ผลประโยชน์ : ถ้าหนีมันไม่ได้ก็ต้องอยู่กับมัน


ผลประโยชน์มันควบคุม  หรือปกครองเราอยู่ทุกคน  ทั้งโลก  คนทั้งโลกไม่อาจะหลีกหนีมันได้พ้น  ดังนั้น  เราจึงต้องอยู่กับมัน  การอยู่กับมันทำให้เรามีทั้งความสุขและทุกข์  เช่น เราต้องการเงิน  ถ้าใครยื่นให้สัก ๑๐๐ บาท(ผลประโยชน์)แล้วเราก็จะดีใจ(มีความพอใจ, สุข)  ถ้าเราเดินกลับบ้าน คนไม่ดีมาแย่งเอาไปทั้ง ๑๐๐ บาท(ผลประโยชน์ถูกแย่ง)  เราก็โกรธ เสียใจ(ทุกข์) เป็นต้น

การอยู่กับมันให้มีความสุขมากกว่าทุกข์เราก็ต้อง "จัดการกับมันหรือบริหารมัน" เช่น

การแบ่งปัญผลประโยชน์ให้กับทุกคนอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน  เช่น ผู้ปกครองประเทศแจกเงินให้พลเมืองคนละ ๑๐๐ บาททุกคน, มอบข้าวสารให้ครอบครัวละหนึ่งถุงเท่าๆกัน, เป็นต้น

หรือจัดการโดยให้ทำงานแล้วให้เงินเป็นรายเดือน ที่เรียกว่าเงินเดือน  เงินรายครึ่งเดือน  หรือเงินค่าจ้างรายวัน เป็นต้น

ฯลฯ

ในสังคมโลก  เขาทำกันอย่างนี้  ทำให้พลโลกได้รับการจัดการเกี่ยวกับผลประโยชน์ได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน  หากทำได้ดังที่ว่านี้  พลเมืองของประเทศนั้นๆก็มีความสุข  ดังนี้เรียกว่า เราอยู่กับมัน  และยังคงมีความสุข

นักคิดทางเศรษฐศาสตร์ก็วิจัยหากฎทางเศรษฐศาสตร์  สร้างทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์  ซึ่งล้วนแต่ว่าด้วยกระบวนการเข้าใจและจัดการกับผลประโยชน์ทั้งสิ้น  นักคณิตศาสตร์ก็จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการนำไปใช้กับการจัดการผลประโยชน์ นักวิทยาศาสตร์ก็นำความรู้บริสุทธิ์ไปสร้างงานทางเทคโนโลยีเพื่อซื้อขายกันในระบบเศรษฐกิจ เช่นสร้างสินค้าขายกันและกัน  ทั้งแพทย์ ทั้งวิศวกร จิตรกร ล้วนแต่มีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อผลประโยชน์  นักการละคอนก็สร้างงานที่เป็นเซ็กซ์เจือปนเพื่อดึงดูดเงิน  นักวรรณกรรมก็สร้างเรื่องที่ปะปนด้วยเซ็กซ์ (เช่นรามเกียรติ์ที่แย่งชิงนางสีดากัน)ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์  เพลงก็ทั้งเนื้อร้อง  จังหวะ  และเสียง ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางเซ็กส์ ฯลฯ  ศาสตร์ทุกสาขาล้วนแต่อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ทั้งสิ้น

ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการที่ว่า "คนเจริญเติบโตมาจากสิ่งแวดล้อมใดก็จะหล่อหลอมความคิดแล้วคิดออกมาตามธรรชาติของสิ่งแวดล้มนั้น"

ถ้าเราจัดการกับผลประโยชน์ได้  พลโลกก็มีความสุข

ความสุขที่ว่านี้คือความสุขที่คนบางคนสอนไว้เมื่อหลายพันปีมาแล้ว  เช่น  สุขแบบ HEDONISM, UTILITAREANISM, เป็นต้น ซึ่งเป็นความสุขระยะสั้นแบบ PLEASURE หรือความสุขระยะยาวแบบ HAPPINESS ซึ่งเป็นความสุขแบบ "โลกียวิสัย"

ชาวตะวันตกหลงไหลความสุขประเภทนี้กันมาก  นับแต่สมัยโรมันเป็นต้นมา  เช่น  ชาวโรมันพยายามทำตัวให้รวย  แล้วสร้างสนามต่อสู้ เลี้ยงนักสู้ไว้ต่อสู้ถึงชีวิตให้ดู  และนั่งกินนอนกินดูการต่อสู้  ดื่มสุราเคล้านารี  ตามวัฒนธรรมที่เรามักจะเห็นในภาพยนตร์บ่อยๆ  ความคิดนี้ก็สืบต่อกันมาถึงยุกตะวันตกในปัจจุบัน  ที่มุ่งหาความรวย  สร้างบ้านให้สุขที่สุดเช่นสร้างอ่างอาบน้ำ  บ้านใหญ่โตใต้ดินบนดิน มีเครื่องอิเล็กโตรนิกควบคุม เป็นต้น

คนไทยปัจจุบันก็หลงไหลความสุขแบบที่ว่านี้กันมาก  เช่นพยายามแข่งกันหาเงินแล้ว สร้างบ้านให้ใหญ่โตที่สุดเท่าที่จะทำได้  และตกแต่งให้เป็นสวรรค์  โดยคิดว่า  นั่นคือความสุขที่แท้จริง  ที่แท้ก็เป็นเพียงสุขแบบ Pleasure หรือ Happiness เท่านั้น

อันที่จริงก็เป็นเพียงความสุขภายในโลกที่ครอบครองโดยอำนาจของผลประโยชน์นั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #hedonism utilitareanism
หมายเลขบันทึก: 246106เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2009 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน  ท่านดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

จากหลักการที่ว่า "คนเจริญเติบโตมาจากสิ่งแวดล้อมใดก็จะหล่อหลอมความคิดแล้วคิดออกมาตามธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมนั้น"

นี่เองเป็นเครื่องมือการ "ดูใจ" จากบันทึกของ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด
ได้เป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ...

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท