ดอนปู่ตา ป่าวัฒนธรรม


เรื่องเก่าเล่าใหม่

ป่าดอนปู่ตา

 

                   ป่าดอนปู่ตา  เป็นที่สาธารณประโยชน์  มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นทั่วไป  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ที่บอกถึงอาณาบริเวณป่า  มีการสร้างศาลพระภูมิ  เชิญผีเจ้าที่เจ้าทางมาอยู่ในศาล  เพื่อช่วยในการ ปกปักรักษาคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข    การเลือกทำเลที่ตั้งดอนปู่ตาชาวบ้านจะพิจารณาหาที่ดิน ว่างเปล่า  ไม่มีผู้ใดถือครอง  เป็นที่สาธารณะ  เป็นที่ดินน้ำท่วมไม่ถึง  มีต้นไม้ใหญ่อายุหลายสิปปี  เมื่อได้แล้วชาวบ้านจะมาประชุมตกลงร่วมกันทำพิธีตั้งศาลปู่ตาหรือที่เรียกว่า  “ตูบ”  ไว้ในบริเวณ ต้นไม้ใหญ่  เพื่อให้ชาวบ้านได้กราบไหว้บูชา  และประกาศเป็นเขตดอนปู่ตา  ดยใช้วัฒนธรรมประเพณี  ความเชื่อ  เข้ามาควบคุม  ในบริเวณป่าดอนปู่ตาจึงเป็นเขตแห่งความศักดิ์สิทธิ์  ใครจะเข้าไปบุกรุกที่ดิน  ตัดไม้หรือทำการล่าสัตว์ไม่ได้  เป็นการลบหลู่ปู่ตา  และเชื่อกันว่า  ใครจะละเมิดจะมีอันเป็นไป  โดยล้มเจ็บหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต  (กรมป่าไม้,  2537  :  11 – 12) 

                   บรรพบุรุษภาคอีสาน  ไม่ว่าจะตั้งบ้านเรือนหรือตั้งเมืองใหม่  ท่านจะเลือกป่าเป็นสถานที่ตั้ง  โดยแบ่งสถานที่ส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งบ้านหรือเมือง  อีกส่วนหนึ่งสำหรับสถานที่หอปู่ตา  การเลือกผีปู่ตา จะเลือกบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว  ฝ่ายพ่อเลือกเอาผีปู่ผีย่า  ฝ่ายแม่เลือกเอาผีตากับผียายมารวมกัน  แทนที่จะเรียกว่าผู้ปู่ย่าตายาย  ก็เรียกสั้น ๆ  ว่า  ผีปู่ตา  ปู่ตาเป็นผีมีหน้าที่รักษาป่าดง  และมีอำนาจ ที่จะทำโทษแก่ผู้ที่ทำลายป่าดง  หอปู่ตาใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยของผีปู่ตา  จึงมีการปลูกหอหรือโรง ให้ผีปู่ตาอยู่  หอจะไม่ให้ใหญ่หรือเล็กเกินไป  ปลูกไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่จัดเครื่องใช้สอยไว้ให้ครบ เพื่อความสะดวกปรีชา  (พิณทอง, 2531  :  44 – 46) 

                   ป่าดอนปู่ตาในทัศนะของชาวบ้านมิได้เป็นเพียงแหล่งอาหาร  หรือที่อยู่อาศัยของสัตว์  พืช  และแหล่งต้นน้ำลำธารเท่านั้น  แต่ยังเป็นอาณาเขตของสัตว์ป่า  ผี  และอำนาจเหนือมนุษย์  เมื่อคน ต้องเข้าไปพึ่งป่าจึงถือเสมือนว่าไปให้ผีเลี้ยง  ดังนั้น  การบุกเบิกที่ดินทำกินและ สร้างชุมชนในป่า  จึงต้องมีการขออนุญาตจากผีเจ้าป่าเขาเสียก่อน  และต้องทำไปเพื่อเพียงพอแก่การ ยังชีพเท่านั้น  ด้วยความเชื่อในเรื่องศักดิ์สิทธิ์  หรือผีที่คอยคุ้มครองดูแลรักษาป่าเขา  ก่อรูปเป็นระบบ การพึ่งพาอาศัย กันระหว่างคนกับป่า  ที่แสดงออกมาในรูปของพิธีกรรมและความเชื่อต่าง ๆ  เช่น  ชาวบ้านได้อาศัย สายน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตและการดำรงชีพของมนุษย์  ชุมชนแสดงออก ด้วยการทำพิธี บวงสรวงผีขุนน้ำ  และดูแลรักษาป่าต้นน้ำ  อันเป็นที่อยู่ของผีขุนน้ำทุกปี  เพื่อแสดงความ กตัญญู  หรือการเซ่นไหว้ดอนปู่ตา  เพื่อความเป็นสิริมงคลของสมาชิกในชุมชน (กรรณิการ์  พรมเสาร์,  2536  :  35) 

คำสำคัญ (Tags): #อีสานมิวเซียม
หมายเลขบันทึก: 234389เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2009 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยม อ่านเรื่องราวดีๆ และเป็นกำลังใจให้

ขอให้มีความสุขค่ะ

ขอบคุณครับ คุณหนูรี ขอใหมีความสุขเช่นกัน

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาอ่านประจำ ได้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมอีสานดีมาก
  • อย่าลืมนำวัฒนธรรมเก่าแก่ของอีสานมาบอกเล่าต่อนะครับ

ขอบคุณครับ คุณศรีกมล อีสานเรามีเรื่องราวหน้าเรียนรู้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดสมกับที่ว่า

"ใผว่าอีสานฮ้าง

สิจูงแขนไปเบิ่ง

ป่าไผ่ยังส้วยร้วย

ป่ากล้วยยังซ่ายร่าย

มูนมังยังโจ้โก้

สิไปฮ้างบ่อนได๋ แท้แล้ว"

อยากอ่านเรื่องราววิถีชีวิตของคนอีสาน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยในภาคอีสาน เช่น ผู้ไท ย้อ โย้ย ฯลฯ สามารถค้นหาเอกสารข้อมูลได้ที่ไหน แนะนำหน่อยเด้อ

สวัสดีค่ะคุณพิมล ดิฉันกำลังเรียน ป.โท อยากทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับดอนปู่ตา เลยอยากทราบข้อมูลว่ามีป่าดอนปู่ตาที่ไหนบ้างในภาคอีสาน ที่ยังคงมีการทำพิธีที่ค่อนข้างสมบูรณ์

และยังคงความเป็นเอกลักษณ์จากบรรพบุรุษอยู่บ้างคะ

เรียนคุณโสภิตา

ป่าดอนปู่ตาที่ยังคงมีความขลังศักดิ์อยู่และยังมีพิธีกรรมเหนียวแน่นจนได้รับรางวัลอนุรักษ์ป่าดอนปู่ตาดีเด่นระดับประเทศมีอยู่มากในภาคอีสาน เช่น ป่าดงภูดิน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ หรือป่าบ้านหนองโน จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น ทั้งนี้ลองสืบค้นได้จากงานวิจัยของ รศ.ดร.บุญยงค์ เกศเทศ, รางวัลลูกโลกสีเขียวของ ปตท. , งานวิจัยของอาจารย์โสภิดา ยงยอด, งานวิจัยในแนวของสถาบันวิจัยศิลปและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ้าอาจารย์สนใจป่าดงภูดินค่อยส่งอีเมลล์มาถามผมเพราะจะแนะนำให้รู้จักกับแม่เฒ่าจ้ำป่าดงภูดินครับ

หวัดดีค่ะ

  • หลายถิ่นที่มีประเพณีในการบวงสรวงปู่ตาเป็นประเพณีประจำทุกปี
  • วัฒนธรรมเหล่านี้ เด็กรุ่นหลังควรมีโอกาสได้พบเห็นและร่วมสืบทอดให้คงอยู่ค่ะ

ผมมาอีสานบ่อยๆหากไม่มีปู่ตาป่าคงหมดไปนานแล้ว

ผมชอบสิ่งที่เป็นภูมิปัญญามาก

อยากได้ป่าที่เกี่ยวกับป่าวัฒนธรรม

เยอะๆ

ช่วยบอกหน่อยค่ะ

10ข้อ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับคุณ phayorm แซ่เฮ ที่เข้ามาอ่านงานเขียน ป่าและคนอยู่ร่วมกันมาแต่ไหนแต่ไรมีป่าจึงมีคน ดังนั้นประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับป่าจึงเป็นวัฒนธรรมพื้นฐานของมนุษย์ที่ควรศึกษาและอนุรักษ์ไว้

จริงอย่างที่คุณ "เบดูอิน" บอกไว้ หากไม่มีดอนปู่ตา ป่าของชาวอีสานคงไม่เหลือแน่ ช่วยกันอนุรักษ์ไว้นะครับ

ถึงคุณ จิราวรรณ ผมอาจไม่สามารถบอกลักษณะป่าวัฒนธรรมได้ถูกต้องแต่จะพยายามนะครับ

ป่าวัฒนธรรมมีดังนี้

๑. ป่าดอนปู่ตา

๒. ป่าเฮ้ว(ป่าช้า)

๓. ป่าชุมชน

คิดไม่ออกซะแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท