ถอดประสบการณ์แผนที่เดินดิน : ฉบับ “เด็กเดินดอย”


“หากเปรียบเครื่องมือศึกษาชุมชนทั้ง 7 ชิ้นเป็นกระจกที่สะท้อนแง่มุมต่างๆ แผนที่เดินดินก็เป็นกระจกอีกบานหนึ่ง ที่สะท้อนสิ่งต่างๆ ซึ่งถ้าเราหลงคิดว่าภาพนั้นเป็นของจริง แล้วเราวิ่งเข้าไปไขว่คว้า เราก็จะถูกกระจกบาดเอา”

ที่มา : ผมเคยเขียนบันทึกเรื่อง “จากแผนที่เดินดิน อีกกลิ่นไอการเรียนรู้บนภูดอย” เอาไว้เมื่อกันยายน 2550 ในโกทูโนว พอดีมีคนมาอ่านเจอ และไปเล่าสู่ต่อสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปีนี้เค้าจะจัดงานมหกรรมสุขภาพชุมชนขึ้นระหว่าง 18-20 กุมภา 52  และมีห้องย่อยที่จะพูดถึงระสบการณ์การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น : วิถีชุมชน “ ากบันทึกเล็กๆในโกทูโนว ผมก็เลยพลอยได้อานิสงฆ์ถูกเชิญไปร่วมเสวนาในเรื่องนี้

 

งานมหกรรมนี้ เป็นงานใหญ่ครับ ผู้เข้าร่วมกว่า 4,000 คน ส่วนใหญ่เป็นหมออนามัย และผู้ที่ทำงานด้านสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care) มีประเด็นย่อยๆที่หลากหลาย น่าสนใจ และดีใจที่ได้มาเห็นพัฒนาการของหมออนามัยในยุคนี้ ที่มีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มีการบูรณาการความรู้หลายๆสาขาเข้าด้วยกัน ส่วนเรื่องอุดมการณ์ในการทำงานกับชุมชน อันนี้ก็ยังเรียกได้ว่ามีใจเต็มร้อยกันทั้งนั้น

 

เรียกได้ว่า แม้ผมเป็นคนนอกวงการ ยังอดชื่นชมเครือข่ายจิตวิญญาณของหมอนามัยไม่ได้ครับ

 

ที่ผมถูกเชิญไปเสวนานี่ ก็ด้วยเหตุที่เป็นคนนอกสาขานะครับ ทางผู้จัดเค้าก็คาดหวังให้เราเล่าประสบการณ์อะไรที่มันฉีกแนวออกไปบ้าง ผมก็ไม่รู้ว่าไปฉีกแนวเขาเสียจนมึนตึ้บหรือเปล่า ก็หวังว่าประสบการณ์ของผมคงจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งบรรดาหมออนามัย และบุคลากรทุกสาขาที่สนใจนำเครื่องมือ 7 ชิ้น จากหนังสือวิถีชุมชน ของ นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ไปใช้นะครับ

 

 ผมไปงานนี้แบบมึนๆ คือไม่แน่ใจนักว่าจะเล่าอะไรให้ผู้เข้าประชุมฟังแล้วจะเกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะประสบการณ์มันเป็นเรื่องเฉพาะ แต่ถ้าจะเล่าก็ต้องถอดออกมาเป็นข้อมูลก่อน แล้วยกระดับเป็น “ความรู้”

 

ความยากของวิทยากรอย่างเราก็คือ เราไม่อยากจะเล่าแต่เรื่องของตัวเองโดยไม่ดูเนื้อหาของวิทยากรท่านอื่นๆ  ผมก็คิดอยู่ในวันที่มาถึงที่ประชุมว่า ทำอย่างไรจึงจะเชื่อมโยงเนื้อหาระหว่างวิทยากรท่านอื่นๆ กับเรื่องที่เราจะเล่าได้นะ

 

โชคดีที่ผู้ดำเนินรายการเค้าจัดให้ผมไปพูดคนท้ายๆ ผมก็เลยได้ฟังเนื้อหาของคนอื่นๆก่อน ก็เลยคิดใหม่เลยว่า เวลาแค่สิบนาที ถ้าจะให้มาเสนอประสบการณ์โดดๆของผมนี่ คนที่ไม่มีพื้นทำงานกับเด็ก เยาวชนมาก่อนก็อาจจะมึน อาจจะเบื่อก็ได้ งั้นเรามามองภาพรวมเครื่องมือ 7 ชิ้นที่วิทยากรท่านอื่นๆเล่า แล้วเราพยายามหนุนเสริมเติมเต็มและเชื่อมโยงน่าจะดีกว่า

 

เครื่องมือ 7 ชิ้นที่สะท้อนภาพเสมือน

 

            หากเปรียบเครื่องมือศึกษาชุมชนทั้ง 7 ชิ้นเป็นกระจกที่สะท้อนแง่มุมต่างๆ แผนที่เดินดินก็เป็นกระจกอีกบานหนึ่ง ที่สะท้อนสิ่งต่างๆ ซึ่งถ้าเราหลงคิดว่าภาพนั้นเป็นของจริง แล้วเราวิ่งเข้าไปไขว่คว้า เราก็จะถูกกระจกบาดเอา”

 

            จากประสบการณ์ที่ผมใช้แผนที่เดินดินในงานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น-สิทธิเด็กและใช้สอนนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนตั้งแต่ปี 2550 เครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือ ตัวคน ส่วนผนที่เดินดิน เป็นมากกว่าเครื่องมือนะครับ คือเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ไปสู่เรื่องต่างๆได้มากมาย ไม่เฉพาะแต่เรื่องความสัมพันธของคนกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่ยังโยงใยกับวิถีการผลิต การบริโภค วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ  รวมถึงเรื่องสิทธิเด็กอีกด้วย

 

กระบวนการที่มากกว่าใส่ความรู้ และการจัดการ คือการใส่ใจ

 

ถ้าทุกคนอ่านหนังสือ วิถีชุมชน” จบแล้วออกไปใช้เครื่องมือได้สัมฤทธิผลออกมาดีเยี่ยมเหมือนกัน ผู้แต่ง (คือคุณหมอโกมาตรกับคณะ) ก็คงเป็นเทวดาไปแล้ว แต่ผมเดาใจผู้แต่งเล่นๆว่าในฐานะนักมานุษยวิทยาที่ชื่นชมกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิธีคิด ก็คงไม่อยากเห็นสิ่งที่ตัวเองสร้างขึ้นมาถูกแช่แข็งและตายลงไปในที่สุด เพราะฉะนั้น ทำอย่างไร ความรู้จึงจะมีชีวิตชีวา ก็คงต้องใส่อารมณ์ความรู้สึก จิตวิญญาณ ลงไปในอัตราส่วนที่เหมาะสม ประยุกต์ดัดแปลงสูตรให้หลากหลาย

 

แผนที่เดินดิน ไม่ได้เดินด้วยเท้า แต่เดินด้วยใจ” รับ

 

บทเรียนที่ผมพบในปี 2550 ก็คือ เด็กๆจับกลุ่มลงพื้นที่ในชุมชนของตน แม้จะเป็นชุมชนตัวเอง แต่เด็กก็อาจจะไปในที่เสี่ยงได้ คือ ที่มีคนชอบกินเหล้าอาละวาด ที่มั่วสุมของวัยรุ่น ที่เปลี่ยว ผมก็ลืมคิดไป แม้จะเป็นช่วงกลางวัน ก็อาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันกับเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงได้ครับ

 

 

ข้อควรระวัง (เพิ่มเติม)

 

สำหรับผู้ใช้แผนที่เดินดินรวมทั้งเครื่องมือศึกษาชุมชนทั้ง 7 ชิ้น ้อควรระวังอย่างยิ่งก็คือ การไปยึดติดว่ามันเป็นเครื่องมือที่ตายตัว และยังไม่ระวังด้านที่เป็น “คม” ของสิ่งที่เราใช้

 

นเรื่องแผนที่เดินดิน นอกจากต้องระวังเรื่องความปลอดภัยแล้ว การที่เราลงไปสัมผัสชุมชน ก็อาจจะพบเห็นภาพหรือเรื่องราวที่ชาวบ้านเขาไม่อยากจะเปิดเผย แต่เราไปพบโดยบังเอิญ เช่นบางคนอาจจะทำตัวมั่งมีเวลาไปติดต่อราชการเพื่อให้เจ้าหน้าที่เกรงใจ แต่บ้านช่องยากจนทรุดโทรมมาก เค้าก็อาจจะไม่อยากให้เราไปเห็น อันนี้เป็นเรื่องักดิ์ศรีหน้าตาองเขาด้วย ถ้าเราไปพบแล้วเขาเกิดไม่สบายใจ ก็ควรจะเคลียร์กัน และไม่เอาเรื่องที่เขาอาจจะปกปิด หรืออับอายไปขยายต่อ นี่ก็สำคัญมากนะครับ

 

นอกจากแผนที่เดินดิน ก็จะเห็นตัวอย่างการใช้ผังเครือญาติ (kinship diagram) ในการสืบค้นประวัติโรค ว่ามีการสืบผ่านมาทางพันธุกรรมหรือไม่อย่างไร ซึ่งก็อาจจะมีบางกรณีที่ชาวบ้านเองเค้าก็ไม่อยากให้เราไปลำดับญาติให้เขา เพราะญาติเป็นมากกว่าการช่วยเหลือกัน ในอีกด้าน การมีญาติเยอะก็เป็นภาระ หมายถึงต้องไปอุ้มไปช่วยด้วยเกรงใจกัน บางทีก็เอาเปรียบกันโดยอ้าง “ความเป็นญาติ” ก็มีให้เห็น

 

การสืบค้นความเป็นญาติ ในความคิดผมมันก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเหมือนกันนะครับ ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ความขัดแย้งต่างๆ บางทีชาวบ้านเขาก็ไม่อยากจะนับญาติกัน แม้ว่าเขาอาจจะเป็นญาติตามสายเลือดจริงๆ เราไปช่วยเขานับญาติ ลึกๆเขาอาจจะอึดอัด

แม้ว่าในทางการสาธารณสุขเป็นเรื่องจำเป็น แต่ถ้าเราจะใส่หัวใจความเป็นมนุษย์เข้าไป ก็คงต้องอ่อนไหวในเรื่องเล็กๆเหล่านี้

 

แผนที่เดินดิน ในมิติเชิงซ้อน

 

ผมคิดว่า “แผนที่เดินดิน” เป็นกระบวนการที่สวยงามนะครับ แต่ในหัวของบรรดาหมอนามัยนั้นผมไม่รู้ หลายท่านอาจจะมองว่า มันเป็นงานที่ overload หรือเป็นตัวชี้วัดที่สร้างความหนักใจ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ด้วยเงื่อนไขสองข้อนะครับ

 

ข้อ 1 องเปลี่ยนมุมมองต่อ “แผนที่เดินดิน” เสียใหม่ ให้มองเป็นกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาตัวเองจากภายใน เชื่อมโยงขยายไปสู่งานพัฒนาชุมชน คือคิดจากวงเล็กคือในตัวเราเองก่อน ตอบโจทย์ให้ได้ว่า แผนที่เดินดินมันช่วยพัฒนาตัวเราได้อย่างไร แล้วคิดเชื่อมโยงไปสู่ชุมชนท้องถิ่น และโลกกว้าง คิดอย่างนี้จะเกิดกำลังใจครับ และยังเป็นการฝึกคิดเชื่อมโยงหลายระดับ คือคิดกลับไปกลับมา ระหว่างตัวเองออกไปสู่ภายนอก และภายนอกกลับมาสู่ภายใน (จิตใจ)ของเรา แบบเชื่อมโยงกัน

 

ข้อ 2 กระบวนการแผนที่เดินดินควรมีควรมีความหลากหลาย และถอดบทเรียนมาเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ ในท้องถิ่นเดียวกัน หน่วยงานต่างๆนำแนวทางแผนที่เดินดินไปใช้ แผนที่เดินดินที่ทำโดยกลุ่มหมออนามัย เหมือนหรือต่างกับแผนที่เดินดินที่ทำจากมุมมองของกลุ่มแม่บ้าน เหมือนหรือต่างกับแผนที่เดินดินที่ทำจากมุมมองเยาวชน ท้องถิ่นหนึ่งๆ อาจจะมีแผนที่เดินดินหลายฉบับ เราไม่ได้มาจับผิดความแตกต่าง แต่เราสามารถจะใช้ความแตกต่างมาสร้างคำอธิบายและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

และด้วยวิธีนี้ แผนที่เดินดินจะได้ไปพ้นจากเสียงบ่นเรื่อง งาน Overload  ของบรรดาหมออนามัย เพราะมันได้พนจาก “สมบัติของปัจเจก” กลายเป็นสมบัติสาธารณะ หรือ “ของหน้าหมู่” ปเสียแล้ว

 

ต้องขอขอบคุณทางผู้จัดที่ให้โอกาสผมเป็นวิทยากร ทำให้ได้มีโอกาสลับสมอง ได้ตรึกตรองย้อนคิดในกระบวนการใช้เครื่องมือในการทำงานกับชุมชนมากขึ้น ผมก็ขอถอดประสบการณ์จากการเสวนาวันนั้นมานำเสนอไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 244259เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2009 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

กระจกมีทั้งกระจกเงาที่สะท้อนแสงได้ทั้งหมด กับกระจกที่แสงทะลุผ่านได้ด้วย จึงต้องพิจารณา ให้รอบคอบในการใช้เครื่องมือใช่ไหมครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับสาระแนวคิดที่มีมาฝากในบันทึกนี้ค่ะ

แผนที่เดินดิน ไม่ได้เดินด้วยเท้า แต่เดินด้วยใจ”

การทำการใดๆด้วยใจ  นำพามาซึ่งความสุขใจ

เป็นกำลังใจในการทำงานเพื่อสังคมนะคะ

แวะมาจองไว้ก่อนครับ, แล้วจะตามมาอ่านนะครับ

  • สวัสดีคุณครูทั้งสองท่านนะครับ ทั้งครูพิสูจน์ในฐานะครูเพลง และครูเทียนน้อย
  • ใช่เลยครับ กระจกเองก็มีหลายแบบ มีหนาบาง มีเกรดไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ใช้ไปนานๆก็อาจจะรู้
  • ครูเทียนน้อยสอนเลข แต่มาสนใจสังคมนี่ดีจังเลยครับ ใช้สมองทั้งสองซีกคุ้มค่า นี่ถ้าอยู่แม่ฮ่องสอน จะชวนให้มาทำวิจัยบนเขาด้วยกัน
  • สำหรับคุณอำนวย นี่ก็มาไกลจากชุมพรเลย ที่โน่น แล้งไหมครับ แม่ฮ่องสอน กลางคืนยังต้องห่มผ้าสองชั้นอยู่ครับ กลางวันอุ่นพอดีๆ
  • ฟ้าจะเปลี่ยนฤดูแล้ว รักษาสุขภาพกันทั้งสามท่านนะครับ

โฮ้โห ไม่เคยคิดเลยน๊ะครับ ว่าจะมีคนมองต่างมุม ในเรื่องแผนที่เดินดิน

ที่หมออนามัยใช้ในการทำงาน ยอมรับครับว่ามุมที่คุณมอง แหลมคม

และคมคายด้วยเหตุผล จากคนที่ลงไปทำงานจริง ทำให้ผมเห็นภาพเลย

ขอแสดงความชื่นชมครับ จากหมออนามัยคนนึงครับ

สวัสดีครับนายนพ

  • รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มารู้จักกับเครือข่ายหมออนามัย คนที่ทำงานอยู่กับสู้กับความทุกข์ของมวลชนครับ
  • ขอบคุณสำหรับความชื่นชมครับ แต่ผมขอยกอานิสงฆ์ให้กับผู้จัดและผู้เข้าชมงานมหกรรมสุขภาพชุมชน 2552 ที่เอาโจทย์มานวดให้สมองผมคิดเรื่องนี้
  • ที่จริง การมองให้ต่าง อย่างสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้วครับ เพียงแต่ว่ามีเหตุปัจจัยบางอย่าง (หรือหลายอย่าง) มาบดบัง
  • ผมเองก็ยังมีมุมที่มักมองข้ามอีกหลายอย่าง ยังต้องการคำชี้แนะเสมอครับ

เข้ามาอ่านด้วยความสนใจค่ะ ได้ความรู้ในสิ่งที่ไม่ค่อยรู้เลยค่ะ

 

  1. สวัสดี ครูยอด เน้อเจ้า
  2. ขอบคุณ มากนะคะ ที่ครูยอด ติดตามความคืบหน้าเรื่องการทำสื่อ ฯ
  3. เคยโทรไป ติดต่อ ใน เว็บ ที่ครู ยอด แนะนำและนะคะ (อ้างชื่อ ว่า ครูยอด แนะนำด้วย ค่ะ ขออนุญาต ย้อนหลังแล้วกัน เน้อ เจ้า ) แต่น้องเจ้าหน้าที่ บอกว่า ให้ฝากเบอร์ไว้ จะติดต่อไปเอง
  4. เงียบ ๆๆๆๆ  หาย  เข้ากลีบเมฆ   เลย ค่ะ

ผลงานที่เรียบร้อย  หน้าตาเป็นแบบนี้ เจ้า

  1. ผลงานวิชาการของครูใหม่ "เรียนรู้เรื่องข้าว กับ พี่พอ น้องเพียง" 
  2.  หนังสือเล่มแรกของครูใหม่ เผยแพร่ผลงานหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เรียนรู้เรื่องข้าว กับ พี่พอ น้องเพียง เล่ม 1 เรื่องตำนานข้าว
  3. เล่ม 2 แกะรอยภาษาในข้าว สำนวนชวนเรียนรู้
  4. งานต้องส่ง มีนาคม 2552
  5. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เรียนรู้เรื่องข้าวกับ พี่พอน้องเพียง
  6. กล่อง งานสุดท้าย ของการทำผลงานวิชาการ

 

สวัสดีครับคุณครูใหม่ และคุณแม่ที่น่ารัก ผมแวะไปตามดูในบล็อกแล้วนะครับ หนังสือน่าอ่านมาก อยากได้มาอ่านให้น้องออมสินฟัง จะหาซื้อได้ที่ไหนครับ

  • ในส่วนของการต่อยอดให้เป็นโครงการพัฒนาสังคมที่มีมิติที่กว้างขึ้น ถ้าครูสนใจจะพัฒนาเป็นโครงการสื่อสร้างสรรค์ภายใต้งานเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนภาคเหนือ ต้องตามไปดูวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ต่างๆในเว็บ www.childmedia-n.net ก่อนนะครับ แล้วลองคิดโจทย์คร่าวๆว่าอยากจะทำอะไรที่เข้ากับกรอบดังกล่าว
  • ทาง ศูนย์ประสานงานสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนภาคเหนือ (ศสน.)เราสนับสนุนการพัฒนาโครงการภายใต้เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของเด็ก และชุมชน ตามกรอบวิสัยทัศน์ และพันธกิจดังกล่าว
  • งานของครูใหม่น่ารักและน่าสนใจ แต่ต้องระบุให้ชัดว่าจะสร้างการมีส่วนร่วมกับเด็กและชุมชนที่กว้างขวางขึ้นได้อย่างไร
  • ครูใหม่ลองเข้าไปดูในเว็บ แล้วลองเล่ามาทางอีเมล์หรือบล็อกของผมก็ได้นะครับว่า อยากจะทำอะไร ผมจะได้ส่งต่อไปยังผฝ่ายที่รับผิดชอบการพัฒนาโครงการต่อไปได้ถูกจุดนะครับ

สำหรับผู้ใช้แผนที่เดินดินรวมทั้งเครื่องมือศึกษาชุมชนทั้ง 7 ชิ้น ข้อควรระวังอย่างยิ่งก็คือ การไปยึดติดว่ามันเป็นเครื่องมือที่ตายตัว และยังไม่ระวังด้านที่เป็น “คม” ของสิ่งที่เราใช้

“แผนที่เดินดิน ไม่ได้เดินด้วยเท้า แต่เดินด้วยใจ”

ข้อคิดจากครูยอดซึ่งถืดเป็นมุมมองจากคนนอกเป็นประโยชน์มากในนามตัวแทนหมออนามัยขอขอบคุณครูยอดมากค่ะ

คุณภารดีชมผมเกินไปครับ สิ่งที่ผมคิดก็ยังต้องการข้อพิสูจน์เพิ่มเติมอีกมากมาย

  • ผมแค่เป็นกระจกเงาบานเล็กๆที่ริจะสะท้อนแสงดวงอาทิตย์สะกิดให้เกิดการสาดกระจายแสงสู่การตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง
  • ขอบคุณที่มาช่วยเติมชีวิตวันนี้ของผมให้มีคุณค่ามากขึ้น และมีแรงใจที่จะเขียนบล็อกต่อไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท