ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำมันปลา 2


น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่ได้จากไขมันในปลา เนื้อปลา หรือ อวัยวะ เช่น ตับปลา หรือ จากหอย

ในรูปแบบของ  กรดไขมัน โอเมก้า 3

   
   

และ เป็น กรดไขมันที่จำเป็น

ไขมันเหล่านี้ต่างจากไขมันที่ได้จากสัตว์อื่น

กรดไขมันที่สำคัญมี 2 ตัวคือ EPA และ DHA

ทั้งคู่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังมีในพืช เช่น น้ำมันเมล็ดมัสตาร์ด

น้ำมันถั่ว

น้ำมันคาโนลา

น้ำมันมะกอก

น้ำมันแฟลค

น้ำมันเมล็ดทานตะวัน

น้ำมัีนปลาที่ได้จากปลาที่อยู่ในทะเลที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ปลาแซลมอน

ปลาคอด ปลาเทร้าท์ ปลาทูน่า ปลาแมคคอเรล

มี EPA และ DHA มาก เนื่องจากห่วงโซ่อาหาร เริ่มจากพืชในทะเลขนาดเล็ก ไฟโตแพลงตอน มีกรดไขมันทั้ง2 สูงมาก เมื่อปลาเล็กกินเข้าไป แล้วปลาใหญ่มากินปลาเล็กจึงเป็นการนำกรดไขมันเหล่านี้มาผ่านโซ่อาหารสู่ปลาใหญ่ ห่วงโซ่อาหารนี้เกิดเป็นปฐมในปลาที่อยู่ในน้ำเย็น

ผู้เขียนได้ข้อมูลว่า ปลาที่คนไทยรับประทานก็มี โอเมก้า 3 ทั้ง 2 ตัวสูงเช่นกัน แม้ไม่ได้อยู่ในน้ำหนาวเย็นก็ตาม ได้แก่

ปลาทู ปลาช่อน ปลาสวาย

กล่าวว่าปลาทูขนาดปานกลาง 1 ตัวก็มีปริมาณ โอเมก้า 3 เพียงพอต่อการป้องกันหลอดเลือดแข็ง (ควรรับประทานบ่อย)

ข้อสรุปของ สมาคมโรคหัวใจอเมริกัน AHA เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2545 และได้ตีพิมพ์ ในวารสาร Circulation ฉบับเดืิอน พฤศจิกายน 2545

" กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้รบการศึกษาทางระบาดวิทยาและการทดสอบทางคลินิคแล้วว่า มีผลทำให้อุบัติการของโรคหัวใจ และ หลอดเลือดลดลง พบว่าบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จะได้ผลดีจากการรับประทานกรดไขมัน โอเมก้า 3 จากสัตว์น้ำ หรือพืช แม้ว่าการรับประทานปริมาณเท่าไร จะยังไม่สามารถกำหนดได้ แน่ชัดก็ตามแต่จากการศึกษาที่ผ่านมาแนะนำว่ากรดไขมัน อีพีเอ และ ดีเอชเอ ควรได้รับ 0.5 -1.8 กรัม ต่อวัน สำหรับ โอเมก้า 3 จากพืช ควรได้รับประมาณ 1.5-3 กรัม ต่อวัน โดยมีผลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจหรือโรคอื่น ๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ"

รายงานต่าง ๆ สนับสนุนข้อแนะนำทางโภชนาการของ AHA ที่แนะนำให้รับประทานปลาโดยเฉพาะปลาที่มีไขมันมันมาก สัปดาห์ละ  2 มื้อ และควรเสริมด้วยอาหารที่มีน้ำมันพืช เช่น

น้ำมัน คาโนลา ถั่วลิสง วอลนัท และ แฟลคซีด หรือ ผลวอลนัต และเมล็ดแฟลกซีด

 

น้ำมันปลาบรรจุ Capsule ควรเป็นชนิด Phamaceutical Grade

(หลอดเลือดแข็ง ตีบตัน ป้องกันได้ :ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำมันปลา โอเมก้า 3 ; ศ.นพ. เฉลียว ปิยะชน)

คำสำคัญ (Tags): #น้ำมันปลา
หมายเลขบันทึก: 247577เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท