ระบบ rating ที่มีประสิทธิภาพ


เรื่องระบบ rating ดิฉันให้ความสนใจมาประมาณเกือบปีแล้วคะ มีงานวิจัยดีๆ อยู่เยอะคะที่พยายามสร้าง mathematical models ที่นำมาใช้เพื่อคำนวณ rating และ recommend ชิ้นข้อมูลที่คนส่วนใหญ่ในชุมชน online หนึ่งๆ เห็นว่า "ดี" (ก็ต้องค้นหาปัจจัยกำหนดคำว่า ดี นะคะ)

ตัวอย่างงานวิจัยด้านนี้ก็เช่น

- Influence in Ratings-Based Recommender Systems: An Algorithm-Independent Approach
- Implementing a Rating-Based Item-to-Item Recommender System in PHP/SQL
- An Economic Model of User Rating in an Online Recommender System

ดิฉันลองคิดดูเล่นๆ ตัวอย่างปัจจัยที่สามารถนำมาใช้ได้ในการกำหนด ก็เช่น
จำนวน unique visitors, opinion ratings, จำนวน comments, ระยะเวลา online ต่อครั้ง ของ visitors, relationships between bloggers, popularity ของ keywords ของ บันทึก เป็นต้นคะ

แต่กว่าจะได้นำระบบ rating มาใช้ ก็คงอีกนานคะ เพราะถ้าไม่รอบคอบและไม่ถูกต้องจริงๆ ก็จะไม่ implement คะ

สคส. อาจจะสนับสนุนทุนวิจัยด้านสังคมศาสตร์นี้เป็นส่วนเพิ่มแก่นักวิจัยหน้าใหม่อื่นๆ ก็ดีนะคะ เพราะในที่สุดแล้ว ผลประโยชน์ทั้งหมดก็จะมาตกอยู่ที่คลังความรู้ของประเทศเราที่ Gotoknow.org คะ

ส่วนงานวิจัยของ สกว. ที่ดิฉันและดร.ธวัชชัยรับทุนสกว. มานั้น นอกจากที่ประเทศเราจะได้ ระบบ KM แบบ open-source ที่ทุกองค์กรนำไปใช้ได้ฟรีแล้ว ก็จะเป็นเรื่อง papers เกี่ยวกับ

1) Survey การยอมรับด้านเทคโนโลยีบล็อกเพื่อการจัดการความรู้ใน Gotoknow.org
2) Social network analysis and log analysis แนวโน้มและผลสำเร็จของการใช้บล็อกเพื่อการจัดการความรู้ใน Gotoknow.org

ซึ่งต้องตีพิมพ์ใน International papers ปีละเรื่องคะ

ในแง่มุมด้านวิจัยแล้ว ประเทศไทยยังได้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลใน gotoknow.org ได้อีกเยอะคะ ดิฉันหมายถึงทำวิจัยและนำมาใช้เพื่อการปรับปรุงหรือใช้ประโยชน์จากคลังความรู้นี้จริงๆ นะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 23933เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2006 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน อ.ดร.จันทวรรณ ฝากผ่านถึง อ.ดร.ธวัชชัย ด้วยครับ

     ในเนื้อแท้ที่แท้จริงแล้ว ระบบ Rating ใน Gotoknow.org เรา (Dr.Ka-poom และผม) ยอมรับ และต้องการเห็นเป็นอย่างมากครับ (จริง ๆ ก็ได้คุยกับอาจารย์แล้ว) แต่ก็ยังยืนยันว่าขอเป็นระบบที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือมีที่มาที่ไป น่าเชื่อถือ รอบด้าน อย่างเป็นระบบ เมื่อทราบว่ามีอะไรเป็น confounding อยู่ ก็ต้องรู้ตัวว่าอะไร และเมื่อรู้ก็ต้องบอกให้คนอื่นรู้ด้วย จะได้ไม่หลงติดกับเข้าใจผิดตามไป เพราะเชื่อถือในตัวบุคคล

     ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอบันทึกที่มี Rating สูง ด้วยการนับเฉพาะ จำนวนครั้งของการถูกเปิด จำนวน คห. และวันที่ตีพิมพ์บันทึก หากแต่จะเปลี่ยนเป็นนำเสนอว่า บันทึกนี้มีการเปิดกี่ครั้ง มีจำนวน คห.เท่าไหร่ และตีพิมพ์มาแล้วกี่วัน อย่างนี้ก็ GotoKnow มีให้แล้ว หากจะนำมาเปรียบเทียบกันก็ต้องจัดการกับค่าทางสถิติให้เหมาะสมด้วย

     แต่อย่างไรก็ตามถึงจะใช้สถิติตัวไหน ในตัวเลขที่ได้มาเป็นข้อมูลดิบ ก็มีที่มาที่ต้อง Adjust อีกมาก เพื่อตัดค่าที่ error ออก ผมพูดยกเป็นตัวอย่างไว้ให้เห็นง่าย ๆ เพื่อชวนตามไปมองร่วมกันว่า การเลือกใช้สถิติอย่างเหมาะสมนั้น ต้องใช้อย่างรู้เท่าทัน และมีสติคือประเมินว่ามี confounder อะไรบ้าง ไม่งั้นนะเราก็จะเชื่อ ๆ อะไรตาม ๆ กันไป ที่สำคัญมันจะทำให้ Blogger หน้าใหม่สูญเสียความมั่นใจไป หรือมั่นใจ แต่ไปยึดถือเป็น Role Model ที่ผิดไปจากที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ตัวตนของเขาเองนั่นแหละดีอยู่แล้ว ประมาณนั้น อันนี้เป็นธรรมชาตินะ เมื่อถูกเหนี่ยวนำโดยไม่ตั้งใจ

     เมล์ที่อาจารย์ส่งมาถึง ผมจึงขอตอบไปทางนี้ก่อน และจะเขียนเพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับในบันทึกของผมเอง รวมถึงที่ได้ T2T กับอาจารย์ ผมได้กล่าวถึงคำถามวิจัยไว้ “บันทึกใน Gotoknow ที่ดี เป็นอย่างไร และควรมีองค์ประกอบอะไรบ้างในการพิจารณา ตามุมมองของผู้ใช้” ก็ขอขอบคุณมากครับที่อาจารย์ได้ช่วยนำเสนอผ่านไปยัง สคส. เพื่อผลักดันให้เกิดขึ้น ผมจะเป็นคนรอเสพ ให้ข้อมูล (Key Person) หรือจะดำเนินการเองหรือไม่ จะไม่สนใจ แต่ลึก ๆ อยากให้เกิดขึ้น GotoKnow.org โตขึ้นทุกวันและเร็วมากนะครับ เราต้องนึกถึงเรื่องนี้เพื่อเตรียมการ

     ผมและเครือข่าย เท่าที่เราได้คุย ๆ กันนะครับ เราจะดำเนินการทุกอย่างให้ใคร ๆ ก็ได้ ได้รู้จักและใช้ GotoKnow เราได้ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องในเรื่องนี้ อาจารย์สังเกตเอาก็พอจะเห็น ตามที่อาจารย์ได้เคยให้ คห.ไว้ และอีกประการหนึ่งคือ เราจะช่วยกันพิทักษ์รักษาให้เขาอยู่ต่อไปนาน ๆ เมื่อเขาได้เข้ามาแล้ว นี่เป็นปฏิธานที่ตั้งใจไว้ ในฐานะที่เรา (คิดเองว่า) เราได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ Gotoknow.org เสียแล้ว เป็นอย่างภาคภูมิใจ และสำนึกต่อ สคส. ต่อ อ.ดร.จันทวรรณ และอ.ดร.ธวัชชัย ด้วยใจจริงครับ (ยิ้ม...ยิ้ม ครับ แต่เขียนซะเหนื่อยเลย)

"เราจะดำเนินการทุกอย่างให้ใคร ๆ ก็ได้ ได้รู้จักและใช้ GotoKnow เราได้ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องในเรื่องนี้"

เห็นด้วย ชื่นชม และพยายามทำอยู่ค่ะ ชอบใจในความคิดของคุณชายขอบ และเป็นความตั้งใจที่ตนเองคิดเหมือนกัน (แต่คงเป็นแบบย่อมๆไม่กว้างขวางเท่าคุณชายขอบ) ว่า เมื่อชักนำใครเข้ามาเขียนแล้ว จะพยายามส่งเสริม ติดตามให้เขาอยู่นานๆทำให้เป็นนิสัยให้ได้ เชื่อว่าคนทุกคนมี "อะไร" จะเล่า

คุณชายขอบอุตส่าห์เขียนตั้งเยอะ ขอบคุณมากคะ และขอบคุณที่เป็นตัวยืนในการกระตุ้นให้เกิดการใช้ Gotoknow.org โดย Blogger หน้าใหม่ๆ รวมทั้งขอบคุณพี่โอ๋ด้วยคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท