โครงการการศึกษา เรื่อง ระบบการออมเพื่อการชราภาพ (บำเหน็จบำนาญ) สำรับแรงงานนอกระบบ


ข่าวกระทรวงการคลัง

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันระบบบำเหน็จ

บำนาญได้มีการพัฒนามาระดับหนึ่งแล้วสำหรับแรงงานในระบบจำนวนประมาณ 12 ล้านคน

และเพื่อให้เกิดความครอบคลุมครบถ้วน เพื่อให้กำลังรงงานของประเทศทั้งหมด

จำนวนประมาณ 35 ล้านคน มีระบบบำเหน็จบำนาญอย่างถ้วนทั่ว สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

จึงได้มีแผนที่จะดำเนินการศึกษา เรื่อง ระบบการออมเพื่อการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ

หรือ ระบบบำเหน็จบำนาญของแรงงานนอกระบบ

นโยบายการออม ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องมือหรือมาตรการทางการคลังที่สำคัญในการพัฒนา

การระดมเงินออมของประเทศ และพัฒนาตลาดเงิน ตลาดทุน เพื่อการพัฒนาประเทศ

โดยผ่านระบบกองทุนเพื่อบำเหน็จบำนาญต่างๆ แล้ว ยังสามารถทำหน้าที่เป็นระบบ

โครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม หรือที่เรียกกันว่า Social Safety Net ที่สำคัญด้วย

ดังนั้น สศค.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนอาเซ็ม

และธนาคารโลก เริ่มต้นศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการออมมาตั้งแต่ปี 2546

และจนกระทั้งถึงปัจจุบันได้ทำการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว 4 โครงการ คือ

  1. การศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบทางสังคมของประเทศไทย : การวิเคราะห์ข้อมูลผลการสำรวจภาคครัวเรือนและรายบุคคล
  2. การศึกษาความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการ และการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบโดยใช้กลไกชุมชนในการดำเนินการ
  3. การศึกษาความเสี่ยงและความคุ้มครองทางสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบของประเทศไทย : ทางเลือกสำหรับรูปแบบการออมและการออมเพื่อการเกษียณอายุ
  4. โครงการนำร่องการสร้างกองทุนสวัสดิการและการชราภาพของชุมชน

ผลการศึกษาทั้ง 4 โครงการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ควรใช้นโยบายการออมเป็นกลยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสร้างระบบบำเหน็จบำนาญให้แก่แรงงานนอกระบบ และควรเป็นระบบ Social Insurance (คือเป็นระบบกองทุนการออม) เพราะแรงงานนอกระบบมีศักยภาพในการพึ่งตนเองได้

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นของสังคม ในเรื่องนี้ สศค. ได้จัดให้มีการเสวนาทางวิชาการหรือ FPO Forum เรื่อง การจัดการความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคมกับนโยบายการออมเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2549 ผู้เสวนาประกอบด้วย ดร.อัมมาร์ สยามวาลา ผอ.สมสุข บุญญบัญชา จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ดร.ไมตรี วสันติวงศ์ นักวิชาการอิสระ และนายกฤษฎา อุทยานิน รอง ผอ.สศค. ผลสรุปของการเสวนาสรุปได้ชัดเจนว่า ในการป้องกันความเสี่ยงและความเปราะบาง ทางสังคมในเรื่องการประกันรายได้ที่เพียงพอให้แก่แรงงานนอกระบบ ควรใช้มาตรการออม และควรให้มีการบริหารจัดการกันเอง ในระดับชุมชน ซึ่งทั้งนี้ต้องการการสนับสนุนที่เหมาะสมของภาครัฐ ในเรื่องเทคนิควิชาการต่าง ๆ ด้วย

แผนการศึกษาในลำดับต่อไป

สศค. จะดำเนินการศึกษา เรื่อง การส่งเสริมนโยบายการออมภาคครัวเรือนในรูปแบบ

ของกองทุนการออมชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือการออมที่เหมาะสมสำหรับแรงงานนอกระบบ

โดยศึกษารายละเอียด ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ เช่น 1) สถานะหรือสภาพทางชุมชนทางกฎหมายของกลุ่มการออมชุมชน 2) ความมั่นคงยั่งยืนของกองทุน 3) การควบคุมความเสี่ยงทั้งทางด้าน Credit risk และ Operational risk 4) บทบาทความร่วมมือสนับสนุนขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาครัฐบาล และอื่น ๆ

ระยะเวลาดำเนินการ

คาดว่าจะดำเนินการให้ได้ผลการศกึษาที่ชัดเจนเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายได้ภาย

ในเวลา 1 ปี โดยการดำเนินการในลักษณะการทำโครงการนำร่อง และการจัด workshop ร่วมกับ

ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการด้านกฎหมาย ด้านคณิตศาสตร์ประก้นภัย และผู้นำชุมชน หรือผู้นำกลุ่ม

ออมทรัพย์ชุมชน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาวิจัยที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบการออมเพื่อบำเหน็จ

บำนาญสำหรับแรงงานนอกระบบ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติต่อไป

ที่มา : ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 23/2549 วันที่ 22 มีนาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 23502เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท