Lean Cataract Surgery รพ.สงขลานครินทร์


Kelvin ได้กล่าวชื่นชมที่โครงการนี้ได้ใช้ปรัชญาของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลในเรื่อง delivery หรือการใช้เวลาของผู้ป่วยดีขึ้นเป็นลำดับ และให้ข้อแนะนำว่าในขั้นต่อไปควรจะมุ่งเน้นคุณค่าในเชิงคลินิก
            แต่เดิมนั้นการผ่าตัด Cataract ที่ รพ.สงขลานครินทร์จะทำในลักษณะของการรับไว้เป็นผู้ป่วยใน  ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีวันนอนประมาณ 2-3 วัน  ทางทีมงานได้เห็นปัญหานี้และดำเนินการปรับเปลี่ยนให้เป็นการผ่าตัดแบบ OPD case โดยกำหนดเกณฑ์ว่าจะผ่าตัดแบบ OPD case สำหรับผู้ป่วยที่เป็น uncomplicated cataract, เป็นการผ่าตัดที่ใช้หัตถการเดียว ไม่มีการทำหัตถการร่วมกัน เช่น Phaco+Trabeculectomy หรือ Phaco+vitrectomy, ถ้าเป็นโรคทางระบบเช่น เบาหวาน ความดันสูง จะต้องรักษาจนควบคุมได้ และจะต้องมีบุคคลที่จะเป็นผู้ดูแลที่บ้าน

            ในกระบวนการนี้จะมีการเตรียมผู้ป่วยที่ OPD แล้วส่งผู้ป่วยไปผ่าตัดที่ห้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ลดเวลาที่ต้องใช้ใน รพ.จาก 2-3 วันเหลือเพียง 4 ชั่วโมง 36 นาที

            เมื่อเริ่มปฏิบัติไปได้ระยะหนึ่ง พบว่ามีความสูญเปล่าในกระบวนการดูแลเนื่องจากการรอคอยในจุดต่างๆ เช่น การรอเรียกหลังยื่นบัตรนัด การรอเจ้าหน้าเปลพาผู้ป่วยไปส่งที่ห้องผ่าตัด การรอหน้าห้องผ่าตัด  รวมเวลารอคอยที่ 3 จุดนี้ 53 นาที  ซึ่งทีมงานได้ปรับปรุงเพื่อลดเวลารอคอยเจ้าหน้าที่เปลโดยการใช้ visual control คือมีลูกศรบอกทางให้ผู้ป่วยสามารถเดินจาก OPD ไปห้องผ่าตัดได้โดยไม่ต้องรอพนักงานเปล ซึ่งแต่เดิมจะรอพาไปครั้งละ 5 คน  ทำให้สามารถลดเวลารอคอยลงได้ 26 นาที

            แต่ปราฏว่าเมื่อลดเวลารอคอยเจ้าหน้าที่เปลได้ กลับทำให้เวลารอคอยที่หน้าห้องผ่าตัดนานขึ้น จึงได้มีการปรับปรุงโดยใช้แนวคิด workload leveling ด้วยระบบนัด ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีผู้ป่วยรอคอยที่หน้าห้องผ่าตัดครั้งละ 1 รายเท่านั้น  จากแต่เดิมที่นัดผู้ป่วยมาในเวลาเดียวกันทั้งหมดก็จะกระจายผู้ป่วยไปตามช่วงเวลาต่างๆ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการผ่าตัดของแพทย์แต่ละคน ขณะนี้อยู่ในช่วงการเก็บข้อมูลว่าได้ผลอย่างไร

            หลังจากนั้นก็มาปรับปรุงในช่วงรอยต่อระหว่าง case  โดยให้พยาบาลในห้องผ่าตัดโทรศัพท์ให้เจ้าหน้าที่เปลนำผู้ป่วยรายต่อไปเข้ามาในห้องผ่าตัดเร็วขึ้น คือโทรศัพท์ก่อนที่จะทำผ่าตัดเสร็จ

            ทั้งหมดนี้ทำให้ลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องใช้ในโรงพยาบาลงไปอีก เหลือ 3 ชั่วโมง 10 นาที  มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อขั้นตอนต่างๆ ก็ยังพบว่ามีขั้นตอนที่ผู้ป่วยมีความพึงพอใจน้อย คือการต้องไปรับยาที่ห้องยาและไปจ่ายเงินที่ห้องการเงินที่ชั้น 1  ทีมงานจึงได้วางแผนปรับปรุงขั้นต่อไปคือการใช้แนวคิด quick set up ที่จะให้มีการจัดเตรียมยาและอุปกรณ์การแพทย์ล่วงหน้าไว้ที่ OPD และใช้แนวคิด semi-cell ให้มีระบบเก็บเงินที่ห้องผ่าตัด

            First Time Quality หรือคุณภาพที่ไม่เกิดความผิดพลาดตั้งแต่แรก เพิ่มจาก 79% เป็น 89%

            Kelvin ได้กล่าวชื่นชมที่โครงการนี้ได้ใช้ปรัชญาของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลในเรื่อง delivery หรือการใช้เวลาของผู้ป่วยดีขึ้นเป็นลำดับ  และให้ข้อแนะนำว่าในขั้นต่อไปควรจะมุ่งเน้นคุณค่าในเชิงคลินิกด้วยการเลือกสรรตัวชี้วัดทางคลินิกที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มา monitor และพยายามสร้างมาตรฐานการดูแลให้ใกล้เคียงกัน

ทีมงาน: พญ.ปฐมา ภูรยานนทชัย (จักษุแพทย์), คุณวันดี ชุณหวิกสิต (หัวหน้า OPD1), คุณทัศนียา สุมาลี (หัวหน้า OPD ตา), คุณวิลาวัณย์ จอมทอง (รองหัวหน้าห้องผ่าตัด), คุณดวงรัตน์ หมายดี (ห้องผ่าตัดตา), คุณจุรี คงเพชร (ห้องผ่าตัดตา), คุณชุติมา อ่อนแก้ว (ห้องผ่าตัดตา) 

หมายเลขบันทึก: 235266เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 06:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาอ่าน และทักทายค่ะ

มีความสุขในการทำงาน นะคะ

ขอบคุณมากครับ

กล้วยไม้สีสวยแปลกตาดีครับ

ถ้ามีประสบการณ์เรื่อง visual control เชิญเข้ามาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ

ได้แนวทางทื่ดีในการปรับปรุง/งานที่มีปัญหาคล้ายกัน/

เป็การแลกเปลี่ยนประสบการณืที่ดีในการนำlean มาใช้ในการปิบัติจริง ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้พัฒนาคุณภาพการทำงานต่อไปค่ะ

มนสภรณ์

  • ตามมาดูทีมงาน
  • ไม่ธรรมดาเลยนะครับ

เหมือนเริ่มที่เข้าใจในLean แล้ว.. กำลังมองเข้ามาในงานที่ทำ คล้ายลดขั้นตอนที่มีคุณภาพของระบบราชการไหมค่ะอาจารย์

ขอบคุณนะค่ะ สำหรับความรู้ที่ให้มีประโยชน์มากค่ะ แต่มีข้อสงสัยค่ะว่า เวลาที่ให้คุณค่า นั้นใช้อะไรเป็นตัววัด เป็นเกณฑ์ หรือหาได้จากไหนค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท