ฉลากคาร์บอน


ฉลากลดก๊าซเรือนกระจก

ฉลากคาร์บอน

บทบาทในการดูแลผู้ผลิตในระบบอุตสาหกรรมทางหนึ่งคือการประเมินระบบและกระบวนผลิตที่ ให้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเพื่อช่วยหยุดภาวะโลกร้อน   จึงได้มีการออกแบบ ฉลากเขียว  ขึ้นมาใช้กับ สินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ   และ ตั้งใจว่าจะเริ่มเรื่องของ ฉลากเขียว   แต่เมื่อ search หาดูได้มีผู้เสนอเรื่องฉลากเขียว   ไปแล้ว  จึงไม่ขอกล่าวถึง     เหตุที่ต้องการนำเรื่อง ฉลากมาเสนอ ก็เพราะว่า ในทางการเรียนการสอนด้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์  และบรรจุภัณฑ์ ที่รับผิดชอบอยู่ นักศึกษาต้องมีการเรียนรู้เบื้องต้น  นอกจากจะเป็นข้อมูลนำไปใช้ในงานออกแบบแล้ว  ยังจะต้องการปลูกฝังให้เป็นนักออกแบบตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม    ผลิตผล หรือผลงานการออกแบบ ของนักศึกษาต่อไปจะช่วยส่งผลต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยอีกแนวทางหนึ่ง    

การเกิดของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจกต่างปลดปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ จนทำให้สมดุลของชั้นบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป และเกิดเป็นภาวะโลกร้อน          หนทางการลดการเกิดของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ต้องช่วยกันลงมือทำ  ข้อมูลเบื้องต้นคนไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประมาณ 4.8 ตัน/ปี     ( สวีณา  เกตุสุวรรณ, เว็บไซต์)

              มีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปีฐานพ.ศ. 2548ถึงปี พ.ศ. 2550    ของโรงงานอุตสาหรรมในกระบวนการผลิตทั้งหมด   ตั้งแต่วัตถุดิบ การขนส่ง  การบวนการแปรรูปในโรงงาน เป็นต้น ฯ    (ดังภาพที่แผนภูมิ)

 

           การประเมินดังกล่าวจึงได้มีการจัดทำการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน  โดยทาง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้กำหนดฉลากคาร์บอนดังกล่าว และ ผลการประเมินจะถูกเทียบเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent)     แสดงออกมาที่ฉลาก  5  ระดับ  คือ..

·       ฉลากเบอร์ 1 จะมีพื้นฉลากสีแดง เป็นสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยที่สุด ที่ 10%

·       ฉลากเบอร์ 2 สีส้ม    ลดปล่อยก๊าซฯได้ 20%

·       ฉลากเบอร์ 3 สีเหลือง ลดปล่อยก๊าซฯ ได้ 30%

·       ฉลากเบอร์ 4 สีน้ำเงิน ลดปล่อยก๊าซฯ ได้ 40%

·       ฉลากคาร์บอนเบอร์ 5 มีพื้นสีเขียว เป็นสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด คือ 50%

 

ผู้บริโภค:   ก็จะได้ทางเลือกใหม่ในการซื้อสินค้าและบริการ   มีส่วนร่วมในการไม่สนับสนุน สินค้าและบริการที่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ผู้ผลิต :   ก็จะต้อง ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ ปรับปรุงกระบวนการผลิตและพลังงาน      เพื่อแสดงเจตนาที่จะร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม และลดภาวะโลกร้อน     

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การหยุดภาวะโลกร้อน  ข้อแรกที่สำคัญคือ   ต้องยอมรับก่อนว่า สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนอย่าไปโทษภาคอุตสาหกรรม แต่เพียงฝ่ายเดียว    แต่เราทุกคนบนพื้นผิวโลก    ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน   เพราะการใช้ชีวิตประจำวันของเรา   ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้า   การเดินทาง  การขนส่ง   การบริโภค  การสร้างที่พักอาศัย   การซื้อสินค้าต่างๆ    การสร้างขยะ    ล้วนมีส่วนสำคัญในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศทั้งสิ้น    เพราะฉะนั้นถ้า ตระหนักในข้อนี้ก่อนแล้ว  ก็จะเกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันพิทักษ์ปกป้องสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเราชาวโลกทุกคน ตราบนานแสนนาน      

วีณา  เกตุสุวรรณ.  มารู้จัก ฉลากคาร์บอน กันเถอะ.  สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2552.

จาก http://www.npc-se.co.th/

  

หมายเลขบันทึก: 245745เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2009 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวสัดีค่ะอาจารย์  เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้เยอะค่ะ 
  • ต่อไปนี้จะสนใจฉลากมากขึ้นค่ะ
  • เคยอ่านมาว่า  น้ำทิ้งจากครัวเรือนนี่เป็นสาเหตุหลักของเจ้าพระยาเน่า  ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรมค่ะ
  • ดิฉันจึงเชื่อมั่นและตั้งใจปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ทำร้ายโลก
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ

ขอบคุณครับ คุณ nui ที่เข้ามาเยียมชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท