KM เรื่อง Fall


การประเมิน การนำวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยที่บ้าน นวัตกรรมจากที่อื่นมาใช้ น่าจะช่วยป้องกันการผลัดตก หกล้ม ในผู้ป่วยได้

       ที่วอร์ดพิเศษวอร์ดหนึ่ง  มี  Incident Fall  4 ราย ในระยะเวลา 3 เดือน จากการทำ KM  วิเคราะห์ได้สาเหตุ  และ แนวทางแก้ไข  คือ

      -  ทั้ง 4 ราย อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง

      -  ส่วนใหญ่เกิดเหตุการณ์ในช่วงหัวรุ่ง  ญาติกำลังหลับสนิท

      -  ผู้ป่วยเกรงใจญาติ  จึงปีนลงเตียงโดยไม่ปลุกญาติ

      -  ไม้กั้นเตียงของเตียงไฟฟ้า กั้นเฉพาะส่วนกลางของเตียง  ผู้ป่วยสามารถปีนลงด้านศีรษะ  หรือปลายเตียงได้

      -  มี 1 ราย  หกล้ม เนื่องจากผ้าถุงหลุด

แนวทางแก้ไข

      -  ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต้องประเมิน Morse Fall Scale  ทุกราย

      -  การ  Assess  ผู้ป่วย  ควรเจาะลึกในเรื่องการขับถ่าย และการนอนหลับด้วย  เพื่อนำมา      วางแผนการดูแลให้เข้ากับ  Life Style  ผู้ป่วย

      -  ปรับระดับเตียงไฟฟ้าให้ต่ำสุด

      -  ให้พยาบาลมีการส่งเวรต่อกันทุกเวร

      -  ให้มีป้ายหน้าห้องพิเศษ  เพื่อสื่อสารให้ทุกคนทราบ  เป็นการกระตุ้นให้มีการเฝ้าระวัง

      -  มีการปรับผ้าถุงจากเดิม เป็นผ้าถุงแบบยางรูดที่เอว

      -  ให้นำเชือกที่ยืดได้ หรือมีการเย็บผ้า เพื่อผูกรัดระหว่างหัวเตียงกับขอบไม้กั้นเตียง และปลายเตียงกับขอบไม้กั้นเตียง

      -  นำนวัตกรรมของวอร์ด Neuro ซึ่งมีคุณเกษิณี เป็นหัวหน้าวอร์ด มาใช้ คือให้คาดสายระฆังไว้ด้านปลายเท้าผู้ป่วย  เมื่อผู้ป่วยลุกจะปีนลงจากเตียง    ตัวผู้ป่วยถูก     สายระฆัง ทำให้มีเสียงดัง  ญาติผู้ป่วยจะได้ตื่น

      -  ช่วงเวรดึก ญาติหลับ เจ้าหน้าที่จะพาผู้ป่วยไปปัสสาวะ ตาม Life Style ที่ Assess ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ปัสสาวะก่อนโดยไม่ต้องรอปวด  เป็นการป้องกันทางหนึ่ง

      -  มีการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทุกรายว่า ได้รับการดูแลตามข้อตกลงข้างต้นหรือไม่ ( ได้ผลประการใดค่อยนำเสนอผลให้ทราบ )

สรุป  ควรมีการประเมิน การนำวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยที่บ้าน นวัตกรรมจากที่อื่นมาใช้ น่าจะช่วยป้องกันการผลัดตก หกล้ม ในผู้ป่วยได้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23500เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ยินดีต้อนรับสู่ชุมชนคนเขียน blog ใน มอ.ค่ะ สมัครเข้าร่วมชุมชนด้วยนะคะ  ชขอโทษด้วยที่เข้ามาต้อนรับช้าไปหน่อย พี่บันทึกมาตั้ง 3 รอบแล้ว  เมตตา ชุมอินทร์

ชื่นชมกับความพยายามในการพัฒนาวิธีการอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะให้ได้ผลที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วยจริงๆค่ะ

"พี่จุด" เล่าเรื่องได้อ่านตามเข้าใจได้ง่ายดีด้วยค่ะ พออ่านจบรู้สึกว่า เอ๊ะ ความจริงเรื่องมันเยอะออกนะคะ แต่เขียนให้อ่านแล้ว "get" ได้ในความยาวไม่มากเลย "ชื่นชม"ผู้เล่าด้วยค่ะ

อยากให้พี่จุดบอกเพิ่มเติมอีกนิดว่า แนวทางแก้ไขทั้งหมดที่ว่ามา เกิดได้อย่างไรเช่น ใครมีส่วนเกี่ยวข้อง และ ด้วยกระบวนการอย่างไร 

ขอโทษด้วยนะคะที่ตอบช้า  เนื่องจากคอมฯ ที่บ้านเสีย โชคดีเห็นคอมฯที่ทำงานว่างจึงถือโอกาสใช้คอมฯได้ค่ะ

แนวทางแก้ไข

           1. เกิดจากมี incident report หัวหน้าหอผู้ป่วยและผู้ร่วมงานร่วมกันแก้ปัญหา

           2. ผู้ตรวจการติดตามผลและวิเคราะห์ผลเมื่อเกิดเหตุการณ์ซ้ำ พร้อมเสนอแนะและนัดหมายให้กลุ่มทำกิจกรรม KM โดยมีหนังสือเวียนให้ผู้สนใจจากทุกหน่วยงานร่วมกิจกรรม

           3. เจ้าของวอร์ดเตรียมสถานการณ์และเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

           4. ผู้ตรวจการเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ

           5. เจ้าของวอร์ดเก็บความรู้ที่ได้จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ขอจบก่อนนะคะ มีคนจะใช้คอมฯ แล้วจะเขียนคุยต่อค่ะ

 

โชคดีคอมฯที่บ้านได้คืนแล้วค่ะ ขอเขียนต่อเลยนะคะ

      6. Sup ติดตามความก้าวหน้า พร้อมร่วม round ward เพื่อร่วมทดลองปฏิบัติและดูความเหมาะสมฃองการแก้ไข / ความเป็นไปได้

       7. คณะฯจัดให้มี KM Day ครั้งที่ 5 โดยครั้งนี้กำหนดให้มีการนำเสนอ Knowledge Assest ฝ่ายบริการพยาบาลเป็นหนึ่งหน่วยงานที่ต้องนำเสนอ  sup ได้นำเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุมฝ่ายฯ ผล ที่ประชุมเห็นชอบให้เป็นเรื่องหนึ่งฃอง KA ฝ่าย จึงได้มีการรับสมัครคณะทำงานเพิ่ม เพื่อขยายผลการพัฒนาเรื่องนี้จาก Ward ในกลุ่ม Sup เดียวกัน เป็นของฝ่ายฯ และได้มีการนำเสนอผลการปฏิบัติงานเมื่อ 26 กค.49 นี้ และต้องดำเนินการต่อ ได้ผลอย่างไรจะนำเสนอในโอกาสต่อไปค่ะ

วันนี้คุณราศรีจัดอบรม โครงการขับเคลื่อนความรู้สู่การปฏิบัติ และมี workshop การจัดการความรู้ชุดธารปัญญา ทราบจากผู้เข้าอบรมท่านหนึ่งว่า การวิเคราะห์ของน้องชุดนี้จะมีการวิเคราะห์ที่แตกต่างจากคณะทำงาน คือ น้องจะมองว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้วอร์ดมีการป้องกัน หรือไม่ป้องกัน เขาใช้เทคนิคอะไรที่สามารถจูงใจให้บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ แล้วจะติดตามมาเล่าสู่ให้ฟังค่ะ

ขอบคุณพี่จุดค่ะ ที่ช่วยขยายความให้ ตามคำถามที่ถามไว้ในวันที่ 21 เม.ย.

เห็นความเคลื่อนไหวของฝ่ายการพยาบาล มอ.แล้ว อยากให้มีคุณลิขิตในฝ่ายการฯ เพิ่มขึ้นจัง จะได้ถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ที่มีอยู่มากมายให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง คุณโอ๋-อโณทัย ปวารณาตัวแล้ว ว่าจะช่วยเต็มที่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท