Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

จดหมายเพื่อส่งรักและศรัทธาของอาจารย์แหววไปยังทีม สวปก. และทีม Health4Stateless : ข้อเสนอของอาจารย์แหววต่องานสิทธิมนุษยธรรมด้านสาธารณสุข


แล้ววันหนึ่ง อ.แหวว ก็ได้มีโอกาสรู้จัก ทีมงาน สวปก. ได้รู้จักคุณหมอสัมฤทธิ์ น้องใหญ่ น้องใฝ ฯลฯ มิตรภาพนี้ได้สานต่อมายังลูกศิษย์ อ.แหวว ขอให้สายสัมพันธ์ทางใจและความรู้ของเรางดงามมากขึ้นในปี ๒๕๕๒

มวลมิตรที่ได้เคยร่วมงานในโครงการ Health4Stateless คะ

 

          ปรากฏการณ์มึดา ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่พิสูจน์องค์ความรู้ของเราว่า เราเป็นโรงพยาบาลด้านสิทธิมนุษยชนทางสาธารณสุขได้แล้ว เรามีหมอความ เรามียารักษาโรค เราสามารถทำให้มึดาเข้าถึงสิทธิในบัตรทองได้ในเวลาไม่นานนัก

          งานวิจัยของเรานั้น แม้จะสิ้นสุดลง แต่ภารกิจในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายสาธารณสุขก็คงไม่จบลง เราคงได้ทำตัวเป็นตู้กับข้าวสำหรับผู้ประสบปัญหากฎหมายด้านสาธารณสุขต่อไป

 

กล่าวถึงทาง สวปก.และทีมศึกษา Health4Stateless

 

           ในความเป็นจริง เรามีเคสของคนที่เข้าไม่ถึงหลักประกันสุขภาพอีกหลายกรณี แต่สังเกตว่า ระบบสื่อสารของเรา (ทีมขยะหลังสงครามของ อ.แหวว) และ สวปก. ดูไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในปี ๒๕๕๒ นี้ อ.แหววอยากชวนทาง สวปก. ไปทำกิจกรรมทางวิชาการเหมือนปีที่แล้วค่ะ มีกิจกรรมที่จะเชิญ ให้ร่วมมือกัน ๓ เรื่อง กล่าวคือ

 

(๑) การสำรวจสถานการณ์ด้านสาธารณสุขของคนที่มีปัญหาสถานะบุคคล ซึ่งในปีที่แล้ว ก็มีกิจกรรมอย่างนี้ ที่สำคัญที่สุด ก็คือ การไปดูงานที่เวียงจันทน์ ปีนี้ เราจะไปดูลาวตอนบน กล่าวคือ หลวงพระบาง ซึ่งมีนัยยะสำคัญ ก็คือ เป็นต้นทางของคนลาวที่เข้ามาในประเทศไทย และ เป็นปลายทางของคนสัญชาติไทยที่ไปอาศัยอยู่เพื่อทำงาน คำถามย้อนกลับมาถามคุณหมอสัมฤทธิ์ เหมือนอย่างเคยถามก็คือ สวปก.ศึกษาเรื่องสุขภาพของคนไทยทั้งหมดไหม ถ้าเขามีบ้านในต่างประเทศล่ะ เขามีสิทธิในหลักประกันสุขภาพตามกฎหมายไทยหรือไม่ ? ก่อนที่เราจะฟันธงลงไป เราไปเยี่ยมพวกเขาก่อนดีไหม พวกเขามี social contribution ต่อแผ่นดินไทยอย่างมาก

ใฝคะ จำคุณวรพงษ์แห่งซีเม้นลาว หรือคุณทำนองแห่งซีพีลาวได้ไหมคะ คนทั้งสองคนนี้นำเงินได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากนะคะ เขาทั้งสองมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพอย่างแน่นอน เพราะมีสัญชาติไทยและมีชื่อใน ท.ร.๑๔ แม้ตัวจะอาศัยในลาว แต่มาคิดดูกันนะคะ พวกเขาจะเข้าถึงคุณภาพในการรักษาพยาบาลได้เพียงใด หากป่วยกระทันหันลงในต่างประเทศ บัตรทองช่วยอะไรได้บ้างคะ ? อย่างไรคะ ?

 

(๒) การเยี่ยมพื้นที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิทางสาธารณสุขของคนที่มีปัญหาสถานะบุคคล กิจกรรมนี้เป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์งานวิจัยที่ทำกันในปีที่แล้ว  กรณีประมาณมึดานี้ เราควรจะรอให้เกิดแล้วค่อยมาแก้ไข โดยการส่งจดหมายไปให้คำแนะนำแก่โรงพยาบาลสบเมย หรือเราควรจะไปให้คำแนะนำแก่โรงพยาบาลสบเมยก่อน วิธีคิดหลังนี้ น่าจะสร้างสรรค์มากกว่านะคะ การเยี่ยมเชิงกัลยาณมิตรในพื้นที่ที่เสี่ยงการละเมิดสิทธิทางสาธารณสุขจึงเป็นสิ่งที่ควรทำในปีนี้ เราเยี่ยมสถานที่เสี่ยงมาโดยตลอด แต่ไม่เคยเยี่ยมโรงพยาบาลอย่างเป็นจริงเป็นจริง  เคยแต่ไปขอข้อมูลเพื่อตรวจสอบสถานการณ์ แต่เรายังไม่เคยเอา “เคส” ไปหารือทางออกกับโรงพยาบาลอย่างจริงจัง

ในปลาย พ.ศ.๒๕๕๑   เตือนไหมมิวได้รับทุนจากมูลนิธิเอเซียที่จะไปเยี่ยมอำเภอเพื่อแนะนำการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อจัดการปัญหาสถานะบุคคลให้แก่คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติบนฝั่งอันดามัน  สามสาว และสุก็ได้ไปช่วยในการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหามาแล้วในเดือนธันวาคม  มาในเดือนมกราคม จะมีการเยี่ยมหน่วยงานในระนองเพื่อแนะนำการจัดการปัญหาต่อไป    อ.แหววเสนอให้มีการเยี่ยมสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลระนอง  แต่ไม่ทราบว่า เตือนมิวไหมจะรับข้อเสนอไหมนะ ถ้ากำหนดการนี้เป็นจริงได้ ก็ใคร่ขอชวน สวปก. ให้ร่วมทางกับเรา  

ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ อ.เอ๋ และ อ.เพชร แห่งคณะนิติศาสตร์ พายัพ ยังทำงานบนพื้นที่แม่อาย เราอยากจะชวน สวปก. ไปกัยเราสักหน ไปดูการดูแลคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติที่เจ็บป่วย โดยโรงพยาบาลแม่อาย ซึ่งนับว่าเป็น good practices แต่ก็มีสิ่งที่เราต้องทำการบ้านกับโรงพยาบาลแม่อายอีก ก็คือ การจัดการ Bad Practices ในอดีตที่ยังส่งผลร้ายในปัจจุบัน และ การจัดการผลร้ายนี้ คงต้องใช้นโยบายของรัฐมังนะ

 

(๓) การสังคายนากฎหมายและโยบายด้านสาธารณสุขที่ยังไม่เอื้อต่อการส่งเสริมและคุ้มครองมนุษย์ที่ประสบปัญหาสถานะบุคคล ดังที่เราวิจัยมาแล้วว่า ปัญหาความไม่เอื้อนี้ มีที่มาจากหลายสาเหตุ (๑) การตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายแบบอมนุษย์นิยม (๒) ความไม่สมบูรณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายเอง (๓) ความไม่รู้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อันหมายถึง ครม. สธ. สปสช. สสจ. โรงพยาบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ รวมถึงเจ้าของปัญหาเอง อันทำให้เกิดการเข้าไม่ถึงสิทธิทั้งที่กฎหมายและนโยบายไม่มีปัญหา และ (๔) บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุข

        เรา โดยเฉพาะ อ.ด๋าว คงคิดจะทำงานเป็นจริงเป็นจังในส่วนนี้ ปัญหาหนึ่งที่ อ.ด๋าว แห่ง Stateless Watch และ อ.เอ๋ แห่ง คลินิกแม่อาย จับมือกันในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิทางสาธารณสุข ก็คือ การปฏิรูประบบกฎหมายและนโยบายเพื่อการจัดการสิทธิที่จะเดินทางไปโรงพยาบาลของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ ทราบไหมคะว่า มีคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติที่ถูกจับในระหว่างทางไปโรงพยาบาลหรือในระหว่างทางกลับจากโรงพยาบาล เมื่อปีที่แล้ว เราผลักดันการแก้ไขปัญหาเด็กที่ถูกจับในระหว่างทางไปโรงเรียนและในระหว่างทางกลับโรงเรียน มาปีนี้ เราทำอีก ๒ เรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการเดินทาง กล่าวคือ สิทธิเดินทางไปโรงพยาบาล และสิทธิเดินทางไปทำงาน  

       กลับมาพูดกับ สวปก. เรื่องสิทธิเดินทางไปโรงพยาบาลดีกว่า อ.ด๋าวคงจะต้องเวทีวิชาการเพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้กับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรักษษการตามกฎหมายคนเข้าเมือง เชิญ สวปก. มาร่วมกิจกรรมของเราค่ะ

 

เรื่องเงินในการทำงานต่างๆ

หาก สวปก.มี ก็ให้มา ก็ดี ไม่มี ก็ไม่ต้องค่ะ บางอย่างก็มีอยู่แล้วบ้าง บางอย่างก็ไม่ใช้เงินค่ะ  

อย่างค่าเดินทางไปทำงาน ต่างคนต่างจ่ายได้ค่ะ เตรียมค่าเดินทางไปลาวให้ใฝแล้วยังคะ หมอสัมฤทธิ์และใหญ่ไปด้วยกันซิคะ ถ้ามีเวลาไป เราจะได้เลือกหน่วยงานที่จะไปคุยลึกมากขึ้น ถ้าไปกับนักศึกษา ก็ดูแต่กว้างๆ เพื่อประโยคในการคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์

ในส่วนทีมวิจัย Health4Stateless นั้น จะประจำการในทีมนี้ต่อไป ก็ไม่มีปัญหา แต่ควรถอดบทเรียนที่ดี มาทำต่อไป แต่อะไรที่มันไม่ดี ก็ควรเลิกทำหรือพยายามเลิกทำนะคะ จะหาใครใหม่เข้ามาในทีมนี้ ก็เป็นได้ 

 

แผนการทำงาน     

ปิ่นแก้วซึ่งเป็นแม่บ้านก็ดูแลลูกบ้าน ก็แล้วกันค่ะ อยากเห็น Work Process ซึ่งแสดงถึง (๑) เป้าหมายของกิจกรรมที่เลือกทำ – purpose (๒) วิธีการที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม – input  (๓) ผลที่คาดหมาย – output  ถ้าทำทั้ง ๑๒ เดือนไม่ได้ ขอแค่ ๔ เดือนก็พอ เราจะได้รู้ว่า เราขาดอะไรในการทำงานให้สำเร็จ (๑) เงิน ? หรือ (๒) คนทำงาน ? หรือ (๓) ความรู้ ? หรือ (๔) ????

 

อวยพรปีใหม่ ๒๕๕๒

         สุดท้ายของอีเมลล์แรกของ ๒๕๕๒ ก็ขอบอกว่า รักชาว Health4Stateless และ สวปก. ทุกคน ดีใจที่เราเป็นครอบครัววิชาการเดียวกัน ขอเราผนึกหัวใจต่อไปค่ะ Happy New Year 2009     นัดทานข้าวกันสักมื้อดีไหมหนอ ???  อ.แหววขอเป็นเจ้าภาพสักมื้อค่ะ ปิ่นแก้วประสานได้ไหม ? จะจับฉลากของขวัญอย่างที่ด๋าวฝันนัก ก็ได้ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #health4all#health4stateless#สวปก.
หมายเลขบันทึก: 232912เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2009 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Re: จดหมายเพื่อส่งรักและศรัทธาของอาจารย์แหววไปยังทีม สวปก. และทีม Health4Stateless : ข้อเสนอของอาจารย์แหววต่องานสิทธิมนุษยธรรมด้านสาธารณสุข‏

จาก: Chutimas Suksai

ส่งเมื่อ: 1 มกราคม 2552 8:30:34

ได้ข่าวว่าทาง สปสช.จะนำเรื่องการคืนสิทธิในหลักประกันสุขภาพให้คนที่มีเลขประจำตัวประชาชนเสนอบอร์ดค่ะ อาจารย์

เราต้องไปเยี่ยมอนุกรรมการสิทธิประโยชน์มั๊ยคะ

------------------------------------------------------------------

สปสช.ขยายสิทธิบัตรทอง ตั้งกองทุนดูแลชนกลุ่มน้อยhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif01271251&sectionid=0132&day=2008-12-27

---------------------------------------------------------------------

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551  ที่โรงแรมริชมอนด์ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2551 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 18(13)ซึ่งกำหนดให้รับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการ และผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน 

นายวิทยากล่าวว่าปี 2551 ได้มีการเพิ่มประสิทธิประโยชน์หลายอย่างเช่น การบริการทดแทนไต สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้งการฟอกเลือด การล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต สนับสนุนการเข้าถึงยาของประชาชน ในกลุ่มบัญชียา จ.(2) ซึ่งเป็นยาจำเป็นที่มีราคาแพง การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยโรคเรื้องรังทุกประเภทการให้สารเมทาโดนระยะยาวในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดที่สมัครใจ และการยกเลิกการจำกัดความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จากเดิมไม่เกินปีละ 2 ครั้ง เปลี่ยนเป็นผู้ป่วยสามารถใช้บริการนอกหน่วยบริการที่กำหนดได้ตามความจำเป็นไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

ขณะที่งบประมาณรายหัวก็ได้รับเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2552ได้รับงบประมาณ 2,202 บาทต่อประชากร  นายวิทยากล่าวว่า ปี 2553 งบประมาณรายหัวต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ใช่ย่ำอยู่ที่เดิม มาตรฐานการให้บริการต่างๆ จะต้องดีขึ้น โดยได้หารือกับ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการตั้งรับภาวการณ์ตกงานในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2552 เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนที่ย้ายมาใช้สิทธิตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย ซึ่งข้อเสนอในการขยายสิทธิประโยชน์การตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นเรื่องที่ดี แม้ว่าในปีแรกๆ อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง แต่เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพ ที่ช่วยให้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพถูกลงเพราะรู้ตัวและสามารถรักษาได้ทันท่วงที

นพ.วินัยกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระดับเขตพื้นที่ 13 เขต ทั่วประเทศ ซึ่งมีข้อเสนอที่น่าสนใจ เช่น การตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดของเกษตรกรทุกปี ให้ผู้รับบริการต่างด้าวที่มีเลข 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 6-7 (บุตรมีบัตรทอง) ที่ถูกปลดสิทธิไปควรให้ได้รับสิทธิบัตรทองกลับคืนมาและควรจัดให้มีการกองทุนหรืองบประมาณเพื่อดูแลคนโดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย การเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรม เช่น การรักษารากฟัน การผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ให้บริการทางการแพทย์ และการใช้บัตรประชาชนเพียงบัตรเดียวสำหรับการรักษาพยาบาล เป็นต้น

ข้อเสนอแนะทั้งหมดจะเสนออนุกรรมการสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป  หน้า 5

อฐิษฐาน พระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เบิกชีวิต ให้แจ่มใส และไพศาล

เจริญสุข สรรเสริญ เจริญงาน

ทรัพย์ศฤงคาร อนันต์ใน ปีใหม่เทอญ

สวัสดีปีใหม่ครับ..

ขอให้   P  ดร. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์

มีความสุขในปีใหม่ ๒๕๕๒ เช่นกันค่ะ

อ.แหววคะ

คิดงานได้เป็นส่วน ๆ ดีจังเลยค่ะ เห็นด้วยทุกประการ แต่สำหรับการทำงานคงต้องมีตนทำงานที่เห็นด้วยในหลักการอย่างจริงจังด้วยนะคะ

สวัสดีปีใหม่ 2009 ค่ะ

เริ่มต้นจากพวกเธอล่ะกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท