ ฟังเสียง 1-2 คลิ๊ก หยุดกดโดยไม่ยกนิ้วมือออกจากปุ่มดันยา เพื่อให้ดันยาช้าลง ไม่ควรออกแรงกระแทกเหมือนให้เข็มตำเนื้อแบบตำส้มตำ

3. การดึงเข็มออกจากเนื้อให้ดึงตรงๆ ตั้งฉากเหมือนตอนปักลงในปลายเข็มจะได้ไม่ปาดครูดเนื้อดี

อยากบอกให้พวกเราติดตามในรายใหม่ๆ นะคะ อย่าคิดว่าเรียนรู้ครั้งเดียวแล้วจะทำได้ถูกต้อง จึงต้องตรวจสอบอยู่เสมอๆนะคะ แล้วอย่าลืมดูผลงานหน้าท้องด้วยทุกครั้ง อย่าเชื่อคำพูดให้เชื่อสายตาตนเองค่ะ ผู้เป็นเบาหวานอาจวาดแผนที่ หมู่เกาะหรือทะเลสาบไว้ที่หน้าท้องได้เสมอ ถ้าไม่ใช่มืออาชีพจริง

ยุวดี มหาชัยราชัน

หมายเลขบันทึก: 24809เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท