มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

หนอนหัวดำมะพร้าว ศัตรูพืชตัวร้ายของมะพร้าว


ศัตรูมะพร้าวชนิดใหม่ซึ่งมีการทำลายรุนแรงกว่าแมลงดำหนามมะพร้าว

หลังจากที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของแมลงดำหนามมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาตั้งแต่ปี 2547 และสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร ศูนย์บริหารศัตรูพืช จ.สุพรรณบุรี อบจ. และ อบต. ในพื้นที่ ร่วมกันช่วยเหลือ โดยอบรมให้ความรู้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแตนเบียน และสนับสนุนแตนเบียนปล่อยในพื้นที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่การระบาดลดลงและสวนมะพร้าวก็ได้รับการฟื้นฟูกลับมา

แต่แล้วก็เหมือนเคราะห์ซ้ำ กรรมเติม ชาวสวนมะพร้าวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อีก เนื่องจากมีการระบาดของศัตรูมะพร้าวชนิดใหม่ซึ่งมีการทำลายรุนแรงกว่าแมลงดำหนาม นั่นคือ หนอนหัวดำมะพร้าว โดยเริ่มพบการระบาดครั้งแรกปลายปี 2550 ซึ่งครั้งแรกที่มีการระบาดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ แต่ปัจจุบัน พื้นที่การระบาดได้ขยายขึ้นเป็นกว่า 1,500 ไร่ ในพื้นที่อำเภอเมือง และทับสะแก เป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่มีการระบาดมากขึ้นเนื่องจากในช่วงที่เริ่มมีการระบาด ชาวสวนมะพร้าวยังไม่รู้ว่าเป็นการทำลายโดยหนอนหัวดำมะพร้าว จนกระทั่งมีการทำลายในระดับรุนแรง จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้สำรวจเพื่อหาสาเหตุและช่วยเหลือ

 

สวนมะพร้าวที่เริ่มมีการระบาด

หนอนหัวดำมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย คาดว่ามีการแพร่ระบาดจากการนำเข้าพืชตระกูลปาล์มจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น

หนอนหัวดำมะพร้าว

ทำไมจึงมีการระบาดของหนอนหัวดำ?

เพราะสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม และหนอนหัวดำจะระบาดมากในช่วงแล้ง

 

ต้นมะพร้าวที่มีการทำลายรุนแรง

ความรุนแรงของการทำลาย?

หนอนหัวดำมีการทำลายโดยการกัดกินและดูดน้ำเลี้ยงจากใบมะพร้าวจนแห้งทั้งทางใบ โดยเริ่มจากใบแก่ก่อน แล้วจึงกินต่อไปเรื่อยๆ จนหมดทุกทางใบของต้น ซึ่งทำให้ต้นมะพร้าวถึงตาย แล้วจึงย้ายไปกินต้นใกล้เคียงไปเรื่อยๆ โดยหนอนหัวดำใช้เวลาในการทำลายต้นมะพร้าวได้ 1 ต้นต่อ 1 ปี สำหรับการระบาดเท่าที่สำรวจในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์พบว่ามีการขยายพื้นที่ระบาดอัตราส่วน 1 ต่อ 10 ใน 1 ปี ฉะนั้นหากมีการปล่อยให้มีการระบาด โดยไม่มีการป้องกันและทำลายหนอนหัวดำอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้วจะสร้างความเสียหายแก่เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวอย่างมาก

การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว?

1. การตัดทางใบมะพร้าวที่พบการทำลาย มาเผาไฟ เป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่อาจไม่สะดวกสำหรับต้นมะพร้าวที่สูงมาก

2. การปล่อยแตนเบียนคริโกรแกรมม่า เพื่อเข้าทำลายไข่หนอน ซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิตของหนอนหัวดำที่ดีและเป็นมิตรกับธรรมชาติ

3. การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียผสมน้ำในอัตราส่วน 2 ก้อนต่อน้ำ 100 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่นต้นมะพร้าวในเวลาเย็น

4. การใช้หลอดไฟแบล็คไลท์ เปิดล่อผีเสื้อ (ตัวเต็มวัยของหนอนหัวดำ) ในเวลากลางคืน เพื่อนำไปทำลาย

ในขณะนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย นายสงกรานต์ ภักดีคง เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ให้การช่วยเหลือชาวสวนมะพร้าวที่เดือดร้อน โดยการประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันช่วยเหลือและยับยั้งการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวไม่ไห้มีการขยายพื้นที่ระบาดออกไปอีก ซึ่งในเบื้องต้นได้ให้ความรู้ในการป้องกันกำจัดแก่เกษตกรและให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสอนกษตรกรเพาะเลี้ยงแตนเบียนเพื่อนำไปปล่อยในพื้นที่ระบาดแล้ว

หมายเลขบันทึก: 247985เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • น่ากลัวมากนะครับ
  • ที่นครสวรรค์ก็ระบาดในตาล
  • ขอบคุณครับที่บันทึกมาแลกเปลี่ยน
  • สวัสดีครับน้องมุยฮวง
  • ขอบคุณที่นำความรู้ดีมาแบ่งปัน
  • ขอให้มีความสุขกับงานที่ทำนะครับ

P

P

  • สวัสดีค่ะพี่สิงห์ป่าสัก และพี่เขียวมรกต
  • ใชค่ะ ต้นตาลเนี่ย หนอนหัวดำชอบมาก
  • พอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ก็อดคิดไม่ได้ว่า ทำไมกรมส่งเสริมการเกษตรจึงยุบฝ่ายป้องกันฯ ทั้งที่เป็นงานสำคัญในการบำบัดทุกข์แก่เกษตรกร
  • ตามมาอ่านอีกรอบ
  • เห็นด้วยครับ มีคำถามเช่นนี้เหมือนกัน
  • เปลี่ยน-ปรับ จนไม่เหลืออะไรที่ดีๆ
  • ผมเคยอยู่ฝ่ายแผนก็ถูกยุบ  สุดท้ายก็ตั้งฝ่ายยุทธศาสตร์มาเพิ่ม
  • อิอ..ไม่ได้บ่นนะครับ
  • อูย..ย..ยย  ตาลเพชรบุรีต้องระวังแล้วซีเนี่ย..เดี๋ยวตาลล้านต้นจังหวัดหนูจะตายซะก่อน..
  • แตนเบียนตัวเดียวกับที่ป้องกันแมลงดำหนามมะพร้าวหรือเปล่าคะ..

รัฐบาลทำไรอยู่ครับไม่ดูแลเกษตรผู้ปลูกมะพร้าวเลย

ผมมีโอกาศได้ฟ่านไปทางใต้ ตลอดทางเห็นต้นมะพร้าวตายจะหมดแล้ว

เคยเก็บมะพร้าวขายได้ครั้งละ2000ลูก/ครั้ง ตอนนี้เก็บได้600-700ลูก/ครั้ง เดือดร้อนมากครับ วันนี้ ท่านผู้ว่ามารณรงค์การกำจัดหนอนมะพร้าว ขอบพระคุณท่านมากครับ จากคนสวนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดประจวบ

กลุ่มวิสาหกิจ อำเภอทับสะแก มีทางแก้ไข และยินดีช่วยเหลือท่านที่ประสบปัญหาหนอนหัวดำระบาดครับ โดยใช้รถฉีดพ่น เชื้อ Bt  จะได้ผลใน 1-2 อาทิตย์ครับ

ติดต่อสอบถามได้ที่ 087-1615477 089-9183096

ตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไรบ้างครับ รู้สึกว่ามะพร้าวยังตายเพิ่มขึ้นทุกวันเลยนะครับ (ข่าวแว่วๆ)

เพราะต้องสั่งซื้อน้ำมันมะพร้าวนำเข้าแล้ว


โดยกรดซิลิคอนที่ได้ได้มาจากแร่หินภูเขาไฟครับแล้วยังทำเป็นปุ๋ยละลายช้าได้อีกด้วยครับ

อยากช่วยเกษตรกรครับ

ส่วนซืลลิคอนที่อยู่ในภูไมมันก็คือแก้วที่ละลายน้ำได้มันมีหน้าที่ดังนี้ครับ

1.ป้องกันแมลงหรือศัตรูพืชทั้งบนดินและใต้ดิน

2.ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์แสง

3.ป้องกันการเน่าที่เกิดจากเชื่อรา

4.ทำให้ผลไม้เก็บได้นานขึ้น

5.ทำให้พืชทนแล้งหือแม้แต่น้ำท่วมได้นานขึ้น.

สนใจติดต่อสังซิ้อภูไมซัลเฟตได้ที่คุณไก่ 08-97957635

กระสอบละ20กิโลกรัมราคา350บาท ส่งของทางบขส

ช่วยได้ในระดับหนึ่งในเชิงป้องกันครับ

หลักการทำงานของกรดซิลิคอนมีดังนี้ครับ

ต้องเข้าใจเสียก่อนว่ากรดซิลิคอนก็คือแก้วที่ละลายน้ำได้

เมื่อพืชดูดเข้าไปแล้วมีการคลายน้ำออกทางปากใบหรือผิวของพืชนั้นเอง

แต่กรดซิลิคอนไม่ได้ระเหยไปกับน้ำครับมันยังคงอยู่ที่ปากใบซื่งเมื่อหนอนหรือศัตรูพืช

มากินมันก็ต้องเจอกับแก้วที่สะสมไว้ที่ปากใบทำเกิดการเสียวฟันทำให้กินพืชตัวนั้นไม่เข้านั้นเอง

ส่วนแก้วที่ที่อยู่ที่ผิวของใบยังช่วยในการป้องกันโรคเน่าที่เกิดจากเชื้อราด้วยครับ

แถมยังช่วยในการเพิ่มการสังเคราะห์แสงอีกด้วยครับ

อยากใลองดูก่อนครับ

1กระสอบ20กิโลกรัมครับราคา350บาทเท่านั้น

แต่วิธีใช้ต้องผสมปุ๋ย npk ด้วยนะครับเพราะแร่ตัวนี้มันจะตรึงป๋ยเก็บไว้เป็นปุ๋ยละลายช้าถ้าใช้เปล่า ๆอาจจะทำให้ต้นไม้ท่านขาดปุ๋ยได้ครับอัตราการใส่แร่นี่1ส่วนต่อปุ๋ยเคมี5ส่วนครับ

อยากให้ลองครับถ้าใช้แล้วได้ผลดีก็ควรใส่ซ้ำครับเพราะยอดที่แตกใหม่ซิลิคอนก็ยังสะสมไม่พอที่ป้องกันแมลงได้ครับอย่างน้อยซัก3เดือนครั้งนึ่งครับ

หรือว่าต้องการซิลิคอนแบบเร่งด่วนก็เอาภูไมท์1/2กิโลกรัมแช่น้ำไว้1คืนผสมน้ำ20ลิตรเอาแต่น้ำใส่ ๆมาฉีดก็ได้ครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ

เดี๋ยวนี้ มีแตนเบียนหนอนบราคอน( ผู้พิชิตหนอนหัวดำ) เลี้ยงง่ายมากแค่ 10 วันก็ได้ 1 รุ่น เลี้ยงในขวดน้ำดื่มก็ยังได้ โดยเลี้ยงด้วยหนอนผีเสื้อข้าวสาร แล้วนำไปปล่อยในสวนมะพร้าว 3-5 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน/ครั้ง ทำให้ประชากรหนอนหัวดำลดลง เหลือ1ใน 3 อยากรู้รายละเอียดการเลี้ยงแตนเบียนหนอนบราคอนผู้พิชิต(หนอนหัวดำ) ติดต่อได้ที่ สนง.เกษตรจังหวัดประจวบฯ โทร 032 611235 หรือสนง. เกษตรอำเภอทุกอำเภอ ใน จ.ประจวบฯ

เกษตรกร จ.ประจวบกำลังช่วยกันเลี้ยง แตนเบียนหนอนบราคอนเพื่อพิชิตหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวอยู่จ้า.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท