ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness
เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไปจากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ
ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม
หากเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น
บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร
การมองเห็นสีของตามนุษย์
โดยปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลล์รับแสงอยู่ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก เรียกว่า rods เป็นเซลล์รับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือสว่าง
ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้น
แม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน
เซลล์กลุ่มที่สอง เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่มองเห็นสีต่างๆ เรียกว่า cones
โดยจะแยกได้เป็นเซลล์อีก 3 ชนิด
ตามระดับคลื่นแสงหรือสีที่กระตุ้น
คือ เซลล์รับแสง สีแดง เซลล์รับแสง สีน้ำเงิน และเซลล์รับแสง สีเขียว
สำหรับแสงสีอื่นๆ เกิด จากการกระตุ้นเซลล์ดังกล่าวนี้มากกว่าหนึ่งชนิด
แล้วให้สมองเราแปลภาพออกมาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วง เกิดจากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลล์รับแสง สีแดง และเซลล์รับแสง สีน้ำเงิน ในระดับที่พอๆ กัน การเกิดสีต่าง ๆ ที่มองเห็นเหล่านี้ ก็เช่นเดียวกับหลอดภาพของเครื่องรับโทรทัศน์นั่นเอง ซึ่งเซลล์กลุ่มที่สองนี้จะทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ
ดังนั้นถ้าอยู่ในที่สลัวๆ
แยกสีของวัตถุได้แต่ยังพอบอกรูปร่างได้
เนื่องจากมีการทำงานของเซลล์ในกลุ่มแรกอยู่
เมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้น เราจึงมองเห็นสีต่างๆ ขึ้นมา
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;"></p>
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;">
</p><p class="MsoNormal" style="text-align: center;">ปัจจัยทางพันธุกรรม</p>
<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center; mso-margin-top-alt: auto; mso-margin-bottom-alt: auto;"></p>
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;">
</p><p class="MsoNormal" style="text-align: center;">สาเหตุของตาบอดสีที่เป็นมาแต่กำเนิด คือ เรื่องของกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง </p>
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;">ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม X ทำให้เพศชายถ้ามีหน่วยพันธุกรรม X </p>
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;">ที่ทำให้เกิดตาบอดสี ก็จะแสดงอาการของตาบอดสีออกมา </p>
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;">ในขณะที่เพศหญิงถ้าหน่วย X นี้ผิดปกติเพียงหนึ่งหน่วย</p>
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;"> ก็ยังสามารถมองเห็นได้ปกติเห็นปกติได้ </p>
<p class="MsoNormal" style="text-align: center;">ถ้าหน่วยX อีกตัวหนึ่งไม่ทำให้เกิดตาบอดสี</p>
ตาบอดสีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ตาบอดสีที่เป็นภายหลัง มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือโรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียสีแดง มากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควรจะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้
อาการ
ตาบอดสีมีหลายชนิด
ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เรียกว่า red / green colour blindness
โดยจะแยกสีแดงและสีเขียว ค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่แสงไม่สว่างนัก
ส่วนน้อยลงมาของคนที่มีตาบอดสี คือพวกที่ไม่สามารถแยกสีน้ำเงินกับ สีเหลือง
จะมีบ้างเหมือนกันที่เป็นโรคตาบอดสีทุกสีเลย แต่เป็นส่วนน้อยมาก
คนที่บอด สีแดง - เขียวมักจะบอดสีน้ำเงิน- เหลือง ด้วย
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นตาบอดสีชนิดใด ล้วนจะมีสายตาหรือการมองเห็น (vision) ที่เป็นปกติ เพียงแต่ความสามารถในการแยกสีไม่ปกติเท่านั้นเอง
ตาบอดสีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ตาบอดสีที่เป็นภายหลัง
มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือโรคของเส้นประสาทตาอักเสบ
มักจะเสียสีแดง มากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย
คือดูสีที่ควรจะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้
(ทดสอบ... ตาบอดสี...ด้วยตนเอง)
คุณสามารถอ่านตัวเลขได้ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่?
การรักษา
ในรายที่เป็นไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่อย่างใด ส่วนในรายที่เป็นรุนแรง ผู้ปกครองอาจจะสังเกตพบตอนเป็นเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะ ถ้าเป็นแล้วจะเป็นตลอดชีวิต โดยเฉพาะแบบที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่างๆที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา เมื่อเกิดอาการมองเห็นสีผิดปกติไปให้รีบมารับการตรวจรักษา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติถาวรได้ ขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://www.khiansapolice.com
<< คลิกที่นี่ >> เพื่อทดสอบ ^ ตาบอดสี >> http://www.khiansapolice.com/e-learning/colour/2.htm
จากสถาบันศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอให้ทุกคนมีสุขภาพตา...ที่แข็งแรง สมบูรณ์...นะคะ
เมื่อ อ. 24 ก.พ. 2552 @ 10:18
1150401 [ลบ]
สวัสดีค่ะ
12 29 16 .... 26 ภาพ ง อ่านไม่ออกค่ะ
ปกติไหมคะนี่?
เหมือนพี่คนไม่มีรากเลยค่ะภาพ ง อะไรค่ะ อ่านไม่เห็นเลย ปกติมั้ยค่ะเนี๊ยะ พี่ ๆ ที่ทำงานอ่านไม่ออกเหมือนกันค่ะ