องค์ความรู้กู้เมืองน่าน


" น่าน มีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมมากมาย แต่สิ่งที่ยังไม่ รอให้ค้นพบอาจมีมากกว่า "

โครงการ  องค์ความรู้กู้เมืองน่าน 

โดย ธีรพัฒน์ พัฒนศิษฏางกูร ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๒                                 

                      ข้อเสนอ : ให้จัดโครงการทางวิชาการ เพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวมรวม สัมมนา ฯลฯ แหล่งวัตถุดิบทางธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ฯลฯ                 

                       นำเสนอ : สมาคมชาวน่าน , ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ 

                       จากการสนทนาในที่ประชุมสมาคมชาวน่านครั้งที่แล้วในประเด็นที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและรูปโฉมบ้านเมือง ของ จ.น่าน                                                            

                        สมาชิกในที่ประชุมได้ปรารภกัน … ด้วยความอาลัยถึง บ้านเมืองอันสงบร่มเย็น และงดงามในอดีต …ประตูน้ำเข้ม  …กำแพงเมือง …เพนียดคล้องช้าง …เมืองเวียงเหนือ …หัวเวียงใต้ ..ศาลากลางหลังเก่า  …คุ้มเจ้าโคมทอง …ถนนสุมนเทวราชตั้งแต่ยังเป็นถนนดิน .. ภาพล้อเกวียนและเสียงกระดิ่งที่พบเห็นได้ยินทั่วไปในเมือง…ห้องแถวไม้…ประเพณีต่าง ๆ ฯลฯ อันมีคุณค่าทางจิตใจด้วยเป็นประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ เป็นสิ่งแวดล้อมที่น่าปรารถนาฯลฯ     ด้วยความห่วงใย : ในสิ่งที่ได้เกิดขึ้นซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางเสียหาย เสื่อมคุณค่าลงไปแล้วจากอดีต ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน และที่เกิดขึ้นต่อในไปอนาคต  และยังเห็นพ้องกันว่า น่าจะดีกว่า …ถ้าหากสามารถ                                                                   

                          ๑.รักษาสิ่งที่ยังคงเหลือให้ดำรงอยู่ต่อไปอย่างทรงคุณค่า                     

                          ๒.บูรณะทุก ๆ สิ่งที่เสื่อมโทรมให้กลับคืน                             

                          ๓.นำสิ่งที่สูญหายไปแล้วหลาย ๆ สิ่งกลับคืนมาอีก (สร้างจำลองขึ้นมาใหม่ให้เหมือนเดิม , ขุดลอกฟื้นสภาพ , รณรงค์นำกลับมาใช้ ฯลฯ                                            

                          ซึ่งเป็นทางของการพัฒนาน่านไปสู่การเป็นเมืองเพื่อการศึกษาและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม เป็นอีกทางเลือกที่ดีกว่าแนวการพัฒนาตามรูปแบบที่เป็นมาและกำลังเป็นอยู่ และเป็นการรักษา , พลิกฟื้นคุณค่าในชีวิตในอนาคตของเมืองและศิลปวัฒนธรรมที่ยาวไกลซึ่งหลายคนอาจคิดว่า เป็นเพียงความใฝ่ฝันที่เกินขอบเขตที่จะทำให้เกิดขึ้นได้      

                           หากไม่คิดจะให้เป็นเพียงเรื่องรำพึงรำพันแล้วผ่านเลยไปตามสายลมและกาลเวลา  ประหนึ่งวงสนทนาของผู้ชราที่ทอดธุระทั้งปวงแล้ว                                                    …..ประเด็นที่น่าจะพิจารณาต่อมาก็คือ                                                                 

                           ๑.สิ่งที่ว่าน่าจะดีกว่า  ( การปล่อยไปตามยถากรรม ) ทั้ง ๓ ข้อ นั้น มีรายละเอียดอะไรบ้าง และจะต้องทำอย่างไรบ้าง ให้เกิดเป็นผลดีที่สุด                                     

                           ๒.พวกเราควรจะมีส่วน  มีบทบาท มีหน้าที่อย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดผลตาม ข้อ ๑.                                                                                                           พิจารณา             ข้อ ๑.จะเห็นว่าคำตอบนี้จะต้องผ่านกระบวนการทางวิชาการประกอบ  จริงอยู่ เราอาจหยั่งด้วยสำนึก และประสบการณ์ได้ว่า สิ่งใดควรไม่ควร แต่การจัดสรรทรัพยากร วัตถุ และสถานที่อันเกียวข้องกับงบประมาณ และผลประโยชน์ได้เสียของเอกชน จะต้องมีคำอธิบายอันเป็นที่รับรองได้ทางวิชาการด้วย                                                                               

                          เป็นที่รู้กันแล้วว่า น่าน มีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมมากมาย แต่สิ่งที่ยังไม่ รอให้ค้นพบอาจมีมากกว่า และทั้งหมดนี้ จะเป็นศักยภาพที่อาจเปลี่ยนโฉมน่านไปในทางที่ดีกว่าที่คิดก็ได้                                                               

                          การที่ได้คำตอบสำหรับ ข้อ ๑ นี้ควรจะผ่านขั้นตอนกระบวนการอย่างไรบ้าง ขอให้พิจารณาผัง หรือแผนภูมิในหน้าถัดไป  (  อาจให้ชื่อไว้ก่อนว่า  แผนภูมิ “ องค์ความรู้กู้เมืองน่าน “ )
 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23940เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2006 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท